โรคภูมิแพ้ของเยื่อบุตาขาว Allergic Conjunctivitis

โรคภูมิแพ้ของเยื่อบุตาขาว

โรคภูมิแพ้ของเยื่อบุตาขาว หรือโรคเยื่อบุตาอักเสบภูมิแพ้ เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายเกิดปฏิกิริยาที่ผิดปกติต่อสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ

แชร์

โรคภูมิแพ้ของเยื่อบุตาขาว

อาการตาแดง น้ำตาไหล คันหรือเคืองในตาเป็นอาการที่พบได้บ่อย หลาย ๆ ท่านเข้าใจว่าอาการดังกล่าวน่าจะเกิดจากฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกเข้าสู่ดวงตา ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุตาขาว และเกิดอาการตาแดงตามมา

อย่างไรก็ตามอาการดังกล่าว อาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคแพ้อากาศ อาการตาแดง น้ำตาไหล คัน หรือเคืองในตา อาจเกิดได้จากโรคภูมิแพ้ของเยื่อบุตาขาว ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับการรักษาเฉพาะการติดเชื้อในดวงตาอาการต่าง ๆ ก็อาจจะไม่ทุเลาลงได้

โรคภูมิแพ้ของเยื่อบุตาขาว

โรคภูมิแพ้ของเยื่อบุตาขาว หรือโรคเยื่อบุตาอักเสบภูมิแพ้ เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายเกิดปฏิกิริยาที่ผิดปกติต่อสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุตาขาว มักพบโรคดังกล่าวในผู้ป่วยที่เป็นโรคแพ้อากาศ

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุส่งเสริม

  • ผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์
  • โรคตาแห้ง
  • โรคต้อหิน
  • โรคต่อมไขมันที่เปลือกตาอักเสบ
  • โรคตาใด ๆ ที่ต้องใช้ยาหยอดตาประจำทุกวัน

โรคนี้เป็นทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

โรคภูมิแพ้ของเยื่อบุตาขาวสามารถพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยพบได้ตั้งแต่เด็ก อายุ 2 ปี ไปจนถึงผู้ใหญ่อายุ 60 ปี อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ของเยื่อบุตาขาวมักเป็นโรคแพ้อากาศ รวมถึงมีบิดาหรือมารดาเป็นโรคภูมิแพ้ร่วมด้วย

อาการของโรคภูมิแพ้ของเยื่อบุตาขาว

ผู้ป่วยจะมีอาการตาแดง น้ำตาไหล คันหรือเคืองในตา ขี้ตามีลักษณะใสหรือสีขาวขุ่น อาการดังกล่าวมักจะเป็นกับตาทั้งสองข้าง โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีเปลือกตาและการมองเห็นเป็นปกติ รวมถึงผู้ป่วยอาจมีอาการร่วมอย่างอื่น ๆ ของโรคแพ้อากาศ เช่น อาการคันจมูก จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล เป็นต้น อาการต่าง ๆ เหล่านี้มักเป็นเรื้อรัง และผู้ป่วยส่วนใหญ่ จะมีอาการมากในช่วงหัวค่ำหรือเช้ามืด หากมีการติดเชื้อแบคทีเรียของเยื่อบุตาขาวร่วมด้วย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนในตา น้ำตาจะเปลี่ยนจากลักษณะน้ำใสเป็นหนอง และมักจะมีการอักเสบของเปลือกตาร่วมด้วย อาการเหล่านี้มีความรุนแรงแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน ตั้งแต่เป็นน้อยจนถึงรุนแรงมาก ก่อให้เกิดความรำคาญ และมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

การรักษาโรคภูมิแพ้ของเยื่อบุตาขาว

  • ยาภูมิแพ้ชนิดรับประทาน ยาภูมิแพ้มีคุณสมบัติในการช่วยลดอาการจาม คันจมูก น้ำมูกไหล หรืออาการคันตาในปัจจุบันยาภูมิแพ้ มีพัฒนาการที่ดี สามารถรับประทานวันละ 1 ครั้ง และไม่มีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการง่วงระหว่างวัน ยามีในรูปแบบยาเม็ดและยาน้ำ สะดวกในการเลือกใช้กับผู้ป่วยเด็กในแต่ละช่วงอายุ
  • ยาภูมิแพ้ชนิดหยอดตา ใช้รักษากรณีที่การรับประทานยาไม่สามารถควบคุมอาการของผู้ป่วยได้ โดยทั่วไปผู้ป่วยควรใช้หยอดตาวันละ 2 - 4 ครั้ง และควรเก็บยาไว้ที่อุณหภูมิตู้เย็น เพื่อคงสภาพยาและการใช้ยาหยอดตาที่เย็น จะสามารถช่วยลดอาการทางตาของผู้ป่วย อย่างไรก็ตามยามีอายุเพียง 1 เดือน ภายหลังการเปิดใช้รวมถึงการรักษาโรคแพ้อากาศที่ดี สามารถลดอาการทางตาของผู้ป่วยได้ โดยอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้หยอดตา

