Lazy Eye Bannerr.jpg

โรคสายตาขี้เกียจ Lazy Eye (Amblyopia)

คือภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของพัฒนาการของการมองเห็น ซึ่งสามารถเกิดขึ้นกับตาข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง

แชร์

โรคสายตาขี้เกียจ หรือ Lazy eye คือ ภาวะการมองเห็นที่ลดลงแม้ว่าจะใส่แว่นเพื่อแก้ไขค่าสายตาแล้ว ภาวะนี้เกิดจากความผิดปกติของพัฒนาการของการมองเห็น โดยการมองเห็นที่ลดลงนี้ไม่ได้มีสาเหตุทั้งหมดมาจากความผิดปกติของโครงสร้างของลูกตา ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นกับตาข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค

โรคสายตาขี้เกียจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ

  • โรคตาเหล่ ตาเข หรือตาส่อน เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคสายตาขี้เกียจได้บ่อยที่สุด
  • ภาวะค่าสายตาผิดปกติ ทั้งค่าสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียงมาก ๆ ในตาข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างสามารถทำให้เกิดโรคสายตาขี้เกียจได้
  • โรคอื่น ๆ ที่บดบังการมองเห็นของเด็ก เช่น หนังตาตก ต้อกระจกแต่กำเนิด

อาการของโรค

การมองเห็นลดลงในตาข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างแม้ว่าความผิดปกติของโครงสร้างของลูกตาจะได้รับการแก้ไข และได้ใช้แว่นที่เหมาะสมกับค่าสายตาแล้ว

ควรพบแพทย์เมื่อใด

หากบุตรหลานของท่านมีอาการมองเห็นไม่ชัด ไม่จ้องหน้า ไม่มองตาม ตามพัฒนาการตามช่วงอายุ  มีภาวะตาเหล่ ตาเข ตาส่อน หนังตาตก หรือมีรูม่านตาเป็นสีขาว ควรพบจักษุแพทย์โรคตาเด็กและตาเขเพื่อประเมินพัฒนาการของการมองเห็นตามช่วงอายุ และตรวจคัดกรองสาเหตุต่าง ๆ ที่สามารถก่อให้เกิดโรคสายตาขี้เกียจได้

การป้องกัน

แนะนำให้ตรวจคัดกรองโรคสายตาขี้เกียจโดยจักษุแพทย์โรคตาเด็กและตาเขเพื่อหาสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคสายตาขี้เกียจ การได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมอย่างทันท่วงทีตั้งแต่เด็กเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากการรักษาโรคสายตาขี้เกียจจะได้ผลดีมากในเด็กเล็ก

การวินิจฉัยโรค

ควรได้รับการตรวจโดยจักษุแพทย์โรคตาเด็กและตาเข เพื่อประเมินการมองเห็นในเด็กที่มีภาวะการมองเห็นลดลงในตาข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างแม้ว่าจะใส่แว่นเพื่อแก้ไขค่าสายตาแล้ว

การรักษาโรค

  • ใส่แว่นที่เหมาะสมกับค่าสายตาเพื่อให้เด็กสามารถมองเห็นชัดได้มากที่สุด
  • ปิดตาข้างที่มองเห็นชัดเพื่อกระตุ้นให้ข้างที่ไม่ชัดได้รับการพัฒนาการมองเห็น
  • หยอดยาที่มีฤทธิ์คลายการเพ่งและขยายม่านตาในตาข้างที่มองเห็นชัดให้เบลอเพื่อกระตุ้นให้ข้างที่ไม่ชัดได้รับการพัฒนาการมองเห็น

การรักษาตั้งแต่แรกเริ่มก่อนอายุ 6-8 ปีจะได้ผลดีมากกว่าในเด็กโต และจะสามารถป้องกันการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรในตาข้างที่ผิดปกติได้

คลิปวีดีโอที่เกี่ยวกับสายตาเด็ก

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 28 มี.ค. 2022

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. วรวลัญช์ หงส์เลิศนภากุล

    พญ. วรวลัญช์ หงส์เลิศนภากุล

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาเด็ก
    • กล้ามเนื้อตา
    การผ่าตัดต้อกระจกในผู้ใหญ่และเด็ก, โรคตาเขและการผ่าตัดกล้ามเนื้อตา, จักษุวิทยาทั่วไปในผู้ใหญ่และเด็ก, ภาวะสายตาผิดปกติ, ตาขี้เกียจ, ต้อกระจก, โรคต้อเนื้อ, โรคต้อลม, โรคตาแห้งและโรคผิวกระจกตา
  • Link to doctor
    พญ. วิมลทิพย์ ลยานันท์

    พญ. วิมลทิพย์ ลยานันท์

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาเด็ก
    จักษุวิทยาทั่วไปในผู้ใหญ่และเด็ก