ภาวะข้ออักเสบ - Arthritis

ภาวะข้ออักเสบ

ภาวะข้ออักเสบ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นตามวัย ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อย บวม และกดเจ็บในบริเวณข้อต่อ

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


ภาวะข้ออักเสบ

ภาวะข้ออักเสบ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นตามวัย ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อย บวม และกดเจ็บในบริเวณข้อต่อ โดยภาวะข้อต่ออักเสบที่พบบ่อยและเป็นที่รู้จักดี ได้แก่ โรคข้อเสื่อมและโรครูมาตอยด์ โรคข้อเสื่อม เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อน ในขณะที่โรครูมาตอยด์เป็นผลมาจากการโจมตีของระบบภูมิคุ้มกัน โดยมักเริ่มต้นในบริเวณเยื่อบุของข้อต่อ เกาท์เป็นอีกโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อย โดยมีสาเหตุจากผลึกยูเรียที่สะสมในเลือด นอกจากนี้ โรคข้ออักเสบอาจมีความสัมพันธ์กับโรคลูปัสและสะเก็ดเงิน ที่สืบเนื่องมาจากการติดเชื้อ ตลอดจนอาจสืบเนื่องมาจากโรคอื่นๆได้เช่นกัน

ข้ออักเสบ มีอาการอย่างไร

สัญญาณและอาการของภาวะข้ออักเสบแตกต่างกันไปตามชนิดของภาวะข้ออักเสบที่เกิดขึ้น โดยสัญญาณและอาการที่พบบ่อยประกอบได้ด้วย

    • อาการปวด
    • อาการบวม
    • อาการเมื่อย
    • รอยแดง
    • ความสามารถในการเคลื่อนไหวที่ลดลง

ข้ออักเสบ มีสาเหตุเกิดจากอะไร

ภาวะข้ออักเสบมีหลายประเภท โดยเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ภาวะข้ออักเสบที่พบบ่อยที่สุดได้แก่  โรคข้อเสื่อมและโรครูมาตอยด์

โรคข้อเสื่อม

เกิดจากความเสียหายของกระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่คล้ายตัวกันกระแทกที่บริเวณปลายของกระดูก เมื่อกระดูกอ่อนนี้เสื่อมสภาพลง กระดูกก็จะเกิดการบดและเสียดสีกัน จนทำให้เกิดอาการเจ็บปวด และอาจก่อให้เกิดการจำกัดของการเคลื่อนไหว โดยเมื่อเวลาผ่านไปอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการบาดเจ็บของข้อต่อ และการติดเชื้อได้ ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงของกระดูกรวมไปถึงกระดูกอ่อนอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้อต่อทั้งหมด และอาจเกิดอาการอักเสบของเนื้อเยื่อบุข้อต่อ

โรครูมาตอยด์

โรครูมาตอยด์เกิดจากการโจมตีของระบบภูมิคุ้มกันที่ส่งผลให้เยื่อหุ้มข้อเกิดอาการอักเสบและบวม ทั้งนี้กระดูกอ่อนและกระดูกในข้อมักถูกทำลายจากกระบวนการของโรค

ปัจจัยเสี่ยงข้ออักเสบ

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาวะข้ออักเสบมีดังต่อไปนี้

    • อายุ ผู้ที่มีอายุมากมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะข้ออักเสบได้มากขึ้น
    • เพศ พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างเพศและภาวะข้ออักเสบ โดยโรครูมาตอยด์มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ขณะที่ภาวะข้ออักเสบอื่นๆ รวมถึงเกาท์ มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
    • ประวัติของสมาชิกในครอบครัว ภาวะข้ออักเสบมีแนวโน้มเกิดขึ้นในผู้ที่สมาชิกในครอบครัวมีประวัติของภาวะข้ออักเสบ
    • การบาดเจ็บของข้อต่อ ความเสี่ยงของภาวะข้ออักเสบมีแนวโน้มสูงขึ้นในผู้ที่มีประวัติการบาดเจ็บของข้อต่อ
    • ภาวะน้ำหนักตัวมาก น้ำหนักตัวที่มากเกินเกณฑ์ส่งผลให้เกิดการกดของข้อต่อที่มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อต่อที่รับน้ำหนักเช่น เข่า สำโพก และกระดูกสันหลัง ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสี่ยงของการเกิดภาวะข้ออักเสบ

ข้ออักเสบ มีภาวะแทรกซ้อนอย่างไร

ภาวะข้ออักเสบที่รุนแรงโดยเฉพาะที่เกิดขึ้นในบริเวณมือและแขน อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ที่มีภาวะข้ออักเสบในข้อที่ทำหน้าที่รับน้ำหนัก อาจมีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะเดินหรือนั่งตรง ทั้งนี้ภาวะข้ออักเสบมีแนวโน้มที่อาจทำให้ข้อเกิดการผิดรูปและบิดเบี้ยวได้ในบางกรณี

