ขั้นตอนและความเสี่ยงของการตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอด - Transvaginal Ultrasound

อัลตราซาวด์ช่องคลอด (Transvaginal Ultrasound)

การอัลตราซาวด์ช่องคลอด คือการตรวจโดยการใช้หัวตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงขนาดเล็กสอดเข้าในช่องคลอด เพื่อสร้างภาพภายในอุ้งเชิงกราน ซึ่งรวมถึงปากมดลูก มดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่ มีประสิทธิภาพในการตรวจวินิจฉัยโครงสร้างอวัยวะภายใน

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


อัลตราซาวด์ช่องคลอด คืออะไร?

การอัลตราซาวด์ช่องคลอด (Transvaginal Ultrasound) เป็นการตรวจโดยการใช้หัวตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงขนาดเล็กสอดเข้าในช่องคลอด เพื่อสร้างภาพภายในอุ้งเชิงกราน ซึ่งรวมถึงปากมดลูก มดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่ มีประสิทธิภาพในการตรวจวินิจฉัยโครงสร้างอวัยวะภายในหรือตรวจหาความผิดปกติภายในอุ้งเชิงกราน นอกจากนี้การอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดยังช่วยยืนยันและติดตามการตั้งครรภ์ได้

เมื่อไรที่ควรเข้ารับการตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอด?

หากมีอาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานหรือมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด แพทย์อาจให้เข้ารับการอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด เพื่อดูว่ามีถุงน้ำ เนื้องอก ติ่งเนื้อ การติดเชื้อ หรือรอยโรคของมะเร็งหรือไม่ การอัลตราซาวด์ช่องคลอดยังช่วยหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก และสัญญาณเตือนของการตั้งครรภ์นอกมดลูกหรือการแท้งบุตรได้อีกด้วย

ในผู้หญิงตั้งครรภ์ แพทย์จะทำการตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอด ในหลายช่วงไตรมาสของการตั้งครรภ์ เพื่อช่วยเรื่องต่อไปนี้

  • ตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอดเพื่อยืนยันการตั้งครรภ์
  • ตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอดเพื่อยืนยันการตั้งครรภ์ในมดลูก และช่วยวินิจฉัยการตั้งครรภ์นอกมดลูก
  • ตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอดเพื่อตรวจการเต้นของหัวใจของตัวอ่อน
  • ตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอดเพื่อตรวจปากมดลูก ค้นหาความเสี่ยงของการแท้งบุตร หรือ คลอดก่อนกำหนด
  • ตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอดเพื่อตรวจรกและตำแหน่งของรก เพื่อค้นหาความเสี่ยงของภาวะรกเกาะต่ำ 
  • ตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอดเพื่อตรวจหาความผิดปกติของมดลูกและรังไข่ในขณะตั้งครรภ์

เมื่อไรที่ควรเข้ารับการตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอด - When is a transvaginal ultrasound performed?

ข้อห้ามและความเสี่ยงของการตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอดมีอะไรบ้าง?

การอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดนั้นปลอดภัย เพราะเป็นเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในการสร้างภาพภายในอุ้งเชิงกราน ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อแม่และทารกในครรภ์ ผู้เข้ารับการตรวจบางรายอาจรู้สึกไม่สบายตัว หรือรู้สึกถึงแรงกดขณะตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอด หรืออาจมีตกขาวออกมาบ้าง แต่อาการเหล่านี้มักหายได้เองภายใน 24 ชั่วโมง

การอัลตราซาวด์ช่องคลอดสามารถทำได้ในระหว่างที่มีประจำเดือนหรือระหว่างตั้งครรภ์ แต่การตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอดที่เรียกว่า Sonohysterography ซึ่งเป็นการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ร่วมกับฉีดของเหลวเข้าไปในโพรงมดลูกผ่านทางปากมดลูกนั้น ไม่แนะนำให้ทำในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หรือผู้ที่มีภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ

อัลตราซาวด์ช่องคลอด มีขั้นตอนอะไรบ้าง?

