Thyroid Cancer

รักษามะเร็งไทรอยด์ และต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ด้วยการกลืนแร่ไอโอดีน-131 (I-131)

การกลืนแร่ไอโอดีน-131 เป็นสารกัมมันตรังสีชนิดหนึ่งของธาตุไอโอดีน ซึ่งต่อมไทรอยด์สามารถดูดซึมได้โดยธรรมชาติ เนื่องจากต่อมไทรอยด์ใช้ไอโอดีนในการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ เมื่อกลืนไอโอดีน-131 สารนี้จะถูกดูดซึมเข้าสู่ต่อมไทรอยด์และไปทำลายเซลล์

แชร์

รักษามะเร็งไทรอยด์ และต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ด้วยการกลืนแร่ไอโอดีน-131 (I-131)

มะเร็งต่อมไทรอยด์ และภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ เป็นโรคที่พบได้บ่อย และสามารถรักษาได้หลายวิธี หนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพและได้รับความนิยม คือการรักษาด้วย การกลืนแร่ไอโอดีน-131 (Iodine-131 หรือ I-131)

ไอโอดีน-131 (I-131) คืออะไร? ทำไมใช้รักษาโรคต่อมไทรอยด์

ไอโอดีน-131 เป็นสารกัมมันตรังสีชนิดหนึ่งของธาตุไอโอดีน ซึ่งต่อมไทรอยด์สามารถดูดซึมได้โดยธรรมชาติ เนื่องจากต่อมไทรอยด์ใช้ไอโอดีนในการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ เมื่อกลืนไอโอดีน-131 สารนี้จะถูกดูดซึมเข้าสู่ต่อมไทรอยด์และไปทำลายเซลล์ที่ผิดปกติหรือเซลล์มะเร็งของต่อมไทรอยด์ โดยมีผลกระทบต่อเซลล์ปกติในร่างกายน้อยมาก

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังการรักษาด้วยไอโอดีน-131

การรักษาด้วยไอโอดีน-131 มีความปลอดภัยสูง แต่ผู้ป่วยบางรายอาจพบผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • บวมบริเวณคอจากการอักเสบของต่อมไทรอยด์
  • อ่อนเพลีย เมื่อยล้า 
  • คอแห้ง เจ็บคอ หรือน้ำลายลดลง
  • ต่อมน้ำลายอักเสบชั่วคราว

อาการเหล่านี้มักเป็นเพียงชั่วคราว และสามารถหายได้เองในเวลาไม่นาน ซึ่งแพทย์จะให้คำแนะนำเพิ่มเติม

Thyroid Cancer 2

การเตรียมตัวสำหรับการรักษาด้วยไอโอดีน-131

เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพและปลอดภัย ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ดังนี้

การปฏิบัติตัวก่อนการรักษา

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารทะเลและอาหารที่มีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบ ก่อนการรักษา 1-2 สัปดาห์ (สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในบทความ อาหารไอโอดีนต่ำ)
  • แจ้งแพทย์หากมีการใช้ยาอื่น เพื่อปรับการใช้ยาให้เหมาะสม

การปฏิบัติตัวระหว่างการรักษา

  • รับประทาน ไอโอดีน-131 ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบแคปซูลหรือของเหลว ใช้เวลาไม่นาน และไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ
  • อาจต้องพักรักษาในห้องแยกพิเศษที่โรงพยาบาล ประมาณ 3 วัน เพื่อป้องกันการแผ่รังสีสู่บุคคลรอบข้าง

การปฏิบัติตัวหลังการรักษา

  • หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้อื่น โดยเฉพาะเด็กเล็กและหญิงตั้งครรภ์ เป็นเวลา 7-14 วัน
  • ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยขับสารรังสีออกจากร่างกาย
  • ล้างมือบ่อยๆ และรักษาสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด

การตรวจติดตามผลหลังการรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

สำหรับมะเร็งต่อมไทรอยด์ แพทย์จะนัดตรวจติดตามผลเป็นระยะเพื่อประเมินผลการรักษาและตรวจการกลับมาเป็นซ้ำของโรค ในช่วง 6 เดือน ถึง 1 ปีหลังรักษา โดยมักจะทำการตรวจติดตาม ดังนี้

  • ตรวจเลือดเพื่อวัดระดับฮอร์โมนไทรอยด์
  • ถ่ายภาพทางรังสีทั้งร่างกาย (Whole body Scan I-131) ด้วยเครื่อง SPECT/CT หรือ Gamma camera 
  • อัลตราซาวน์บริเวณคอ (Ultrasound neck)
  • อาจตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพิ่มเติมตามดุลยพินิจของแพทย์

รังสีจากไอโอดีน-131 มีผลต่อร่างกายอย่างไร ปลอดภัยหรือไม่

หลังการกลืนไอโอดีน-131 ร่างกายของผู้ป่วยจะปล่อยรังสีออกมาในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งรังสีนี้จะทำลายเฉพาะเซลล์ของต่อมไทรอยด์ที่ดูดซับแร่ไว้ โดยมีผลต่อเนื้อเยื่อหรืออวัยวะอื่นน้อย เนื่องจากไอโอดีน-131 ส่วนใหญ่จะถูกดูดซึมโดยต่อมไทรอยด์

อย่างไรก็ตาม รังสีบางส่วนสามารถกระจายออกนอกร่างกายผ่านทางเหงื่อ น้ำลาย ปัสสาวะ และอุจจาระ โดยเฉพาะในช่วง 48 ชั่วโมงแรกหลังการรักษา จึงจำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันเพื่อความปลอดภัยของบุคคลรอบข้าง เช่น การพักในห้องแยกพิเศษ และการเว้นระยะห่างจากผู้อื่น โดยเฉพาะเด็กเล็กและหญิงตั้งครรภ์

ร่างกายจะค่อย ๆ ขับสารรังสีออก และระดับรังสีจะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วง 1–2 สัปดาห์แรก ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด เช่น

  • ใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น (ถ้าเป็นไปได้) และกดน้ำทิ้ง 2 ครั้ง หลังใช้ทุกครั้ง
  • ดื่มน้ำมากๆ เพื่อเร่งการขับสารรังสีออกทางปัสสาวะ
  • ล้างมือบ่อยๆ และหลีกเลี่ยงการใช้ของใช้ร่วมกับผู้อื่น
  • นอนแยกจากผู้อื่นและหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกันเป็นเวลา ประมาณ 7–14 วัน

ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับผลกระทบในระยะยาว เนื่องจากรังสีจะลดลงอย่างรวดเร็ว และแพทย์ผู้รักษาจะประเมินความเหมาะสมของขนาดยาและให้คำแนะนำด้านความปลอดภัยอย่างรอบคอบในแต่ละกรณี

ดังนั้นการรักษาด้วยไอโอดีน-131 เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยสูง หากท่านมีข้อสงสัย กรุณาติดต่อ ศูนย์เวชศาสตร์นิวเคลียร์ ชั้น 6 เคาน์เตอร์ A โทร. 02-0903079 ตั้งแต่ 8.00-16.00 น. หรือติดต่อผ่านทางอีเมล nuclearmedicine@medparkhospital.com

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 16 พ.ค. 2025

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. ธวัชชัย ชัยวัฒนรัตน์

    นพ. ธวัชชัย ชัยวัฒนรัตน์

    • เวชศาสตร์นิวเคลียร์
    Nuclear Medicine
  • Link to doctor
    รศ.พญ. คนึงนิจ กิ่งเพชร

    รศ.พญ. คนึงนิจ กิ่งเพชร

    • เวชศาสตร์นิวเคลียร์
    Nuclear Medicine
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. คานัน สุขพระคุณ

    ผศ.นพ. คานัน สุขพระคุณ

    • เวชศาสตร์นิวเคลียร์
    Nuclear Medicine
  • Link to doctor
    ศ.พญ. สุภัทรพร เทพมงคล

    ศ.พญ. สุภัทรพร เทพมงคล

    • เวชศาสตร์นิวเคลียร์
    Nuclear Medicine