อาการ สาเหตุ การตรวจวินิจฉัย และการรักษาโรคลูปัส (Lupus) หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE)

โรคลูปัส โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE

โรคลูปัส หรือที่เรียกกันว่า แพ้ภูมิตัวเอง SLE คือ ภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะของตนเอง การอักเสบที่เกี่ยวข้องกับโรคลูปัส หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง SLE สามารถส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานต่าง

แชร์

โรคลูปัส โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE

โรคลูปัส หรือที่เรียกกันว่า แพ้ภูมิตัวเอง SLE คือ ภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะของตนเอง (โรคภูมิต้านตนเอง) การอักเสบที่เกี่ยวข้องกับโรคลูปัส หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง SLE สามารถส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานต่าง ๆ ภายในร่างกาย เช่น ข้อต่อ ผิวหนัง ไต เซลล์เม็ดเลือด สมอง หัวใจและปอด โรคลูปัส โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE อาจวินิจฉัยได้ยากเนื่องจากอาการของโรคมักคล้ายกับโรคอื่น ๆ ลักษณะเด่นที่สุดของโรคลูปัสคือผื่นบนใบหน้าที่มีรูปร่างเหมือนปีกผีเสื้อ บริเวณเหนือแก้มทั้งสองข้าง ซึ่งมักพบในผู้ป่วยโรคลูปัส แต่ไม่ได้พบในผู้ป่วยทุกราย

ผู้ป่วยบางคนมีลักษณะทางพันธุกรรมที่เอื้อต่อการเป็นโรคลูปัส แม้จะไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดแต่มีการรักษาที่บรรเทาอาการได้

อาการของโรคลูปัส โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE

โรคนี้อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้ อาการที่พบได้บ่อย ประกอบด้วย:

  • อ่อนเพลีย
  • มีไข้
  • ปวดข้อ
  • ข้อติด แข็ง ฝืด
  • ขาบวม
  • ผื่นรูปผีเสื้อบนใบหน้า
  • ผื่นแพ้แสง
  • หายใจลำบาก
  • ตาแห้ง
  • สับสน และมีความบกพร่องทางความสามารถของสมอง (Disorientation and cognitive impairment)


สาเหตุของการแพ้ภูมิตัวเอง

โรคลูปัส โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE 8nvโรคภูมิต้านตนเองที่ระบบภูมิคุ้มกันไปทำลายเนื้อเยื่อปกติในร่างกาย คาดว่า เกิดจากการผสมผสานของปัจจัยด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม

ผู้ที่มีลักษณะพันธุกรรมที่เอื้อต่อการเกิดโรคลูปัส อาจเกิดอาการได้เมื่อสัมผัสหรือได้รับสิ่งกระตุ้นในสภาพแวดล้อมที่อาจทำให้เกิดโรคลูปัส ในกรณีส่วนใหญ่มักไม่ทราบสาเหตุ แต่ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นโรคลูปัส มีดังนี้

  • แสงแดด ในบุคคลที่มีพันธุกรรมเอื้อต่อการเกิดโรคลูปัส การสัมผัสแสงแดดอาจทำให้เกิดโรคผิวหนังลูปัสหรือเกิดปฏิกิริยาภายในร่างกายได้
  • การติดเชื้อ การติดเชื้อสามารถทำให้เกิดโรคลูปัสหรือเกิดอาการกำเริบได้ในบางกรณี
  • ยาบางชนิด ยาลดความดันโลหิต ยาต้านอาการชัก และยาปฏิชีวนะบางชนิดสามารถทำให้เกิดโรคลูปัสได้


ปัจจัยเสี่ยง

  • เพศ: พบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
  • อายุ: ส่วนใหญ่พบในช่วงอายุระหว่าง 15 ถึง 45 ปี
  • เชื้อชาติ: พบได้บ่อยในชาวแอฟริกันอเมริกัน ฮิสแปนิก และชาวเอเชีย


อาการแทรกซ้อนจาก
โรคลูปัส โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE

