เลือกหัวข้อที่อ่าน
- จอประสาทตาลอก
- จอประสาทตาลอก มีอาการอย่างไร
- จอประสาทลอก มีสาเหตุจากอะไร
- ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดจอประสาทตาลอก
- จอประสาทตาลอก มีการวินิจฉัยอย่างไร
- จอประสาทตาลอก มีวิธีการรักษาอย่างไร
จอประสาทตาลอก
จอประสาทตาลอกเป็นภาวะที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน จากการที่จอประสาทตาซึ่งเป็นชั้นเนื้อเยื่อบาง ๆ ที่ด้านหลังของตาหลุดออกจากตำแหน่งเดิม เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้เซลล์จอตาและหลอดเลือดที่ทำหน้าที่ให้ออกซิเจนและสารหล่อเลี้ยงเกิดการแยกจากกัน จอประสาทตาลอกที่ไม่ได้รับการรักษาอาจไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรในดวงตาที่มีปัญหา ผู้ที่มีจอประสาทตาลอกอาจมีลักษณะเห็นเงา และมีอาการกะพริบตาถี่ พร้อมกับการมองเห็นที่ลดลงแนะนำให้พบจักษุแพทย์ในทันที
จอประสาทตาลอก มีอาการอย่างไร
ภาวะจอประสามตาลอกนั้นมักไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดนี้ แต่อาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้
- การมองเห็นภาพซ้อน
- การมองเห็นแสงจ้า หรือแสงกะพริบในตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง
- การมองเห็นโดยอ้อม หรือการมองเห็นที่นอกเหนือจากจุดกึ่งกลางของภาพลดลงเรื่อย ๆ
- การมองเห็นเงาคล้ายม่านเหนือลานสายตา
- การมองเห็นเงาอย่างกะทันหัน หรือเกิดจุดเล็ก ๆ ลอยผ่าน
เมื่อไหร่จึงควรพบแพทย์
เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร ควรต้องพบแพทย์ทันทีหากเกิดสัญญาณหรืออาการใดใดของภาวะจอประสาทตาลอก
จอประสาทลอก มีสาเหตุจากอะไร
สาเหตุของภาวะจอประสาทตาลอกได้แก่
- จอประสาทตาลอกชนิดที่เกิดจากรูหรือรอยฉีกขาดที่จอประสาทตา จอประสาทตาลอกที่เกิดจากรูหรือรอยฉีกขาดที่จอประสาทตา เป็นสาเหตุของภาวะจอประสาทตาลอกที่พบบ่อยที่สุด เมื่อจอประสาทตาถูกดึงออกจากเนื้อเยื่อที่อยู่ข้างใต้ก่อให้เกิดรูหรือร่องรอยฉีกขาด ซึ่งทำให้ของเหลวไหลผ่านและรวมตัวกันอยู่ใต้จอประสาทตา ทำให้จอประสาทตาขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงและไม่สามารถทำงานได้ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นในที่สุด น้ำวุ้นตาซึ่งเป็นวัสดุคล้ายเจลภายในดวงตาอาจเปลี่ยนแปลงไปตามวัย และเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลว การฉีกขาดอาจเป็นภาวะแทรกซ้อนของการแยกตัวระหว่างน้ำวุ้นตาและจอประสาทตา
- จอประสาทตาลอกชนิดที่เกิดจากการดึงรั้ง ภาวะจอประสาทตาลอกประเภทนี้เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อแผลเป็นเกิดการก่อตัวขึ้นบนพื้นผิวของจอประสาทตา โดยมักพบในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมได้ไม่ดีหรือภาวะอื่น ๆ