ก่อนอัลตราซาวด์ช่องคลอด

ผู้เข้ารับการตรวจไม่ต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนเข้ารับการตรวจ แต่ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ว่าควรมาถึงจุดตรวจโดยปัสสาวะทิ้งให้หมดเสียก่อน หรือให้กลั้นปัสสวะไว้จนรู้สึกปวดปัสสาวะปานกลางหรือมาก ก่อนเข้ารับการตรวจ

ระหว่างอัลตราซาวด์ช่องคลอด

ผู้เข้ารับการตรวจจะนอนหงาย โดยให้ขาทั้งสองข้างพาดขาหยั่ง แพทย์จะทำการสอดหัวตรวจ transducer ที่ถูกคลุมด้วยถุงยางอนามัยและทาเจลหล่อลื่นแล้ว เข้าไปทางช่องคลอด เพื่อถ่ายภาพของอวัยวะภายในในมุมต่าง ๆ การตรวจนี้ไม่สร้างความเจ็บปวดใด ๆ แต่ผู้เข้ารับการตรวจอาจรู้สึกไม่สบายตัวเล็กน้อยขณะที่หัวตรวจอยู่ด้านใน โดยการตรวจจะใช้เวลา 15-60 นาที ในบางรายแพทย์อาจทำการอัลตราซาวด์ช่องท้องหรือ Sonohysterography เพิ่มเติมด้วย

หลังการตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอด

แพทย์จะอธิบายผลตรวจให้ผู้ป่วยทราบเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป หากผลการตรวจนั้นไม่อาจสรุปได้ แพทย์อาจให้เข้ารับการตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดเป็นระยะ ๆ หรือตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอด

  • การอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดต่างจากการอัลตราซาวด์ทางหน้าท้องอย่างไร?
    การอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดสามารถถ่ายภาพอวัยวะและเนื้อเยื่อภายในอุ้งเชิงกรานได้ละเอียดกว่าการอัลตราซาวด์ทางหน้าท้อง แต่ในรายที่ไม่สามารถทำการอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดได้ เช่น หญิงตั้งครรภ์ที่รกเกาะต่ำที่มีเลือดออก ผู้ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ แพทย์จะทำการอัลตราซาวด์ทางหน้าท้องหรืออัลตราซาวด์ทางทวารหนักแทน

คำแนะนำจากแพทย์โรงพยาบาลเมดพาร์ค

การอัลตราซาวด์ช่องคลอด เป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยที่มีความปลอดภัย และมีความเสี่ยงต่ำ ซึ่งช่วยตรวจหาสาเหตุของปัญหาทางนรีเวชและการตั้งครรภ์ มีประโยชน์ในการวางแผนรักษาที่ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพต่อไป

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 06 ก.พ. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. นพดล ไชยสิทธิ์

    นพ. นพดล ไชยสิทธิ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ธีระภัทร เจริญวิทย์

    ผศ.นพ. ธีระภัทร เจริญวิทย์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine, Fetal Anomalies, Fetal Cardiology
  • Link to doctor
    พญ. ศรพิณ อามาตย์ทัศน์

    พญ. ศรพิณ อามาตย์ทัศน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    รศ.นพ. ธีระพงศ์ เจริญวิทย์

    รศ.นพ. ธีระพงศ์ เจริญวิทย์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    พญ. มัฏฐวัณณ์ จามิกร

    พญ. มัฏฐวัณณ์ จามิกร

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    พญ. กมลภัทร วิจักขณ์พันธ์

    พญ. กมลภัทร วิจักขณ์พันธ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    รศ.นพ. บุญชัย เอื้อไพโรจน์กิจ

    รศ.นพ. บุญชัย เอื้อไพโรจน์กิจ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    พญ. ศศิวรรณ สุทัสน์มาลี

    พญ. ศศิวรรณ สุทัสน์มาลี

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ศักนัน มะโนทัย

    ผศ.นพ. ศักนัน มะโนทัย

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine