ตาแห้ง (Dry eyes) - อาการ สาเหตุ การตรวจวินิจฉัย และการรักษา

ตาแห้ง

อาการตาแห้งเกิดจากการที่ดวงตาผลิตน้ำตาหรือสารหล่อลื่นดวงตาไม่มากพอที่จะคงความชุ่มชื้นของดวงตา สาเหตุที่ดวงตาผลิตน้ำตาลดลงนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจทำให้ผิวของดวงตาเสียหายหรือติดเชื้อได้

แชร์

ตาแห้ง

อาการตาแห้ง เกิดจากการที่ดวงตาผลิตน้ำตาหรือสารหล่อลื่นดวงตาไม่มากพอที่จะคงความชุ่มชื้นของดวงตา สาเหตุที่ดวงตาผลิตน้ำตาลดลงนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจทำให้ผิวของดวงตาเสียหายหรือติดเชื้อได้

ดวงตาอาจจะเจ็บหรือระคายเคืองได้เมื่อมองหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือ ดูโทรทัศน์ ขี่จักรยาน อยู่ในห้องปรับอากาศ หรือบนเครื่องบินเป็นเวลานาน

ยาหยอดตาหรือการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยบรรเทาอาการได้ การรักษาอาการตาแห้งนี้อาจจำเป็นต้องทำต่อเนื่องเป็นประจำเพื่อให้อาการดีขึ้น

อาการตาแห้ง

  • ตาแดงและตาล้า
  • ตาพร่า
  • มีน้ำตา
  • แสบ ระคายเคือง หรือรู้สึกว่ามีอะไรอยู่ในตา
  • แพ้แสง
  • มีเมือกดวงตาเป็นเส้น ๆ ในตาหรือรอบดวงตา
  • มีปัญหากับการใส่คอนแทคเลนส์หรือขับรถตอนกลางคืน

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร

ควรพบแพทย์หากมีอาการ เช่น ตาแดง ระคายเคือง ตาล้า หรือเจ็บตาต่อเนื่องหลายวัน

สาเหตุ

ในน้ำตาประกอบไปด้วยไขมัน น้ำ และเมือก ซึ่งหล่อลื่นผิวของดวงตา หากส่วนประกอบในน้ำตาเริ่มมีปัญหา อาจทำให้เกิดอาการตาแห้งได้

สาเหตุนั้นมีหลายสาเหตุ เช่น อาจจะผลิตน้ำตาได้ไม่มากพอ น้ำตาระเหยเร็ว ภูมิแพ้ขึ้นตา โรคภูมิแพ้ตัวเอง ต่อมเปลือกตาอักเสบ หรือระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนไป

ดวงตาอาจจะผลิตน้ำตาน้อยลง เนื่องจาก

  • อายุที่มากขึ้น
  • การใช้ยา เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้า ยาแก้แพ้ ยาแก้คัดจมูก การใช้ฮอร์โมนทดแทน ยาสำหรับรักษาสิว ยาคุมกำเนิด ยารักษาความดันสูง และยาสำหรับโรคพาร์กินสัน
  • โรคประจำตัว เช่น การขาดวิตามินเอ โรคภูมิแพ้ขึ้นตา โรค Graft vs. Host โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคซาร์คอยโดซิส โรคโจเกรน และโรคไทรอยด์
  • การรับรู้ความรู้สึกที่กระจกตาลดลงเนื่องจากการใช้คอนแทคเลนส์ เส้นประสาทถูกทำลาย หรือหลังการผ่าตัดตา ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการตาแห้งชั่วคราว

การระเหยของน้ำตาที่เพิ่มมากขึ้นอาจเกิดจาก

  • ภูมิแพ้ขึ้นตาหรือปัญหาเรื่องดวงตา เช่น ภาวะเปลือกตาม้วนออก หรือภาวะเปลือกตาม้วนเข้า
  • อากาศแห้ง ลม หรือควัน
  • สารกันเสียในยาหยอดตา
  • การขาดวิตามินเอ
  • การกระพริบตาน้อยลงเนื่องจากโรคประจำตัว เช่น โรคพาร์กินสัน หรือ กิจวัตรประจำวัน เช่น การจ้องมองจอคอมพิวเตอร์ ขับรถ หรืออ่านหนังสือเป็นเวลานาน ๆ

ปัจจัยเสี่ยง

  • อายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่อายุมากกว่า 50 ปี ยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้น น้ำตายิ่งถูกผลิตน้อยลง
  • เพศหญิง เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระหว่างตั้งครรภ์ วัยหมดประจําเดือน หรือเมื่อใช้ยาคุมกําเนิด
  • การสวมใส่คอนแทคเลนส์ หรือการผ่าตัดรักษาภาวะสายตาผิดปกติ
  • การรับประทานอาหารที่มีวิตามินเอและกรดไขมันโอเมกา 3 ต่ำ

