ตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือท้องนอกมดลูก อาการ สาเหตุ การวินิจฉัยและรักษา - Ectopic Pregnancy Symptoms, Causes, Diagnosis and Treatment

ตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic Pregnancy)

การตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือ ท้องนอกมดลูก  คือ ภาวะที่ตัวอ่อนฝังตัวที่บริเวณนอกมดลูก ซึ่ง 90% มักเกิดที่ท่อนำไข่ การตั้งครรภ์นอกมดลูกอาจเกิดขึ้นได้ที่รังไข่ ช่องท้อง หรือปากมดลูกแต่พบได้น้อย

แชร์

    เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน


    การตั้งครรภ์นอกมดลูก

    การตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือ ท้องนอกมดลูก  คือ ภาวะที่ตัวอ่อนฝังตัวที่บริเวณนอกมดลูก ซึ่ง 90% มักเกิดที่ท่อนำไข่ การตั้งครรภ์นอกมดลูกอาจเกิดขึ้นได้ที่รังไข่ ช่องท้อง หรือปากมดลูกแต่พบได้น้อย การตั้งครรภ์นอกมดลูก ตัวอ่อนจะไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่และยังเป็นอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ท่อนำไข่ฉีกขาด ซึ่งจะทำให้เลือดออกมากในช่องท้อง จนอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิต

    อาการท้องนอกมดลูก

    นอกจากอาการของการตั้งครรภ์ทั่วไปแล้ว หญิงตั้งครรภ์อาจมีอาการดังต่อนี้

    • มีเลือดออกทางช่องคลอด
    • ปวดท้องน้อย อุ้งเชิงกราน และหลังส่วนล่าง
    • อ่อนแรง เวียนศีรษะ

    หากท่อนำไข่ฉีกขาดอาจส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตต่ำ หน้ามืด ปวดไหล่ ซึ่งหากท่อนำไข่แตกฉับพลัน จะรู้สึกปวดบริเวณท้องน้อยมาก จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาฉุกเฉิน

    สาเหตุการท้องนอกมดลูก

    การตั้งครรภ์นอกมดลูกเกิดจากการที่ท่อนำไข่ตีบตัน เนื่องจากปัจจัยดังต่อไปนี้

    • มีพังผืดในท่อนำไข่หรือท่อนำไข่ติดเชื้ออักเสบจากการผ่าตัด
    • ท่อนำไข่ได้รับความเสียหายจากโรคทางเพศสัมพันธ์
    • ท่อนำไข่มีรูปร่างผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
    • มีก้อนหรือเนื้องอกในท่อนำไข่

    ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ท้องนอกมดลูก

    ปัจจัยเสี่ยงสูงที่ทำให้ท้องนอกมดลูก

    • ท่อนำไข่ผิดปกติหรือได้รับความเสียหายจากการติดเชื้อ การผ่าตัด มีเนื้องอก หรือมีรูปร่างผิดปกติตั้งแต่กำเนิด การผ่าตัดปรับแต่งรูปร่างท่อนำไข่เพื่อรักษาภาวะมีบุตรยากอาจเพิ่มความเสี่ยงของการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้เช่นกัน
    • มีประวัติตั้งครรภ์นอกมดลูกมาก่อน

    ปัจจัยเสี่ยงปานกลางที่ทำให้ท้องนอกมดลูก

    • โรคหนองในแท้หรือหนองในเทียมอาจส่งผลเสียต่อท่อนำไข่ เพิ่มความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูก
    • หญิงที่มีภาวะมีบุตรยากมีแนวโน้มที่จะตั้งครรภ์นอกมดลูก เนื่องจากความผิดปกติของท่อนำไข่ และยาที่ใช้ในการรักษาภาวะมีบุตรยากอาจเพิ่มความเสี่ยงของการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้เช่นกัน
    • การมีคู่นอนมากกว่า 1 คนเพิ่มความเสี่ยงของการติดโรคทางเพศสัมพันธ์และการติดเชื้อที่อุ้งเชิงกราน ทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์นอกมดลูกสูงยิ่งขึ้น

    ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ

    • การทำหมันถาวรในผู้หญิงหรือการใช้ห่วงอนามัยคุมกำเนิดเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ แต่ถ้าหากบังเอิญตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์นั้นมีแนวโน้มที่จะเป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูก
    • การทำเด็กหลอดแก้วเพิ่มความเสี่ยงในการตั้งครรภ์นอกมดลูกและการตั้งครรภ์ทั้งในและนอกมดลูกพร้อมกันให้สูงขึ้นเล็กน้อย

    ภาวะแทรกซ้อน

    มดลูกเป็นอวัยวะเดียวที่สามารถยืดขยายตัวเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ท่อนำไข่หรืออวัยวะอื่น ๆ นั้นไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ เมื่อตัวอ่อนฝังตัวที่ท่อนำไข่เจริญเติบโตขึ้นอาจส่งผลดังต่อไปนี้

    • ท่อนำไข่ฉีกขาด
    • อวัยวะภายในได้รับความเสียหาย
    • เลือดออกภายในช่องท้อง
    • เสียชีวิต

    การตั้งครรภ์นอกมดลูกนั้นจึงถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาทันที

    การตรวจการตั้งครรภ์นอกมดลูก - Ectopic Pregnancy

    การตรวจการตั้งครรภ์นอกมดลูก

    การตั้งครรภ์นอกมดลูกมักตรวจพบเมื่อไปพบแพทย์ระหว่างการฝากครรภ์ โดยแพทย์อาจให้เข้ารับการตรวจ เช่น

    • การตรวจปัสสาวะ
    • การตรวจอัลตราซาวด์ สามารถแสดงภาพการตั้งครรภ์ในมดลูกและตรวจการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์ 
    • การตรวจเลือด สามารถตรวจระดับฮอร์โมน hCG ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่บ่งชี้การตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ที่มีระดับฮอร์โมน hCG ไม่ปกติ มักมีแนวโน้มที่จะตั้งครรภ์นอกมดลูก
    • การเจาะ cul-de-sac ผ่านทางช่องคลอด (Culdocentesis) ในกรณีที่สงสัยว่าท่อนำไข่ฉีกขาดจากการตั้งครรภ์นอกมดลูก แต่วิธีนี้มักไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน

    หญิงที่มีความเสี่ยงปานกลางหรือเสี่ยงสูงที่จะตั้งครรภ์นอกมดลูกหรือหญิงที่ทำเด็กหลอดแก้ว แพทย์จะทำการตรวจอัลตราซาวด์และทำการตรวจเลือดเพื่อเฝ้าระวังการตั้งครรภ์นอกมดลูกตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

    การรักษา

    ทันทีที่ตรวจพบว่าตั้งครรภ์นอกมดลูก แพทย์จำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายจนถึงแก่ชีวิต

    การใช้ยาเมโธเทรกเซท (Methotrexate)

    ยาเมโธเทรกเซท (Methotrexate) เหมาะสำหรับหญิงตั้งครรภ์นอกมดลูกบางกรณี เช่น hCG ต่ำ ยังไม่พบการแตกของท่อนำไข่เป็นต้น ราว 1 ใน 3 ของหญิงตั้งครรภ์นอกมดลูกนั้นได้รับการรักษาด้วยการฉีดยาเมโธเทรกเซท และอัตราความสำเร็จอยู่ที่ 95% หลังได้รับการฉีดยา อาจรู้สึกปวดท้อง แพทย์อาจสั่งยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการปวด ไม่ควรรับประทานยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ เช่น ไอบูโพรเฟนร่วมกับการฉีดยาเมโธเทรกเซทเนื่องจากอาจเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ แพทย์จะทำการตรวจระดับฮอร์โมน hCG จนกว่าจะตรวจไม่พบฮอร์โมนดังกล่าว หรืออาจทำการฉีดยาเมโธเทรกเซทเพิ่มอีกครั้ง

