Dr Pimpaka Medpark Banner 1

การรักษาที่ประสบความสำเร็จ เริ่มต้นจากการทำความรู้จักกันให้มาก

คนที่มีบุตรยากต้องต่อสู้กับความเครียด ความกดดัน และความคาดหวัง เราต้องคุยกันให้ชัดเจนว่าโอกาสของเขามีมากน้อยแค่ไหน ข้อดีข้อเสียของแต่ละวิธีเป็นยังไงบ้าง

แชร์

การรักษาที่ประสบความสำเร็จ เริ่มต้นจากการทำความรู้จักกันให้มาก  

“คนที่มีบุตรยากต้องต่อสู้กับความเครียด ความกดดัน และความคาดหวัง  
เราต้องคุยกันให้ชัดเจนว่าโอกาสของเขามีมากน้อยแค่ไหน ข้อดีข้อเสียของแต่ละวิธีเป็นยังไงบ้าง” 

อายุ 40 มีลูกได้ไหม“มีลูกยาก กินอะไรดี” “ซีสต์ในรังไข่มีลูกได้ไหม” คงเป็นหนึ่งในคำถามที่คู่รักมีบุตรยาก พยายามค้นหาคำตอบ และเชื่อว่าหลายคู่คงเคยได้ยินคำว่า เด็กหลอดแก้ว กันมาบ้าง เพราะเป็น เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ที่ช่วยเพิ่มโอกาสมีบุตรมากขึ้นนั่นเอง

“บางเคสที่มาปรึกษา มีโอกาสสำเร็จน้อยมาก แต่ก็ใช่ว่าจะทำไม่ได้ ขอแค่อย่าเพิ่งถอดใจค่ะ หมอเคยรักษาผู้หญิงที่มีภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนกำหนด คือเหมือนเข้าวัยทองทั้งที่อายุเพิ่งจะ 32 จึงให้กินฮอร์โมนทดแทน พอผ่านไปประมาณปีกว่า รังไข่เสมือนกลับมาทำงานปกติ เริ่มมีความหวังเล็ก หมอจึงกระตุ้นไข่และฉีดน้ำเชื้อเข้าไปในโพรงมดลูก และสามารถตั้งครรภ์ได้

นี่เป็นหนึ่งในหลาย ประสบการณ์ประทับใจของ คุณหมอส้ม - พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์ จากการรักษา ภาวะมีบุตรยาก ที่คุณหมอเองยังเอ่ยปากว่ายาก.... แต่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้  

  • ฝันอยากทำงานในห้องแล็ป 

กว่าจะมาเป็นสูตินรีแพทย์ผู้ชำนาญการด้านการมีบุตรยาก และเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ประจำที่ ศูนย์มีบุตรยาก - MedPark IVF Center โรงพยาบาลเมดพาร์ค พญ. พิมพกา เล่าย้อนไปถึงชีวิตในช่วงวัยเรียนว่าตอนช่วงประถม มัธยม เป็นเด็กเรียนดีมาตลอด และสนใจเรื่องวิทยาศาสตร์มากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะวิชาชีววิทยา เคมี จนสามารถสอบเข้าคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตามที่ตั้งใจไว้ และด้วยความที่สนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี จึงปักธงแน่วแน่ว่า หลังจากเรียนจบแล้วจะเรียนต่อเฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์

“ส่วนตัวคิดว่าการเป็นหมอสูตินั้นโหด ตอนเทรนหมอเจอแต่เคสหนัก หนักกว่าที่คิดไว้มากเลย เจอคุณแม่ตกเลือดหลังคลอด ทารกคลอดติดไหล่ คลอดท่าก้นขาโผล่ออกมา หมอชอบอยู่ในห้องแล็ป อยู่กับเซลล์มากกว่า พอเรียนด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ยิ่งเรียน ยิ่งถูกใจ ถ้าเลือกเป็นหมอด้าน IVF ก็น่าจะตอบโจทย์มากที่สุด”


พญ
.พิมพกา ตัดสินใจเรียนต่อปริญญาโทสาขา เทคโนโลยีชีวภาพ ชีววิทยาการเจริญพันธุ์และตัวอ่อน มหาวิทยาลัยวาเลนเซีย ประเทศสเปน ซึ่งเป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงด้าน การทำเด็กหลอดแก้ว ระหว่างเรียนก็มีโอกาสได้ทำโปรเจ็กต์ร่วมกับคุณหมอที่นั่นเรื่อง การรักษาภาวะการเจริญพันธุ์ เช่น การเก็บไข่ แช่แข็งไข่ แช่แข็งเนื้อเยื่อรังไข่ในคนไข้ก่อนรักษามะเร็ง ทำให้ได้ประสบการณ์และความรู้ที่เฉพาะทางมากยิ่งขึ้น

  • โอกาสสำเร็จ เริ่มต้นจากการสื่อสารที่ดี และเทคโนโลยีที่เหมาะสม 

“การทำเด็กหลอดแก้วเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน เราต้องประเมินคนไข้ และคุยกันให้ชัดเจนก่อนว่าโอกาสของเขามีมากน้อยแค่ไหน ข้อดีข้อเสียของแต่ละวิธีเป็นยังไงบ้าง แล้วมือต้องนิ่งมาก ทั้งตอนตรวจภายใน ฉีดเชื้อ หรืออื่น ต้องทำอย่างนุ่มนวล 