ภาวะข้ออักเสบ มีวิธีการวินิจฉัยอย่างไร

แพทย์อาจทำการทดสอบเพื่อตรวจสอบอาการบวม แดง และความอุ่นที่เกิดขึ้นในข้อต่อ ตลอดจนความสามารถในการเคลื่อไหว นอกจากนี้แพทย์อาจทำการทดสอบเพื่อจำแนกประเภทของภาวะข้อต่ออักเสบโดยอาศัยวิธีการดังต่อไปนี้

    • การทดสอบทางห้องปฏิบัติการ
      แพทย์อาจทำการทดสอบตัวอย่างของเหลวในร่างกาย เช่น เลือด ปัสสาวะ และของเหลวในข้อเพื่อจำแนกประเภทของภาวะข้ออักเสบ
    • การทดสอบด้วยภาพถ่ายทางการแพทย์
      การทดสอบด้วยภาพถ่ายทางการแพทย์อาจถูกใช้เพื่อหาสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้น โดยการทดสอบดังกล่าวอาจประกอบไปด้วย
      • เอ็กซเรย์
      • ซีทีแสกน
      • เอ็มอาร์ไอ
      • อัลตร้าซาวนด์

ภาวะข้ออักเสบ มีวิธีการรักษาอย่างไร

วัตถุประสงค์ของการรักษาภาวะข้ออักเสบนั้น เพื่อบรรเทาอาการและพัฒนาประสิทธิภาพของข้อต่อ โดยการรักษานั้นมีหลายวิธี รวมไปถึงการใช้ยารักษา การทำกายภาพบำบัด การผ่าตัด ตลอดจนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการรักษาตัวที่บ้าน ทั้งนี้แพทย์อาจแนะนำวิธีการรักษาชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือวิธีการผสมผสาน ตามอาการและเงื่อนไขของคนไข้แต่ละราย
    • การใช้ยา
      แพทย์อาจจ่ายยาตามชนิดของภาวะข้ออักเสบของคนไข้ โดยยาที่ใช้รักษาภาวะข้ออักเสบอาจประกอบไปด้วยกลุ่มยาดังต่อไปนี้
      • ยาแก้ปวด
      • ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
      • ยาลดการอักเสบกลุ่ม DMARDs
      • ยาต้านการระคายเคือง (Counterirritants)
      • ยาลดอาการอักเสบและกดภูมิคุ้มกัน (Corticosteroids)
      • ยาเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน (Biologic response modifiers)
    • กายภาพบำบัด
      แพทย์หรือนักกายภาพบำบัดอาจแนะนำท่าทางการออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูการเคลื่อนไหวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณข้อต่อ
    • การผ่าตัด
      แพทย์อาจแนะนำวิธีการผ่าตัดสำหรับคนไข้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีการอื่น โดยอาจประกอบไปด้วยการผ่าตัดดังต่อไปนี้
      • การผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมข้อต่อ
      • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อต่อ
      • การผ่าตัดเชื่อมข้อ

เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการรักษาตัวที่บ้าน

    • การออกกำลังกาย
    • การลดน้ำหนัก
    • การประคบร้อนและเย็น
    • การใช้อุปกรณ์ช่วย

เตรียมตัวเพื่อพบแพทย์

ก่อนการพบแพทย์คนไข้อาจเตรียมข้อมูลดังต่อไปนี้

    • ข้อมูลของอาการโดยละเอียด
    • ประวัติของปัญหาทางการแพทย์ของคนไข้ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต
    • ประวัติของปัญหาทางการแพทย์ของสมาชิกครอบครัวที่เคยเกิดขึ้นในอดีต
    • ยาและอาหารเสริมที่ใช้
    • คำถามที่ต้องการถามแพทย์

ระหว่างการตรวจวินิจฉัยแพทย์อาจถามคำถามดังต่อไปนี้

    • จุดเริ่มต้นของอาการที่เกิดขึ้น
    • กิจกรรมที่ส่งผลให้อาการดีขึ้นหรือแย่ลง
    • ข้อต่อที่เกิดอาการ
    • สมาชิกครอบครัวที่เคยมีประวัติภาวะข้ออักเสบ

เผยแพร่เมื่อ: 25 ต.ค. 2020

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. นันทรัตน์ วงษ์วรอาภรณ์

    พญ. นันทรัตน์ วงษ์วรอาภรณ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม
    อายุรกรรมทั่วไป, เวชศาสตร์ป้องกัน
  • Link to doctor
    นพ. วิรัตน์ ภิญโญพรพานิช

    นพ. วิรัตน์ ภิญโญพรพานิช

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม
    โรคเกาต์, โรคกระดูกพรุน, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็ก, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, โรคแพ้ภูมิตัวเอง
  • Link to doctor
    พญ. สุดอำไพ จารุกิจโสภา

    พญ. สุดอำไพ จารุกิจโสภา

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม
    โรคเกาต์, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, โรคแพ้ภูมิตัวเอง, โรคแพ้ภูมิตัวเอง, กล้ามเนื้ออักเสบ, โรคข้อเสื่อม