สิวที่หลัง (Back Acne) สาเหตุ การรักษาและวิธีป้องกัน - Back Acne Cuases, Treatment and Prevention

สิวที่หลัง (Back Acne)

สิวที่หลัง เกิดจากการอุดตันของรูขุมขน อันเนื่องมาจากผิวหนังที่ตายแล้ว เหงื่อ หรือสิ่งสกปรกผสมเข้ากับไขมันหรือซีบัมที่ถูกผลิตจากต่อมไขมันที่ผิวหนัง ซึ่งสิวสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่บนผิวหนังของร่างกาย

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


สิวที่หลัง

สิว เกิดจากการอุดตันของรูขุมขน อันเนื่องมาจากผิวหนังที่ตายแล้ว เหงื่อ หรือสิ่งสกปรกผสมเข้ากับไขมันหรือซีบัมที่ถูกผลิตจากต่อมไขมันที่ผิวหนัง ซึ่งสิวสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่บนผิวหนังของร่างกาย รวมถึงแผ่นหลัง โดย สิวที่หลัง มักพบได้บ่อยในวัยรุ่นเพศชาย แต่คนทุกเพศทุกวัยสามารถมีสิวที่หลังได้เช่นกัน การสวมเสื้อผ้าที่ไม่ระบายเหงื่อเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สิวที่หลังมีอาการแย่ลง

สิวที่หลังมีอาการอย่างไร?

มีสิวขึ้นบริเวณหัวไหล่ หลัง และบริเวณลำตัว ซึ่งอาจรู้สึกเจ็บและสิวอาจขึ้นเป็นกระจุก ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง และอาจมีสิวเพียงชนิดเดียวหรือหลายประเภท เช่น สิวหนอง สิวหัวดำ สิวตุ่มแดง สิวไต สิวหัวช้าง

ควรพบแพทย์เมื่อไร?

  • เมื่อเป็นสิวเรื้อรัง ไม่หาย หรือกลับมาเป็นซ้ำ
  • กดเจ็บ
  • สิวอักเสบ
  • มีไข้ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของอาการติดเชื้อ

สิวที่หลังมีสาเหตุเกิดจากอะไร?

  • ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในวัยรุ่นหรือหญิงตั้งครรภ์อาจเป็นสาเหตุของสิวที่หลังได้
  • การเสียดสีบริเวณแผ่นหลัง เสื้อผ้า เป้ หรืออุปกรณ์กีฬาที่เสียดสีกับผิวหนังที่เหงื่อออก
  • การรับประทานยา เช่น ยาคอร์ติสเตียรอยด์อาจทำให้สิวที่หลังแย่ลง
  • การทาครีมหรือโลชั่นบางชนิดอาจทำให้รูขุมขนอุดตันได้
  • ความเครียดและวิตกกังวล จะทำให้ระดับคอร์ติซอลในร่างกายสูงขึ้นและทำให้ต่อมไขมันที่ผิวหนังผลิตไขมันหรือซีบัมออกมามากขึ้นกว่าเดิม
  • การสะสมของเหงื่อ เหงื่อที่สะสมอยู่ที่เสื้อ ไม่ระเหยแห้ง ทำให้รูขุมขนอุดตันได้
  • มีคนในครอบครัวสายตรงมีสิวบนแผ่นหลัง

Back Acne Banner 2

สิวที่หลัง มีการตรวจวินิจฉัยอย่างไร?

หากมีสิวที่หลังเป็นระยะเวลานานหรือกลับมามีสิวซ้ำอีก ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อพูดคุยถึงวิธีการรักษาที่เหมาะกับอาการ โดยแพทย์อาจให้รับประทานยา หรือใช้ยาลดการเกิดสิว

การดูแลตนเอง และการป้องกันไม่ให้เกิดสิวที่หลัง

  • สวมใส่เสื้อตัวหลวม เพื่อป้องกันการเสียดสีและระคายเคืองแผ่นหลัง การสวมเสื้อพอดีตัวอาจทำให้เหงื่อระเหยได้ยากและเนื้อผ้าอาจเสียดสีกับผิวหนัง
  • หลีกเลี่ยงการสะพายเป้ หรือ สวมอุปกรณ์ป้องกันกีฬาหนา ๆ บริเวณแผ่นหลัง เพื่อลดการเสียดสีบริเวณผิวหนัง
  • ควรอาบน้ำทันทีหลังออกกำลังกาย เพื่อลดการสะสมของเหงื่อ ป้องกันไม่ให้รูขุมขนอุดตัน ไม่ถอดเสื้อเมื่อออกกำลังกายเพราะจะทำให้แผ่นหลังสัมผัสกับพื้นผิวสกปรกได้โดยตรง
  • ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่อ่อนโยน ไม่มีส่วนผสมของสารที่ทำให้รูขุมขนอุดตัน
  • ทายากลุ่ม benzoyl peroxide เพื่อกำจัดสิว โดยควรทาทิ้งไว้ 5 นาทีก่อนล้าง และใช้เจลเรตินอลเพื่อช่วยลดการอุดตันของรูขุมขนและผลัดเซลล์ผิวเก่า
  • ไม่ควรบีบสิว เพราะอาจทำให้เกิดแผลเป็นหรือติดเชื้อ
  • หมั่นสระผมให้สะอาด และ ไม่ควรให้ผมปรกหลัง น้ำมันและสิ่งสกปรกจากเส้นผมอาจทำให้เกิดสิวที่แผ่นหลังได้
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นให้เกิดสิว เช่น ขนมปังขาว พาสต้าแป้งขัดสี มันฝรั่ง หรืออาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง

สิวที่หลัง Back Acne Infographic - Th

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 21 ก.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. นัทธมน บวรสถิตชัย

    พญ. นัทธมน บวรสถิตชัย

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    การรักษาเกี่ยวกับความงาม, สิว, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, รอยสิว, ผื่นแพ้สัมผัส, ผื่นผิวหนังอักเสบและสะเก็ดเงิน, โรคผิวหนังอักเสบ, โรคผิวหนังจากภูมิคุ้มกันตัวเอง, โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง , ตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดบริเวณผิวหนัง, ผ่าตัดมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดมะเร็งผิวหนัง, ฝ้าและโรคของเม็ดสี, การดูแลกระชับเรือนร่าง
  • Link to doctor
    นพ. วิชญ์ แสงสุวรรณ

    นพ. วิชญ์ แสงสุวรรณ

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    • โรคผมร่วงและการผ่าตัดปลูกผม
    การฉีด Botulinum Toxin, การฉีดฟิลเลอร์, สิว, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, รอยสิว, ผื่นแพ้สัมผัส, ผื่นผิวหนังอักเสบและสะเก็ดเงิน, โรคผิวหนังจากภูมิคุ้มกันตัวเอง, โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง , โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, ตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดบริเวณผิวหนัง, ฝ้าและโรคของเม็ดสี, การดูแลกระชับเรือนร่าง, การรักษาผิวหนังด้านความงาม, โรคผื่นผิวหนังอักเสบจากผื่นแพ้สัมผัส, โรคผิวหนังอักเสบ, โรคแพ้ภูมิตัวเอง, ผ่าตัดบริเวณผิวหนัง, เลเซอร์ผิวหนังด้านความงาม, เลเซอร์รักษาผิวหนังหย่อนยาน, เลเซอร์รักษาจุดด่างดำ, เลเซอร์กระชับรูปร่าง, การใช้แสงเลเซอร์รักษาผมบาง, รักษาหลุมสิว, การรักษาโรคผมร่วงและการผ่าตัดปลูกผม, ตจวิทยา โรคผิวหนัง
  • Link to doctor
    นพ. ภาสุร์ เปี่ยมพงศ์สานต์

    นพ. ภาสุร์ เปี่ยมพงศ์สานต์

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    ตจศัลยศาสตร์, สิว, รอยสิว, ผื่นผิวหนังอักเสบและสะเก็ดเงิน, ตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดบริเวณผิวหนัง, ผ่าตัดมะเร็งผิวหนัง, เลเซอร์รักษาจุดด่างดำ, การดูแลกระชับเรือนร่าง, การฉีด Botulinum Toxin, แผลเป็นนูนและแผลคีลอยด์
  • Link to doctor
    พญ. ญาดา อิทธิพานิชพงศ์

    พญ. ญาดา อิทธิพานิชพงศ์

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    ผ่าตัดบริเวณผิวหนัง, ผ่าตัดมะเร็งผิวหนัง, ฝ้าและโรคของเม็ดสี, การรักษาผิวหนังด้านความงาม, การดูแลกระชับเรือนร่าง, การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น, การฉีด Botulinum Toxin, การฉีดฟิลเลอร์, Vein Sclerotherapy, Mesotherapy, Anti-aging and Regenerative Medicine, ตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดผิวหนังและเล็บ, รอยสิว, สิว, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, ผื่นแพ้สัมผัส, ตรวจรักษาโรคผิวหนังทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. ชัชฎาภรณ์ ชุณหรัศมิ์

    พญ. ชัชฎาภรณ์ ชุณหรัศมิ์

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    เลเซอร์ผิวหนังด้านความงาม, เลเซอร์กระชับรูปร่าง, โรคผื่นผิวหนังอักเสบจากผื่นแพ้สัมผัส, ฝ้าและโรคของเม็ดสี, โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง , สิว, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, รอยสิว, ผื่นผิวหนังอักเสบและสะเก็ดเงิน, โรคด่างขาว, ตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดบริเวณผิวหนัง
  • Link to doctor
    นพ. กิตติพงศ์ วันถาวรประเสริฐ

    นพ. กิตติพงศ์ วันถาวรประเสริฐ

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    ผิวหนังอักเสบผื่นคัน, โรคผิวหนังอักเสบ, ผื่นผิวหนังอักเสบและสะเก็ดเงิน, ตรวจรักษาโรคผิวหนังทั่วไป, ผ่าตัดบริเวณผิวหนัง, เลเซอร์รักษาผิวหนังหย่อนยาน, การใช้แสงเลเซอร์รักษาผมบาง, โรคผมบางจากพันธุกรรม, โรคผมร่วงชนิดทำให้เกิดแผลเป็น, โรคผมร่วงเฉียบพลัน, ผมบางตามวัย, โรคผมร่วงเรื้อรัง, โรคด่างขาว, เลเซอร์รักษาจุดด่างดำ, รอยสิว, การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น, การฉีด Botulinum Toxin