วิธีการหยอดตาผู้ป่วยเด็ก

    1. ให้ผู้ป่วยเอนศีรษะไปทางด้านหลังเล็กน้อย และดึงเปลือกตาด้านล่างลง ให้ผู้ป่วยเหลือบตาขึ้นด้านบน และหยอดยาหยอดตาลงไปตรง ๆ โดยพยายามไม่ให้บริเวณปลายหลอดสัมผัสกับส่วนใด ๆ ของตา
    2. ปิดตา 1-2 นาที โดยใช้นิ้วมือกดเบา ๆ บริเวณหัวตาทางด้านใน เพื่อป้องกันการไหลของยาลงสู่บริเวณโพรงจมูกไม่ควรนวดหรือขยี้ตาภายหลังการหยอดยา
  • น้ำตาเทียมล้างตา เพื่อชะล้างสารก่อภูมิแพ้ การใช้น้ำตาเทียมจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ดวงตา และยังเป็นการชะล้างสารก่อภูมิแพ้ หรือสารระคายเคืองต่าง ๆ ภายในดวงต
  • ประคบตาด้วยผ้าเย็นเพื่อลดอาการบวม การประคบตาด้วยความเย็นจะช่วยลดอาการคันตาและช่วยลดอาการบวมของเยื่อบุตาขาวได้

    ข้อสรุป

    ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นโรคภูมิแพ้ของเยื่อบุตาขาวแต่เพียงโรคเดียว มักจะเป็นร่วมกับโรคแพ้อากาศ ซึ่งการควบคุมอาการของโรคแพ้อากาศได้ดี จะสามารถทำให้อาการทางตาของผู้ป่วยดีขึ้นได้ กรณีผู้ป่วยที่มีอาการของโรคภูมิแพ้ของเยื่อบุ

    ตาขาวที่รุนแรง อาจมีความจำเป็นต้องใช้ยาหยอดตาในกลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งควรอยู่ในความดูแลของจักษุแพทย์ เพื่อติดตามผลข้างเคียงจากการใช้ยาสเตียรอยด์ที่อาจพบได้ เช่น โรคต้อกระจก หรือต้อหิน เป็นต้น

    บทความโดย

    เผยแพร่เมื่อ: 21 ธ.ค. 2022

    แชร์

    แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. ปิยวุฒิ กรีฑาภิรมย์

    นพ. ปิยวุฒิ กรีฑาภิรมย์

    • กุมารเวชศาสตร์
    • กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
    Pediatrics, Well Child Care and Vaccination, Pediatrics Allergy and Immunology, Pediatrics Allergy Blood Testing and Skin Prick Testing, Pediatrics Chronic Dermatitis, Pediatrics Suspected Food Allergies
  • Link to doctor
    พญ. รพิศา นันทนีย์

    พญ. รพิศา นันทนีย์

    • กุมารเวชศาสตร์
    • กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
    Pediatrics, Pediatrics Allergy and Immunology, Pediatrics Allergy Blood Testing and Skin Prick Testing, Pediatrics Chronic Dermatitis, Pediatrics Suspected Food Allergies
  • Link to doctor
    นพ. สุทธิชัย โชคกิจชัย

    นพ. สุทธิชัย โชคกิจชัย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน (ทางคลินิก)
    โรคภูมิแพ้, เวชศาสตร์ป้องกัน
  • Link to doctor
    นพ. ปรีดา สง่าเจริญกิจ

    นพ. ปรีดา สง่าเจริญกิจ

    • กุมารเวชศาสตร์
    • กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
    Pediatrics Chronic Rhinorrhea, Pediatrics Snoring and Obstructive Sleep Apnea, Pediatrics Chronic Wheezing, Pediatrics Chronic Dermatitis, Pediatrics Chronic Urticaria, Pediatrics Suspected Food Allergies, Pediatrics Allergy Blood Testing and Skin Prick Testing
  • Link to doctor
    พญ. วิลาวัณย์ เวทไว

    พญ. วิลาวัณย์ เวทไว

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน (ทางคลินิก)
    โรคหอบหืดและไอเรื้อรัง, โรคภูมิแพ้ในเด็กและผู้ใหญ่, แพ้อาหาร, โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังชนิดเอคซิม่า
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    รศ.พญ. พรรณทิพา ฉัตรชาตรี

    • กุมารเวชศาสตร์
    • กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
    Allergy Symptoms in Children, Prevention of Allergies in Children, Food Allergy of Newborn to 5 Years, Pediatrics Chronic Dermatitis, Pediatrics Chronic Urticaria, Pediatrics Allergy Blood Testing and Skin Prick Testing