Save Doctors Heart Project.jpg

โครงการอาสาดูแลหัวใจหมอ

ครั้งแรกในประเทศไทยที่แพทย์จะเข้าร่วมอาสาดูแลหัวใจแพทย์ เปิดโอกาสให้แพทย์ไทยทั่วประเทศสามารถเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อค้นหาโรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ

แชร์

จากการรวบรวมข้อมูลของแพทยสภา จำนวนแพทย์ที่เสียชีวิตด้วยโรคต่างๆในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2560-2564) มีจำนวน 297 คน ในจำนวนนี้มีแพทย์ที่เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและโรคที่ไม่ระบุสาเหตุโรคชัดเจน ถึง 60% (เฉพาะที่ระบุว่าเกิดจากโรคหัวใจ 10%) ทั้งนี้ มีแพทย์ที่เสียชีวิตโดยมีอายุน้อยกว่าอายุขัยเฉลี่ยถึง 118 คนคิดเป็น 40% ของแพทย์ผู้เสียชีวิตทั้งหมด (อายุขัยเฉลี่ยของประชากรไทยเพศชาย 73 ปี และเพศหญิง 77 ปี) โดยแพทย์ที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจ​อายุน้อยที่สุดในรายงานมีอายุเพียง 31 ปี

การสูญเสียเช่นนี้ถือเป็นการสูญเสียที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง เพราะแพทย์หนึ่งคน สามารถช่วยชีวิตประชาชนได้อีกนับหมื่นคน

ด้วยโรงพยาบาลเมดพาร์คที่มีความพร้อมในการรักษาโรคหัวใจที่มีความซับซ้อน ทั้งในส่วนของแพทย์เฉพาะทาง และทีมสหสาขาวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจทุกสาขา รวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง โรงพยาบาลเมดพาร์คเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงริเริ่มโครงการ อาสาดูแลหัวใจหมอขึ้น อันจะมีส่วนร่วมพัฒนาและส่งเสริมสุขภาพของแพทย์ในประเทศไทยให้มีอายุยืน และ สุขภาพดี  เพื่อให้แพทย์เหล่านั้นสามารถดูแลประชาชนต่อไปได้อีกมากเพราะโดยปกติอาชีพแพทย์สามารถดูแลรักษาผู้ป่วยได้แม้จะมีอายุมากเกินเกณฑ์เกษียณแล้วก็ตาม

เกณฑ์ผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ

แพทย์สัญชาติไทย* อายุ 35 - 70 ปี ในทุกสาขา ทั่วประเทศ
*แพทย์แผนปัจจุบัน ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม จากแพทยสภา และ ไม่มีประวัติโรคหัวใจมาก่อน

รายละเอียดโปรแกรมการตรวจสุขภาพหัวใจ

การตรวจวินิจฉัย คัดกรอง เพื่อค้นหาปัญหาของหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวผิดปกติ และให้การรักษาหากตรวจพบ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายของแพทย์ผู้ใช้บริการ (รายละเอียดตามโครงการกำหนด**)

โดยแพทย์ผู้เข้ารับบริการ จะได้รับการตรวจสุขภาพหัวใจเบื้องต้น (Basic heart screening program) ร่วมกับเลือกการตรวจพิเศษเพิ่มเติม (Cardiac noninvasive test)  2 รายการ โดย แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด จะเป็นผู้พิจารณาเลือกวิธีการตรวจที่เหมาะสม

**การรักษาขึ้นอยู่กับการตรวจวินิจฉัยและดุลยพินิจของแพทย์โรงพยาบาลเมดพาร์คเท่านั้น

ขั้นตอนการเข้ารับบริการ

  1. แพทย์ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ทำการลงทะเบียนเพื่อให้ข้อมูลเบื้องต้น และรอการตอบกลับ ผ่าน ระบบลงทะเบียนออนไลน์
  2. เจ้าหน้าที่แผนกศูนย์หัวใจ ทำการติดต่อกลับเพื่อทำนัดหมายพบแพทย์และเข้ารับการตรวจวินิจฉัย
  3. ในวันนัดหมาย ผู้รับบริการทำแบบสอบถามการคัดกรอง Covid-19 ที่บริเวณทางเข้าโรงพยาบาล และ ติดต่อแผนกลงทะเบียน ชั้น G เพื่อลงทะเบียนผู้ป่วยใหม่ (สำหรับผู้ที่ยังไม่มีประวัติในโรงพยาบาลเมดพาร์ค)
  4. เข้ารับการตรวจวินิจฉัยที่แผนกศูนย์หัวใจ ชั้น 8 เคาน์เตอร์ D
  5. หลังการตรวจเสร็จสิ้นจะได้รับผลการตรวจและคำปรึกษาจากแพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด

กรุณางดรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม อย่างน้อย 12 ชั่วโมง ท่านสามารถดื่มน้ำเปล่าได้

ระยะเวลาโครงการ

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 12 สิงหาคม 2565  (6 เดือน)

สถานที่เข้ารับการตรวจวินิจฉัย

แผนกศูนย์หัวใจ (Cardiology Center ) ชั้น 8 เคาน์เตอร์ D โรงพยาบาลเมดพาร์ค

หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ แผนกศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลเมดพาร์ค เบอร์โทรศัพท์ 02-090-3104 เวลาทำการ 08.00 - 20.00 น.

คลิกที่นี่ เพื่อลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ
https://medpark.hospital/DoctorsRegistration

เผยแพร่เมื่อ: 13 ก.พ. 2022

แชร์

บทความสุขภาพ

กระดูกลั่นบ่อย เกิดจากอะไร?

อาการกระดูกลั่น ที่เกิดขึ้นในบริเวณข้อต่อ ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แม้จะไม่มีความอันตรายร้ายแรง แต่อาจก่อให้เกิดความรำคาญและความกังวลใจได้

Goto page arrow icon

รู้ไหม! แม่ท้องฟันผุ อาจอันตรายต่อเด็กในท้อง

ฟันผุ หนึ่งในปัญหาช่องปากที่พบได้บ่อย จนหลายคนชินชาและคิดว่าเป็นเรื่องปกติ จึงไม่ใส่ใจ หรือตระหนักถึงความร้ายแรงของอาการนี้

Goto page arrow icon

ข้อเท็จจริงเรื่องกินไขมัน กินยังไงให้ได้ประโยชน์?

ไขมันทรานส์ จัดอยู่ในกลุ่มไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ในทางอุตสาหกรรมอาหาร จะใช้การเติมไฮโดรเจนเพื่อเปลี่ยนสภาพน้ำมันพืชชนิดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ให้อยู่ในรูปของแข็งหรือกึ่งของเหลว ได้แก่ เนยเทียมและเนยขาว

Goto page arrow icon
medpark ดูทั้งหมด