ภาวะแทรกซ้อน

  • ตามีโอกาสติดเชื้อบ่อยขึ้นเนื่องจากขาดน้ำตาปกป้องพื้นผิวตา
  • พื้นผิวตาได้รับความเสียหาย การที่ตาแห้งอย่างรุนแรงอาจทําให้ตาอักเสบ กระจกตาถลอก แผลที่กระจกตา และสูญเสียการมองเห็น
  • คุณภาพชีวิตแย่ลง เพราะมีปัญหาในการอ่านหนังสือหรือทำกิจวัตรประจําวัน

การป้องกัน

หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจทําให้ตาแห้ง เช่น

  • หลีกเลี่ยงการโดนลมเป่าจากเครื่องเป่าผม เครื่องปรับอากาศ หรือพัดลมเป่าเข้าดวงตา
  • สวมแว่นตาป้องกัน เช่น แว่นกันแดดที่ปิดด้านข้างเพื่อป้องกันดวงตาจากลมหรืออากาศที่แห้ง
  • หลับตาหรือกระพริบตาบ่อย ๆ เมื่อต้องจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรืออ่านหนังสือ หรือทํากิจกรรมใด ๆ ที่ต้องเพ่งสายตา
  • ไม่ควรวางหน้าจอคอมพิวเตอร์ไว้เหนือระดับสายตา เพราะจะทำให้ดวงตาเปิดกว้างขึ้น ส่งผลให้น้ำตาระเหยเร็ว
  • หลีกเลี่ยงควันบุหรี่และการสูบบุหรี่ เพราะควันอาจทําให้อาการตาแห้งแย่ลง
  • ใช้ยาหยอดตาเป็นประจําเพื่อให้ดวงตาชุ่มชื้น หากมีอาการตาแห้งเรื้อรังควรใช้น้ำตาเทียมอยู่เสมอแม้ว่าจะไม่รู้สึกระคายเคือง

การตรวจวินิจฉัย

แพทย์อาจตรวจหาสาเหตุของอาการตาแห้ง โดย

  • การตรวจสุขภาพตาเพื่อหาสาเหตุของอาการตาแห้ง
  • การตรวจปริมาณน้ำตา โดยการทดสอบ Schirmer test ซึ่งจะใช้กระดาษซับน้ำตาวางไว้ใต้เปลือกตาล่าง 5 นาทีเพื่อดูปริมาณน้ำตาที่ถูกดูดซับ  
  • การตรวจคุณภาพของน้ำตา โดยการใช้สีย้อมเพื่อตรวจสอบการติดสีบนกระจกตาและดูว่าน้ำตาระเหยเร็วมากน้อยแค่ไหน
  • การตรวจความเข้มข้นของน้ำตา เพื่อดูส่วนประกอบของน้ำตา ในกรณีที่ตาแห้งมักมีส่วนประกอบที่เป็นน้ำน้อย
  • การตรวจส่วนประกอบของน้ำตาเพื่อหาหลักฐานของโรคตาแห้ง เช่น ปริมาณแลคโตเฟอร์รินลดลงและปริมาณเอนไซม์เมทริกเมทัลโลโปรติเอส 9 สูง

การรักษา

การใช้ยาหยอดตาหรือน้ำตาเทียมเหมาะกับอาการตาแห้งที่เป็นไม่รุนแรงหรือชั่วคราว ในกรณีที่ตาแห้งเรื้อรังหรือรุนแรง การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุ การรักษาอาจรวมถึงการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม ปรับปรุงคุณภาพของน้ำตา หรือทำให้น้ำตาระเหยช้าลง

หากยาที่ใช้อยู่ ทําให้เกิดอาการตาแห้ง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเปลี่ยนยาตัวใหม่ ในรายที่มีภาวะเปลือกตาม้วนออก แพทย์จะแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ทางด้านศัลยกรรมจักษุตกแต่งและเสริมสร้าง

การใช้ยารักษาตาแห้ง

  • ยาปฏิชีวนะช่วยลดอาการอักเสบจากโรคเปลือกตาอักเสบ ซึ่งอุดกั้นน้ำมันไม่ให้ไหลไปผสมกับน้ำตาได้ สามารถเลือกใช้ยาปฏิชีวนะในแบบยาหยอดตา ขี้ผึ้ง หรือยาทาน
  • ยาลดการอักเสบ เช่น ไซโคลสปอริน หรือ คอร์ติโคสเตียรอยด์ ช่วยลดอาการอักเสบของกระจกตา แต่ไม่แนะนำให้ใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ เป็นเวลานานเพราะอาจเกิดผลข้างเคียง
  • น้ำตาเซรั่ม (Autologous blood serum drops) สกัดจากเลือดที่ผ่านกำจัดเซลล์เม็ดเลือดแดงออกและนำไปทำให้เจือจาง เหมาะสำหรับรายที่รุนแรงและไม่ตอบสนองกับการรักษาวิธีอื่น ๆ