คุณหมอบอกกับเราว่า
คู่รักส่วนมากที่มาปรึกษา ย่อมมีความเครียด กดดัน และความคาดหวังสูง ซึ่งการรักษาที่ประสบความสำเร็จได้ มักมีจุดเริ่มต้นจากการทำความรู้จักคู่รักแต่ละคู่ให้มาก ดังนั้น หมอต้องให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลตั้งแต่วันแรกที่ได้พบและพูดคุยกัน กล่าวคือ ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา พูดคุย ซักถาม คลายข้อสงสัยก่อน แล้วค่อยวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

อย่างไรก็ตาม โอกาสสำเร็จจะยิ่งเพิ่มขึ้นถ้าได้เทคโนโลยีที่ดี ทำให้คนเป็นหมอเฉพาะทางด้าน IVF ทุกคนต้องพยายามอัปเดตข่าวสาร และศึกษาข้อดีของเทคโนโลยีใหม่ อยู่เสมอ เพื่อเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละคู่

“โรงพยาบาลเมดพาร์คให้ความสำคัญกับการศึกษา งานวิจัย ทำให้รู้สึกว่าเป็นที่ที่ท้าทาย ทำให้เราได้พัฒนาตัวเอง และมีโอกาสได้ใช้เทคโนโลยีใหม่ อย่าง การเลี้ยงตัวอ่อนและตรวจการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ในอดีตเราจะเลี้ยงตัวอ่อนไว้ในตู้ แล้วนักวิทยาศาสตร์จะนำออกมาเช็กคุณภาพหรือการเจริญเติบโตเป็นระยะ แต่ที่เมดพาร์คมี AI Timelapse คอยจับตาดูตัวอ่อนแบบเรียลไทม์ว่าเขาแบ่งเซลล์ช่วงไหน หน้าตาเป็นอย่างไร แล้วกำหนดเป็นคะแนน 1-9.9 เราก็จะเลือกตัวอ่อนที่มีคะแนนเยอะ ๆ ย้ายกลับเข้าไปในโพรงมดลูก ซึ่งเพิ่มโอกาสสำเร็จในตั้งครรภ์มากขึ้น

  • ฝากไข่ สิ่งที่อยากให้ผู้หญิงตระหนักมากขึ้น 

ถามถึงเทรนด์ในการทำเด็กหลอดแก้ว พญ. พิมพกา ให้มุมมองว่า โรคที่ทำให้มีบุตรยากและทำให้อยากทำเด็กหลอดแก้ว ในปัจจุบันเทียบกับเมื่อ 10-20 ปีก่อนก็ยังคงเป็นโรคเดิม เช่น ไข่ไม่ตก ช็อกโกแลตซีสต์ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ เนื้องอกในมดลูก หรืออื่น ซึ่งก็ต้องใช้เวลาในการรักษาแต่ละเคสแตกต่างกันไป แต่เทรนด์ที่กำลังถูกพูดถึงกันมากคือ การฝากไข่ ในกลุ่มผู้หญิงที่ยังไม่ได้มีปัญหาสุขภาพ แต่วางแผนเผื่อว่าจะมีลูกตอนอายุมากขึ้น

“ผู้หญิงสมัยนี้แม้จะดูแลตัวเองดี แต่อย่างนึงที่ไม่สามารถคงสภาพไว้ได้ก็คือ ไข่ สมมติว่าพร้อมมีลูกตอนอายุ 45 ไข่มันอาจจะฝ่อไปแล้ว การฝากไข่จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจค่ะ ส่วนคนที่มีลูกยาก ควรผลักดันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างเท่าเทียมกัน และอยากให้มีสวัสดิการเพื่อครอบครัวที่มีเด็ก เพื่อจูงใจให้อยากมีลูกมากขึ้น ไม่อย่างนั้น เด็กเกิดใหม่จะน้อยลงเรื่อย โครงสร้างประชากรเป็นผู้สูงอายุ และอนาคตประเทศอาจจะพัฒนาไปได้ช้า

อีกหนึ่งบทบาทนอกเหนือจากการเป็นหมอ IVF ก็คือเป็นคุณแม่ของหนูน้อยวัยน่ารักถึง 2 คนด้วยกัน โดยในช่วงวันหยุดพักผ่อน คุณหมอส้มมักใช้เวลาอยู่กับลูก ทำอาหารให้ทาน พาไปเที่ยว เพื่อให้เด็ก ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์แปลกใหม่ และกระชับความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว เชื่อว่าคู่รักคู่ไหนได้คุยกับคุณหมอ ต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ทั้งน่ารัก อ่อนโยน ใจดี ใส่ใจทุกรายละเอียด แน่นอนว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะคุณหมอเข้าใจเป็นอย่างดีว่า การมีเจ้าตัวน้อยมาเติมเต็มชีวิตคู่นั้น ทำให้มีความสุขมากขนาดไหน



พญ.พิมพกา ชวนะเวสน์
สูตินรีแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์และสตรีวัยหมดประจำเดือน
ประวัติแพทย์

เผยแพร่เมื่อ: 23 ก.พ. 2023

แชร์

แพทย์ที่ถูกเอ่ยถึง

  • Link to doctor
    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Menopause, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology