Welcome Who Banner 2.jpg

รพ.เมดพาร์คต้อนรับ WHO องค์การอนามัยโลกประเมินผลการปฏิบัติงาน

องค์การอนามัยโลกตรวจเยี่ยมการดำเนินงานความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลเอกชนและภาครัฐที่โรงพยาบาลเมดพาร์ค

แชร์

โรงพยาบาลเมดพาร์คต้อนรับผู้เชี่ยวชาญจาก
องค์การอนามัยโลก เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงาน

องค์การอนามัยโลกตรวจเยี่ยมการดำเนินงานความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลเอกชนและภาครัฐที่โรงพยาบาลเมดพาร์ค

สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.)  เข้ารับการประเมินผลการปฏิบัติตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ โดยผู้เชี่ยวชาญภายนอกประเทศขององค์การอนามัยโลก

กรมควบคุมโรค นำโดยนายแพทย์นายแพทย์เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน และคณะเจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรคให้การต้อนรับและนำคณะผู้ตรวจประเมินเข้าพื้นที่ศึกษาดูงานในการประเมินผลการปฏิบัติตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ ผู้โดยเชี่ยวชาญภายนอกประเทศโลกร่วมกัน (International Health Regulations-Joint External Evaluation (IHR-JEE) ขององค์การอนามัยโลก รอบที่สอง ในวันที่ 31 ต.ค. 2565

คณะผู้ตรวจประเมินได้เดินทางมายังโรงพยาบาลเมดพาร์ค เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร เพื่อตรวจเยี่ยมการดำเนินงานความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลเอกชนและภาครัฐ นำเสนอโดยนายแพทย์พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช กรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลเมดพาร์ค และคณะตรวจประเมินได้เยี่ยมชมระบบบริการของโรงพยาบาล อาทิ การตรวจคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 การดูแลผู้ป่วยกรณีต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การบริการฉีกวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ให้กับในประชาชนทั่วไป และเด็กเล็ก

ประเทศไทยได้ปฏิบัติตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (IHR) ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2548 และขอรับการตรวจประเมิน Joint External Evaluation หรือ JEE  แสดงถึงการเป็นผู้นำระดับภูมิภาคในด้านต่างๆ การประเมินผลการปฏิบัติตามกฎอนามัยระหว่างประเทศจะทำให้ทราบสถานะของสมรรถนะด้านการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคของประเทศไทย เพื่อพัฒนาศักยภาพให้ได้ตามมาตรฐานของกฎอนามัยระหว่างประเทศ และลดความเสี่ยงของประชาชนจากโรคระบาดและภัยสุขภาพ









เผยแพร่เมื่อ: 03 พ.ย. 2022

แชร์

บทความสุขภาพ

คาเฟอีน (Caffeine)

คาเฟอีน (Caffeine) เป็นสารแซนทีนอัลคาลอยด์ (Xanthine alkaloid) ซึ่งพบมากใน เมล็ดกาแฟ ใบชา เมล็ดโกโก้ เมล็ดโคล่า เป็นสารสีขาวที่มีรสขม ไม่มีกลิ่น ในปัจจุบันเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนได้รับความนิยม

Goto page arrow icon

ซีเซียม-137 แร่กัมมันตรังสีที่เคยใช้ประโยชน์ในแวดวงการแพทย์ อันตรายหรือไม่

ซีเซียม-137 เป็นหนึ่งในแร่กัมมันตรังสีแวดวงการแพทย์ และโรงงานอุตสาหกรรมนำมาใช้ประโยชน์จากรังสีที่แร่ชนิดนี้แผ่ออกมา เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะทางแตกต่างกันไปขึ้นชื่อว่ากัมมันตรังสี

Goto page arrow icon

ความเชื่อเรื่องสมองและการเคลื่อนไหว เรื่องไหนจริงบ้าง

อาการผิดปกติทางสมองและระบบประสาท หลาย ๆ คนอาจคิดว่าโรคและอาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องนั้น มักจะเกิดเฉพาะกับผู้สูงวัย จริงๆแล้วนั้นสามารถพบได้กับคนทุกเพศทุกวัย

Goto page arrow icon
medpark ดูทั้งหมด