    การผ่าตัด

    แพทย์จะทำการผ่าตัดหากท่อนำไข่ฉีกขาดหรือหญิงตั้งครรภ์ไม่สามารถมาพบแพทย์หลังการฉีดยาเมโธเทรกเซทครั้งแรกได้ แพทย์จะทำการผ่าตัดเปิดหน้าท้องหรือส่องกล้องผ่าตัดเพื่อนำตัวอ่อนที่ฝังตัวนอกมดลูกออกและซ่อมแซมท่อนำไข่ ในบางกรณี แพทย์อาจตัดท่อนำไข่ออกเนื่องจากเคยตั้งครรภ์ที่ท่อนำไข่มาก่อนหรือท่อนำไข่ได้รับความเสียหายมาก เลือดออกมาก หลังการผ่าตัดระดับฮอร์โมน hCG อาจยังสูงเนื่องจากเนื้อเยื่อตัวอ่อนที่หลงเหลืออยู่ แพทย์จึงอาจให้ฉีดยาเมโธเทรกเซทด้วย

    การป้องกันการท้องนอกมดลูก

    การตั้งครรภ์นอกมดลูกนั้นป้องกันไม่ได้ แต่ก่อนตั้งครรภ์สามารถปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยงที่มีได้ ซึ่งอาจลดความเสี่ยงของการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้โดยมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อุ้งเชิงกรานและโรคทางเพศสัมพันธ์ ปรึกษาแพทย์ก่อนตั้งครรภ์

    คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

    • หากพบว่าตั้งครรภ์นอกมดลูก ยังสามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้หรือไม่
      เมื่อพบว่าตั้งครรภ์นอกมดลูก จำเป็นยุติการตั้งครรภ์เนื่องจากเป็นการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติและเพื่อความปลอดภัยของหญิงตั้งครรภ์
    • หลังยุติการตั้งครรภ์นอกมดลูก สามารถตั้งครรภ์ได้อีกหรือไม่
      หลังยุติการตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์สามารถตั้งครรภ์ได้อีกครั้ง แต่ควรปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยงต่าง ๆ
    • หลังยุติการตั้งครรภ์นอกมดลูก ต้องรอนานเท่าไรถึงจะตั้งครรภ์ได้อีกครั้ง
      โดยปกติแล้วจะแนะนำให้รอประมาณ 3 เดือน เพื่อให้ท่อนำไข่มีเวลาพักฟื้นและลดความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์นอกมดลูกซ้ำ อย่างไรก็ตามแพทย์จะประเมินสถานการณ์ของผู้ป่วยแต่ละคนและแนะนำช่วงเวลาที่เหมาะสม
    • หากตัดท่อนำไข่ออกไปแล้วยังสามารถตั้งครรภ์ได้อีกหรือไม่
      ปกติแล้วผู้หญิงมีท่อนำไข่ 2 ข้าง ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดนำท่อนำไข่ออกไปหนึ่งข้างยังสามารถตั้งครรภ์ได้ตามธรรมชาติ หากท่อนำไข่ถูกตัดออกไปทั้ง 2 ข้าง อาจอาศัยการทำเด็กหลอดแก้วเพื่อช่วยในการตั้งครรภ์ได้ เนื่องจากการทำเด็กหลอดแก้วไม่จำเป็นต้องอาศัยท่อนำไข่

    Ectopic Pregnancy-ตรวจเช็คภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูกInfographic Th

    บทความโดย

    เผยแพร่เมื่อ: 25 ก.ค. 2023

    แชร์

    แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ศักนัน มะโนทัย

    ผศ.นพ. ศักนัน มะโนทัย

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    รศ.นพ. ธีระพงศ์ เจริญวิทย์

    รศ.นพ. ธีระพงศ์ เจริญวิทย์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    พญ. ศศิวรรณ สุทัสน์มาลี

    พญ. ศศิวรรณ สุทัสน์มาลี

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    นพ. นพดล ไชยสิทธิ์

    นพ. นพดล ไชยสิทธิ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    พญ. กมลภัทร วิจักขณ์พันธ์

    พญ. กมลภัทร วิจักขณ์พันธ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    พญ. มัฏฐวัณณ์ จามิกร

    พญ. มัฏฐวัณณ์ จามิกร

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    พญ. ศรพิณ อามาตย์ทัศน์

    พญ. ศรพิณ อามาตย์ทัศน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    รศ.นพ. บุญชัย เอื้อไพโรจน์กิจ

    รศ.นพ. บุญชัย เอื้อไพโรจน์กิจ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ธีระภัทร เจริญวิทย์

    ผศ.นพ. ธีระภัทร เจริญวิทย์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine, Fetal Anomalies, Fetal Cardiology