  • ไตไตวาย คือสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคลูปัส
  • สมองปวดศีรษะ, วิงเวียน, มีปัญหาด้านการมองเห็น, โรคหลอดเลือดสมอง และอาการชัก
  • หลอดเลือดอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด และเม็ดเลือดแดงต่ำลง
  • ปอด โรคลูปัสเพิ่มความเสี่ยงการอักเสบในปอด
  • หัวใจ โรคลูปัสสามารถกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ เส้นเลือดแดง และเยื่อบุต่าง ๆ
  • การติดเชื้อผู้ป่วยโรคลูปัส มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสอื่น ๆ ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง
  • การสลายตัวของเนื้อเยื่อกระดูกเกิดขึ้นเมื่อเลือดไปเลี้ยงกระดูกน้อยลง โดยทั่วไปมักจะส่งผลให้เกิดรอยแตกเล็ก ๆ และเกิดการยุบตัวของกระดูกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


การตรวจวินิจฉัยโรคลูปัส โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE

โรคลูปัสเป็นโรคที่วินิจฉัยได้ยากเนื่องจากลักษณะบ่งชี้และอาการของแต่ละผู้ป่วยแตกต่างกันมาก ซึ่งอาการของโรคลูปัสอาจเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา พร้อมทั้งมีอาการคล้ายกับโรคอื่นอีกมากมาย โรคลูปัสจึงไม่สามารถวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจเพียงชนิดเดียว การวินิจฉัยจะประเมินจากผลการตรวจเลือดและปัสสาวะ ลักษณะอาการ สัญญาณบ่งชี้

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การตรวจเลือดและปัสสาวะทางห้องปฏิบัติการ มีรายการตรวจดังนี้:

  • การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) - การตรวจวิเคราะห์ เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด รวมถึงเม็ดเลือดแดง และฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นโมเลกุลที่จับตัวกับออกซิเจนในเซลล์เม็ดเลือดแดง
  • ค่าอักเสบในร่างกาย (ESR, CRP) อัตราที่สูงกว่าปกติบ่งบอกถึงภาวะการอักเสบเรื้อรังในระบบต่างๆของร่างกาย เช่น โรคลูปัส
  • การตรวจการทำงานของตับและไต (LFT & RFT) - การตรวจเลือดสามารถประเมินประสิทธิภาพการทำงานของตับและไต ซึ่งโรคลูปัสอาจทำให้อวัยวะเหล่านี้มีการทำงานผิดปกติได้
  • การตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ (UA)การตรวจตัวอย่างปัสสาวะอาจแสดงให้เห็นว่ามีโปรตีนสูงขึ้นหรืออาจพบเม็ดเลือดได้
  • การตรวจออโต้อิมมูนแล็บ เช่น ANA, ENA, Complement Component 3 (C3), and Complement Component 4 (C4).

การถ่ายภาพทางการแพทย์

  • ภาพรังสีทรวงอก - ภาพสแกนทรวงอก อาจแสดงให้เห็นเงาที่ผิดปกติ ซึ่งบ่งบอกถึงการมีสารน้ำหรือการอักเสบภายในปอด
  • การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงหัวใจ - การตรวจนี้เป็นการใช้คลื่นเสียงในการประมวลผลเป็นภาพที่แสดงจังหวะการเต้นของหัวใจได้ในทันที ช่วยในการตรวจความผิดปกติที่ลิ้นหัวใจและส่วนอื่น ๆ ได้

การตรวจชิ้นเนื้อ

โรคลูปัสสามารถก่อให้เกิดความเสียหายต่อไตได้หลายรูปแบบ และการรักษาจะแตกต่างกันไปตามความเสียหายที่เกิดขึ้น อาจมีการใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อหรือมีการตัดเก็บชิ้นส่วนเนื้อขนาดเล็กเพื่อทำการตรวจวิเคราะห์

ในบางครั้งแพทย์อาจตรวจชิ้นเนื้อจากผิวหนังหรือชิ้นเนื้อที่ไตเพื่อยืนยันการวินิจฉัยในกรณีที่มีอาการของโรคลูปัสที่อวัยวะนั้น ๆ

การรักษาโรคลูปัส โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE

การรักษาสำหรับโรคลูปัสจะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยหากมีอาการรุนแรงมากขึ้นหรือลดลง แพทย์จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนยาหรือปรับขนาดของยา ซึ่งยาที่มักใช้สำหรับรักษาโรคลูปัส ได้แก่:

  • ยาต้านการอักเสบแบบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น นาพรอกเซน โซเดียม (naproxen sodium) ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) อาร์โคเซีย (arcoxia) และซิลิเบร็กซ์ (celebrex)สามารถนำมาใช้รักษาอาการปวด อักเสบ หรือมีไข้ ที่เกิดจากโรคลูปัส ซึ่งยา NSAIDs กลุ่มที่มีฤทธิ์แรง สามารถหาซื้อได้ตามใบสั่งแพทย์
  • ยาต้านมาลาเรีย (Antimalarial drugs) เช่น ไฮดรอกซีคลอโรควิน (hydroxychloroquine) ที่ออกฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกันและสามารถลดการเกิดอาการของโรคลูปัสได้
  • คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เช่น เพรดนิโซน (prednisone) และยาคอร์ติโคสเตียรอยด์อื่น ๆ สามารถบรรเทาการอักเสบที่เกิดจากโรคลูปัสได้ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ในปริมาณสูง เช่น เมธิลเพรดนิโซโลน (methylprednisolone) มักใช้ในการรักษาโรคลูปัสที่มีอาการที่ไตและสมองรุนแรง
  • ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressants) ยากลุ่มนี้อาจมีประโยชน์ในผู้ป่วยบางราย ตัวอย่างเช่น เอซาไธโอพริน (azathioprine), ไมโคฟีโนเลต (mycophenolate), เมโธเทรกเซท (methotrexate), ไซโคลสปอริน (cyclosporine) และ เลฟลูโนไมด์ (leflunomide)
  • การรักษาด้วยวิธีชีวภาพ ในบางอาการ ช่วยลดอาการของโรคลูปัสได้ในผู้ป่วยบางราย


การปรับวิถีชีวิตและการดูแลตนเองที่บ้าน

การปรับพฤติกรรมเพียงเล็กน้อย สามารถช่วยป้องกันการเกิดอาการกำเริบของโรคลูปัสได้ ซึ่งหากมีอาการของโรคลูปัสเกิดขึ้น แนะนำให้

  • พบแพทย์เป็นประจำ การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้แพทย์สามารถป้องกันการกำเริบของโรคและยังมีประโยชน์ในการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น ความเครียด โภชนาการ และการออกกำลังกาย ซึ่งสามารถลดอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจตามมา
  • หลีกเลี่ยงแสงแดด สวมเสื้อผ้าที่ช่วยปกป้องร่างกายจากแสงแดด ได้แก่ หมวก เสื้อแขนยาว และกางเกงขายาว เนื่องจากรังสียูวีสามารถทำให้อาการของโรคกำเริบขึ้นได้
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ การออกกำลังกายช่วยคงความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อ ลดโอกาสในการเกิดโรคหัวใจ และช่วยให้คลายเครียดและนอนหลับดีขึ้น
  • ไม่สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่สามารถทำให้อาการของโรคลูปัสรุนแรงขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • รับประทานอาหารให้ครบหมู่

อาการของโรคลูปัสนั้นมีอาการที่คล้ายกับโรคอื่น ๆ มากมาย ดังนั้นผู้ป่วยจึงต้องอดทนเพื่อรอผลการวินิจฉัย เนื่องจากแพทย์ต้องทำการจำแนกโรคอื่น ๆ ออกไปก่อนจึงจะสามารถวินิจฉัยโรคลูปัสได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจต้องเข้าพบผู้เชี่ยวชาญหลายคน เพื่อยืนยันแผนการวินิจฉัยและการรักษา

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 12 ม.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. วิรัตน์ ภิญโญพรพานิช

    นพ. วิรัตน์ ภิญโญพรพานิช

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม
    โรคเกาต์, โรคกระดูกพรุน, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็ก, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, โรคแพ้ภูมิตัวเอง
  • Link to doctor
    พญ. สุดอำไพ จารุกิจโสภา

    พญ. สุดอำไพ จารุกิจโสภา

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม
    โรคเกาต์, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, โรคแพ้ภูมิตัวเอง, โรคแพ้ภูมิตัวเอง, กล้ามเนื้ออักเสบ, โรคข้อเสื่อม
  • Link to doctor
    พญ. นันทรัตน์ วงษ์วรอาภรณ์

    พญ. นันทรัตน์ วงษ์วรอาภรณ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม
    อายุรกรรมทั่วไป, เวชศาสตร์ป้องกัน
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    พญ. ธีรดา อัศวศักดิ์สกุล

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม
    โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์