การรักษาตาแห้งด้วยวิธีอื่น ๆ

  • การอุดท่อน้ำตาบางส่วนหรือทั้งหมดเพื่อไม่ให้น้ำตาระบายออกเร็ว
  • การอุดท่อระบายน้ำตาแบบชั่วคราวด้วย silicone plug หรือการจี้ด้วยความร้อน (Thermal cautery) ซึ่งจะอุดท่อน้ำตาโดยถาวร
  • การใช้คอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษ ที่เรียกว่า scleral lenses หรือ bandage lenses ซึ่งช่วยปกป้องพื้นผิวดวงตาและกักเก็บความชุ่มชื้น
  • การประคบร้อนหรือใช้มาส์กบริเวณดวงตาเพื่อให้ต่อมไขมันที่อุดตันเปิดออก
  • การรักษาด้วยแสง (IPL) และการนวดเปลือกตาในรายที่มีอาการตาแห้งรุนแรง

การดูแลรักษาอาการตาแห้งที่บ้าน

การล้างทำความสะอาดเปลือกตาบ่อย ๆ ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดวงตาที่แห้ง หรือหยอดน้ำตาเทียมเพื่อหล่อลื่นดวงตา

การเลือกยาหยอดตา

สามารถเลือกซื้อน้ำตาเทียมจากร้านขายยาทั่วไปได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์ว่าชนิดใดที่เหมาะกับอาการ

น้ำตาเทียมช่วยบรรเทาอาการตาแห้งที่ไม่รุนแรง แต่จะใช้น้ำตาเทียมบ่อยครั้งแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ

  • ยาหยอดตาที่มีสารกันเสียจะมีอายุการใช้งานที่นานกว่า แต่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองดวงตาและสามารถหยอดได้ไม่เกิน 4 ครั้งต่อวัน ในขณะที่ยาหยอดตาไร้สารกันเสียมักเป็นหลอดใช้ครั้งเดียวหลาย ๆ หลอดในหนึ่งกล่อง และสามารถใช้หยอดได้มากกว่า 4 ครั้งต่อวัน
  • การใช้น้ำตาเทียมไม่รบกวนสายตาจึงสามารถใช้เวลาใดก็ได้ แต่ขี้ผึ้งจะทำให้สายตาขุ่นมัว ก่อนนอนอาจะเลือกใช้แบบขี้ผึ้งแทนเพราะสามารถบรรเทาอาการได้นานกว่า
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาหยอดตาที่ลดอาการนัยน์ตาแดงเพราะการใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานอาจทำให้ตาระคายเคือง

การล้างเปลือกตาบ่อย ๆ ช่วยบรรเทาอาการติดเชื้อของเปลือกตาได้

  • วางผ้าชุบน้ำอุ่นลงบนเปลือกตาเป็นเวลา 5 นาที เช็ดทำความสะอาดเพื่อกำจัดสิ่งสกปรกอย่างเบามือ
  • ทำความสะอาดต่อด้วยสบู่อ่อน ๆ นวดดวงตาอย่างเบามือและล้างทำความสะอาดให้หมดจด

การเตรียมตัวก่อนพบแพทย์

สิ่งที่ควรทำ
จดบันทึกเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • วันแรกที่เริ่มมีอาการ รวมถึงอาการที่มี ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับอาการตาแห้ง
  • เหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน
  • ยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่กำลังใช้
  • คำถามที่อยากถามแพทย์

ตัวอย่างคำถามที่อาจจะต้องการถามแพทย์

  • อะไรคือสาเหตุของอาการ
  • ต้องทำการทดสอบอะไรหรือไม่
  • อาการสามารถหายได้เองหรือไม่
  • มีวิธีการรักษาอะไรบ้าง มีผลข้างเคียงหรือไม่
  • หากมีโรคประจำตัวอยู่ ควรรักษาอาการตาแห้งควบคู่กับโรคประจำตัวด้วยวิธีใด
  • มีข้อห้ามอะไรหรือไม่
  • จำเป็นต้องมาพบแพทย์เพื่อติดตามอาการหรือไม่
  • สามารถหาข้อมูลเรื่องโรคตาแห้งได้จากที่ใด

