Eye Misalignment Strabismus Bannerr2.jpg

โรคตาเข ตาเหล่ ตาส่อน

เป็นโรคที่ตา 2 ข้างไม่มองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น ตาเขออก ตาเขเข้า ตาเขขึ้น หรือ ตาเขลง เกิดจากความผิดปกติของสมอง เส้นประสาท หรือกล้ามเนื้อตาที่ควบคุมการกลอกตา สาเหตุเกิดได้จากหลายปัจจัย

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน

โรคตาเข ตาเหล่ ตาส่อน

โรคตาเข ตาเหล่ ตาส่อน เป็นโรคที่ตา 2 ข้างไม่มองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น ตาเขออก ตาเขเข้า ตาเขขึ้น หรือ ตาเขลง โดยอาจเป็นตลอดเวลา หรือ เป็น ๆ หาย ๆ

สาเหตุของโรคโรคตาเข ตาเหล่ ตาส่อน

โรคตาเขส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของสมอง เส้นประสาท หรือกล้ามเนื้อตาที่ควบคุมการกลอกตา สาเหตุเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น โรคกล้ามเนื้อตาผิดปกติ โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง โรคทางระบบประสาทและสมอง โรคตาไทรอยด์ ภาวะค่าสายตาผิดปกติ หรืออาจเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุก็ได้

อาการของโรคตาเข ตาเหล่ ตาส่อน

  • ผู้ป่วยอาจสังเกตเห็นตาเข ตาเหล่ ตาส่อนได้เอง หรือมีคนทัก
  • ภาพซ้อน ผู้ป่วยจะมองเห็นวัตถุจาก 1 เป็น 2 ภาพ ผู้ป่วยที่มีอาการนี้มักเป็นโรคตาเขที่เกิดขึ้นในภายหลัง
  • ปวดเมื่อยตาล้า มักพบในรายที่อาการตาเขเป็น ๆ หาย ๆ ผู้ป่วยสามารถควบคุมดวงตาให้ตรงได้ แต่หากมุมตาเขมากขึ้น ก็ต้องออกแรงกล้ามเนื้อตาในการคุมตาเขมากขึ้นเช่นกัน ทำให้กล้ามเนื้อตาล้า
  • หน้าเอียง หรือคอเอียง เกิดจากการที่ผู้ป่วยมีตาเขในท่าหน้าตรง การเอียงหน้าหรือเอียงคอจะช่วยให้ดวงตาตรง หรือไม่เกิดภาพซ้อน
  • กลอกตาได้ไม่สุด โดยอาจสังเกตได้เอง หรือมีคนทัก


ควรพบแพทย์เมื่อใด

เมื่อสงสัยโรคตาเข ตาเหล่ ตาส่อน ควรได้รับการตรวจประเมินและวินิจฉัยจากจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคตาเขอย่างทันท่วงที เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสมและถูกต้อง หากได้รับการรักษาล่าช้าสามารถส่งผลให้สูญเสียการมองด้วย 2 ตา (binocular vision) และภาพสามมิติอย่างถาวรได้

การรักษาโรคตาเข ตาเหล่ ตาส่อน

ขึ้นอยู่กับชนิดของตาเขและสาเหตุการเกิดโรค การรักษามีได้ตั้งแต่การใส่แว่นสายตา ใส่แว่นปริซึม การปิดตา การรักษาโรคทางระบบประสาทและสมอง หรือโรคตาไทรอยด์ที่เป็นสาเหตุ และการผ่าตัดกล้ามเนื้อตา ทั้งนี้แนวทางการรักษาของแต่ละสาเหตุการเกิดโรคไม่เหมือนกัน ควรได้รับคำแนะนำจากจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเริ่มการรักษา

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

  1. คำถาม: โรคตาเข ตาเหล่ ตาส่อน คืออะไร
    คำตอบ: โรคตาเข ตาเหล่ ตาส่อน เป็นโรคที่ตา 2 ข้างไม่มองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น ตาเขออก ตาเขเข้า ตาเขขึ้น หรือ ตาเขลง โดยอาจเป็นตลอดเวลา หรือ เป็น ๆ หาย ๆ
  2. คำถาม: โรคตาเข ตาเหล่ ตาส่อน เกิดจากอะไร
    คำตอบ: โรคตาเขส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของสมอง เส้นประสาท หรือกล้ามเนื้อตาที่ควบคุมการกลอกตา สาเหตุเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น โรคกล้ามเนื้อตาผิดปกติ โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง โรคทางระบบประสาทและสมอง โรคตาไทรอยด์ ภาวะค่าสายตาผิดปกติ หรืออาจเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุก็ได้
  3. คำถาม: โรคตาเข ตาเหล่ ตาส่อน มีอาการอย่างไร
    คำตอบ: อาจสังเกตเห็นตาเข ตาเหล่ ตาส่อนได้เอง หรือมีคนทัก ภาพซ้อน ผู้ป่วยจะมองเห็นวัตถุจาก 1 เป็น 2 ภาพ ปวดเมื่อยตาล้า มักพบในรายที่อาการตาเขเป็น ๆ หาย ๆ หน้าเอียง หรือคอเอียง กลอกตาได้ไม่สุด เป็นต้น

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 28 มี.ค. 2022

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. วรวลัญช์ หงส์เลิศนภากุล

    พญ. วรวลัญช์ หงส์เลิศนภากุล

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาเด็ก
    • กล้ามเนื้อตา
    การผ่าตัดต้อกระจกในผู้ใหญ่และเด็ก, โรคตาเขและการผ่าตัดกล้ามเนื้อตา, จักษุวิทยาทั่วไปในผู้ใหญ่และเด็ก, ภาวะสายตาผิดปกติ, ตาขี้เกียจ, ต้อกระจก, โรคต้อเนื้อ, โรคต้อลม, โรคตาแห้งและโรคผิวกระจกตา
  • Link to doctor
    พญ. จิภาดา พฤกษาชลวิทย์

    พญ. จิภาดา พฤกษาชลวิทย์

    • จักษุวิทยา
    • กล้ามเนื้อตา
    • จักษุวิทยาเด็ก
    โรคกล้ามเนื้อตา, ตาขี้เกียจ, ภาวะสายตาผิดปกติในเด็ก, ต้อกระจกในเด็ก, โรคตาทั่วไป