- จอประสาทตาลอกชนิดไม่มีรูขาด ภาวะจอประสาทตาลอกชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อเกิดของเหลวสะสมอยู่ใต้จอประสาทตา แต่ไม่มีรูหรือรอยฉีกขาด โดยอาจเกิดจากการบาดเจ็บที่ตา เนื้องอก ความผิดปกติจากการอักเสบหรือการเสื่อมสภาพตามวัย
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดจอประสาทตาลอก
ความเสี่ยงของการเกิดภาวะจอประสาทตาลอกอาจเพิ่มขึ้นจากปัจจัยดังต่อไปนี้
- ความชรา
- ประวัติครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับภาวะจอประสาทตาลอก
- ผู้ที่มีภาวะสายตาสั้น หรือสั้นมาก
- ภาวะจอประสาทตาลอกที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้
- อาการบาดเจ็บรุนแรงที่ดวงตา
- ปัญหาสายตาอื่น ๆ
จอประสาทตาลอก มีการวินิจฉัยอย่างไร
แพทย์อาจทำการทดสอบเครื่องมือและขั้นตอนต่างๆเพื่อตรวจสอบการปลดจอประสาทตา ได้แก่ :
- การตรวจจอประสาทตา แพทย์อาจตรวจสอบรายละเอียดของตาทั้งสองข้าง รวมถึงรูม่านตา รอยฉีกขาด หรือการหลุดลอกของจอประสาทตา
- การถ่ายภาพอัลตราซาวนด์ แพทย์อาจใช้การทดสอบนี้หากมีเลือดออกในตา
จอประสาทตาลอก มีวิธีการรักษาอย่างไร
การรักษาอาจแตกต่างกันไปตามสภาพของแต่ละบุคคล
- การรักษาอาการฉีกขาดของจอประสาทตา ทในผู้ป่วยที่ยังไม่เกิดรูหรือการฉีกขาดที่ม่านตาแพทย์อาจแนะนำวิธีการที่ไม่ซับซ้อนและรวดเร็ว ได้แก่
- การยิงแสงเลเซอร์ไปที่ผิวจอประสาทตา (Photocoagulation หรือ Laser surgery)
- การใช้ความเย็นจี้บริเวณที่มีการฉีกขาดของจอตา (Cryopexy)
- การรักษาจอประสาทตาที่ลอกออก ในกรณีที่จอตาหลุดออกไปแล้ว คุณอาจต้องได้รับการผ่าตัดภายในไม่กี่วันหลังจากได้รับการวินิจฉัย ประเภทของการผ่าตัดขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการของแต่ละบุคคล ขั้นตอนอาจรวมถึง
- การฉีดแก๊ส (Pneumatic Retinopexy) ขั้นตอนนี้เป็นการฉีดอากาศหรือก๊าซเข้าตา จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือการหยุดการไหลของของเหลวที่เข้าไปในช่องว่างหลังจอประสาทตา
- การผ่าตัดรัดลูกตาด้วยยาง (Scleral procedure) ขั้นตอนนี้กระทำเพื่อบรรเทาผลของการไหลของน้ำวุ้นตาที่จอประสาทตา
- การผ่าตัดวุ้นตา ขั้นตอนนี้ดำเนินการเพื่อระบายและเปลี่ยนของเหลวในตา
การเตรียมตัวเพื่อพบแพทย์
ก่อนการนัดหมายแนะนำให้เตรียมข้อมูลดังต่อไปนี้
- รายการอาการของคุณ
- จดบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญของคุณ
- ระวังข้อจำกัดใด ๆ ที่อาจจำเป็นก่อนการนัดหมาย
- ระบุคำถามที่คุณต้องการถามแพทย์
ในระหว่างการปรึกษาแพทย์อาจถามคำถามบางอย่างรวมถึงข้อมูลเช่น
- อาการของคุณ
- จุดเริ่มต้นของอาการ
- ความรุนแรงของอาการ
- ประสบการณ์การบาดเจ็บที่ตา การอักเสบของตา หรือการผ่าตัดตาก่อนหน้านี้
- เงื่อนไขทางการแพทย์อื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน
- ประวัติภาวะจอประสาทตาลอกของสมาชิกในครอบครัว