คำถามที่แพทย์อาจถาม

  • อาการตาแห้งเริ่มขึ้นเมื่อไร
  • มีอาการอะไรบ้าง มีอาการต่อเนื่องกันหลายวันหรือเป็น ๆ หาย ๆ
  • คนในครอบครัวมีใครมีอาการตาแห้งหรือไม่
  • ได้ใช้ยาหยอดยาเพื่อบรรเทาอาการหรือไม่
  • อะไรที่ทำให้อาการดีขึ้นหรือแย่ลง
  • ตอนนี้กำลังใช้ยาอะไรอยู่หรือไม่
  • มีอาการปวดศีรษะหรือคอหรือไม่

สิ่งที่ทำได้ขณะที่รอนัดพบแพทย์
สามารถใช้น้ำตาเทียมเพื่อให้ตาชุ่มชื้นระหว่างรอนัดพบแพทย์ หลีกเลี่ยงการใช้ยาหยอดตาที่ลดอาการตาแดงเพราะอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองได้

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 26 ก.ค. 2022

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. มณฑิรา เจิมจุติธรรม

    พญ. มณฑิรา เจิมจุติธรรม

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, Ophthalmology, โรคต้อเนื้อ, โรคตาแห้งและโรคกระจกตา, การผ่าตัดต้อกระจก, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา
  • Link to doctor
    ศ.พญ. งามจิตต์ เกษตรสุวรรณ

    ศ.พญ. งามจิตต์ เกษตรสุวรรณ

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, โรคตาแห้งและโรคผิวกระจกตา, โรคต้อเนื้อและการผ่าตัดโดยใช้กาวชีวภาพ, โรคกระจกตาโก่ง, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาโดยใช้สเต็มเซลล์, การผ่าตัดต้อกระจก
  • Link to doctor
    พญ. ฐิติมา หวังเจริญ

    พญ. ฐิติมา หวังเจริญ

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    • โรคของกระจกตา
    โรคตาแห้งและโรคผิวกระจกตา, โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, โรคกระจกตาโก่ง, การผ่าตัดต้อกระจก, การผ่าตัดลอกต้อเนื้อโดยไม่เย็บ, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา
  • Link to doctor
    พญ. สุภาวดี เอื้อจงมานี

    พญ. สุภาวดี เอื้อจงมานี

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, โรคตาแห้งและโรคผิวกระจกตา, ภาวะสายตาผิดปกติ, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, โรคต่อมไขมันที่เปลือกตาอุตตัน, การผ่าตัดต้อกระจก
  • Link to doctor
    พญ.   ณัฐรินทร์   ภูษิตโภยไคย

    พญ. ณัฐรินทร์ ภูษิตโภยไคย

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    Ophthalmology, โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ
  • Link to doctor
    พญ. วรรณรัตน์ สาธิตพิฐกุล

    พญ. วรรณรัตน์ สาธิตพิฐกุล

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    โรคตาแห้งและโรคกระจกตา, การผ่าตัดต้อกระจก, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, โรคตาแห้งและโรคผิวกระจกตา, ต้อกระจก
  • Link to doctor
    พญ. อุษณีย์ เหรียญประยูร

    พญ. อุษณีย์ เหรียญประยูร

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, โรคต้อเนื้อและการผ่าตัดโดยใช้กาวชีวภาพ, โรคกระจกตาโก่ง, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาโดยใช้สเต็มเซลล์, การผ่าตัดต้อกระจก
  • Link to doctor
    พญ. วรวลัญช์ หงส์เลิศนภากุล

    พญ. วรวลัญช์ หงส์เลิศนภากุล

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาเด็ก
    • กล้ามเนื้อตา
    การผ่าตัดต้อกระจกในผู้ใหญ่และเด็ก, โรคตาเขและการผ่าตัดกล้ามเนื้อตา, จักษุวิทยาทั่วไปในผู้ใหญ่และเด็ก, ภาวะสายตาผิดปกติ, ตาขี้เกียจ, ต้อกระจก, โรคต้อเนื้อ, โรคต้อลม, โรคตาแห้งและโรคผิวกระจกตา
  • Link to doctor
    พญ. วิมลรัตน์ ประทีปะเสน

    พญ. วิมลรัตน์ ประทีปะเสน

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ
  • Link to doctor
    รศ.พิเศษ นพ. ภาคภูมิ คัมภีร์พันธุ์

    รศ.พิเศษ นพ. ภาคภูมิ คัมภีร์พันธุ์

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ
    การผ่าตัดต้อกระจก, ผ่าตัดต้อกระจกหลังทำเลสิก, ผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์ชนิดพิเศษ, ผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์ชนิดพิเศษ, ผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์ชนิดพิเศษ, ใส่คอนแทคเลนส์, โรคกระจกตาโก่ง, การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยสายตาเลือนรางและเทคโนโลยีช่วยการมองเห็น