อาการ สาเหตุ การวินิจฉัยและการรักษาเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด (Rotator Cuff Tears/Rotator Cuff Injury)

เส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด

เส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด (Rotator Cuff Tears/Rotator Cuff Injury) การบาดเจ็บของเส้นเอ็นหัวไหล่ ซึ่งเป็นกลุ่มของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบข้อบริเวณไหล่ มักเกิดจากการใช้งานที่มากจนเกินไป จนทำให้ได้รับบาดเจ็บและ

แชร์

เส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด เป็นการบาดเจ็บของเส้นเอ็นหัวไหล่ ซึ่งเป็นกลุ่มของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบข้อบริเวณไหล่ มักเกิดจากการใช้งานที่มากจนเกินไป จนทำให้ได้รับบาดเจ็บและอักเสบ นอกจากจะทำให้เกิดความเจ็บปวดแล้ว การบาดเจ็บยังทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยที่ไหล่ซึ่งมักจะรุนแรงขึ้นเมื่อยืดแขนออกจากร่างกาย


อาการ

เส้นเอ็นไหล่ฉีกขาดทำให้เกิดอาการเจ็บซึ่งอาจนำไปสู่อาการและภาวะอื่นๆดังต่อไปนี้

  • ปวดบริเวณไหล่
  • การรบกวนระหว่างการนอนหลับ
  • ความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การหวีผมและการเอื้อมแขนไปด้านหลัง เป็นต้น
  • แขนอ่อนแรง

เมื่อไหร่จึงควรไปพบแพทย์

แนะนำให้พบแพทย์ทันทีหากมีอาการแขนอ่อนแรงอย่างกะทันหันหลังจากได้รับบาดเจ็บ

 

สาเหตุ

สาเหตุหลักของเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด คือการบาดเจ็บที่ไหล่และการสึกหรอของเนื้อเยื่อเอ็น กระบวนการเสื่อมและกิจกรรมในท่าทางที่ต้องยกแขนเหนือศีรษะซ้ำ ๆ ยังเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด

 

ปัจจัยเสี่ยง

มีปัจจัยหลายประการที่เพิ่มความเสี่ยงต่อเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด อันได้แก่

  • อายุ ความเสี่ยงของเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาดจะเพิ่มขึ้นในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
  • งานก่อสร้าง การเคลื่อนไหวของแขนซ้ำ ๆ โดยเฉพาะท่าทางการยกแขนเหนือศีรษะจะส่งเสริมให้เกิดเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาดได้เมื่อเวลาผ่านไป
  • ปัจจัยที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม: ผู้ที่สมาชิกในครอบครัวมีส่วนเกี่ยวข้องกับเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะดังกล่าวได้สูงขึ้น

ภาวะแทรกซ้อน

เส้นเอ็นไหล่ฉีกขาดอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนบางอย่าง ได้แก่

  • การสูญเสียการเคลื่อนไหวอย่างถาวร
  • อ่อนแรง
  • การพัฒนาของการเสื่อมถอยของข้อต่อหัวไหล่
  • ภาวะข้อไหล่ติด

 

การวินิจฉัย

แพทย์จะทำการตรวจร่างกายโดยการกดส่วนต่างๆของไหล่แล้วขยับแขนไปในตำแหน่งต่างๆ ก่อนตรวจสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบไหล่และแขน คุณอาจได้รับการแนะนำให้ทำการทดสอบด้วยภาพถ่ายทางการแพทย์ต่อไปนี้

  • การเอกซเรย์ เพื่อให้เห็นภาพเดือยกระดูกและส่วนอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการปวด
  • อัลตร้าซาวด์ เพื่อสร้างภาพของเนื้อเยื่ออ่อน เช่น กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นระหว่างการเคลื่อนไหว
  • MRI เพื่อแสดงภาพรายละเอียดของโครงสร้างทั้งหมดในบริเวณไหล่


การรักษา

เพื่อให้หายจากอาการเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด แพทย์อาจแนะนำวิธีการรักษาบางอย่าง ได้แก่

  • การฉีดยา อาจใช้การฉีดสเตียรอยด์เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดที่อาจรบกวนการนอนหลับและการใช้ชีวิตประจำวันอื่น ๆ
  • การบำบัด แพทย์อาจแนะนำให้ทำกายภาพบำบัดเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงให้กับไหล่ของคุณ นอกจากนี้ยังอาจเป็นกระบวนการฟื้นตัวหลังการผ่าตัดด้วย
  • การผ่าตัด แพทย์อาจแนะนำทางเลือกในการผ่าตัดให้กับผู้ที่มีเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาดอย่างรุนแรง เพื่อนำเส้นเอ็นที่ฉีกขาดเชื่อมติดเข้ากับกระดูก ทางเลือกของการผ่าตัดอาจรวมถึงการผ่าตัดเพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
    • การซ่อมแซมเส้นเอ็นอักเสบ (Arthroscopic tendon repair)
    • ผ่าตัดแบบเปิดเพื่อซ่อมแซมเส้นเอ็น (Open tendon repair)
    • การปลูกถ่ายเส้นเอ็น (Tendon transfer)
    • เปลี่ยนหัวไหล่ (Shoulder replacement)

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการรักษาตัวที่บ้าน

คุณอาจได้รับคำแนะนำให้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและพฤติกรรมบางอย่างเพื่อฟื้นฟูอาการเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด และเพิ่มความสะดวกสบายในกิจวัตรประจำวันของคุณ เช่น

  • หยุดการกระทำหรือกิจกรรมที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด
  • หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวในท่าทางที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด
  • จำกัดการยกของหนักและกิจกรรมในท่าทางยกแขนเหนือศีรษะจนกว่าอาการบาดเจ็บจะบรรเทาลง
  • ประคบไหล่ด้วยน้ำแข็งหรือแผ่นประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาหาร

 

การเตรียมการก่อนการพบแพทย์

ก่อนการนัดหมายคุณอาจเตรียมข้อมูลบางอย่าง ได้แก่

  • จุดเริ่มต้นของอาการของคุณ
  • การเคลื่อนไหวที่ทำให้อาการเจ็บปวดของคุณแย่ลง
  • ประวัติการบาดเจ็บที่ไหล่
  • การแพร่กระจายของความเจ็บปวด
  • อาการที่เกี่ยวเนื่องกับอาการปวดคอ
  • ปัจจัยเสี่ยงรวมถึงงานหรืองานอดิเรกของคุณที่อาจทำให้ได้รับบาดเจ็บ

ในระหว่างการปรึกษาแพทย์อาจถามคำถามบางอย่างรวมถึงข้อมูลเช่น:

  • บริเวณที่ปวด
  • ความรุนแรงของอาการปวด
  • การเคลื่อนไหวที่ทำให้อาการปวดดีขึ้นหรือแย่ลง
  • อาการอ่อนแรงหรือชา

เผยแพร่เมื่อ: 15 ม.ค. 2021

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. สุนิคม ศุภอักษร

    นพ. สุนิคม ศุภอักษร

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    Sport Injury (Menicus, Cartilage, Ligament), ผ่าตัดส่องกล้องข้อไหล่ ข้อเข่า และข้อสะโพก, Shoulder Problems (Pain, Stiffness, Dislocation, Rotator Cuff Tear, Arthritis)
  • Link to doctor
    นพ. พงศกร บุบผะเรณู

    นพ. พงศกร บุบผะเรณู

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์
    Orthopedics Surgery, Trauma Surgery