ซีเซียม-137 แร่กัมมันตรังสีที่เคยใช้ประโยชน์ในแวดวงการแพทย์ อันตรายหรือไม่ - Cesium-137: Is this radioactive substance, once widely used in medical circles, dangerous?

ซีเซียม-137 แร่กัมมันตรังสีที่เคยใช้ประโยชน์ในแวดวงการแพทย์ อันตรายหรือไม่

ซีเซียม-137 เป็นหนึ่งในแร่กัมมันตรังสีแวดวงการแพทย์ และโรงงานอุตสาหกรรมนำมาใช้ประโยชน์จากรังสีที่แร่ชนิดนี้แผ่ออกมา เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะทางแตกต่างกันไปขึ้นชื่อว่ากัมมันตรังสี

แชร์

ซีเซียม-137 (Cesium-137) แร่กัมมันตรังสีที่เคยใช้ประโยชน์ในแวดวงการแพทย์ อันตรายหรือไม่ 

ซีเซียม-137 เป็นหนึ่งในแร่กัมมันตรังสีแวดวงการแพทย์ และโรงงานอุตสาหกรรมนำมาใช้ประโยชน์จากรังสีที่แร่ชนิดนี้แผ่ออกมา เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะทางแตกต่างกันไป แต่ขึ้นชื่อว่ากัมมันตรังสี ย่อมมีข้อบ่งใช้และข้อควรระวัง นายแพทย์ยงยุทธ คงธนารัตน์ แพทย์เฉพาะทางด้านรังสีรักษามะเร็งวิทยา ได้มาให้ข้อมูลเพื่อให้เรารู้จักแร่ซีเซียม-137 มากขึ้น

รู้จักรังสีซีเซียม-137 

ซีเซียม-137 (Cesium-137) คือ สารกัมมันตรังสี มีลักษณะเป็นโลหะอ่อนมาก ปล่อยรังสีแกมมา และเบต้าออกมา เป็นรังสีแบบเดียวเอกซเรย์ แต่มีประสิทธิภาพในการทะลุทะลวงผ่านมากกว่าประมาณ 4 เท่า สามารถนำมาใช้ทางการแพทย์ในแง่ของการรักษามะเร็งปากมดลูก สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม สามารถใช้ในการวินิจฉัยปริมาณเชิงอุตสาหกรรมได้ อาทิ ปริมาณน้ำไหล ปริมาณฝุ่นละออง

แร่นี้สามารถแผ่รังสีออกมาตลอดเวลา มีอายุการใช้งานยาวนาน โดยมีครึ่งชีวิตสูงถึง 30.17 ปี จึงมีราคาถูก เพราะซื้อมาแล้วสามารถใช้งานได้นานมากโดยไม่ต้องเปลี่ยน

ที่เมดพาร์ค มีการใช้แร่ชนิดนี้หรือไม่

ในโรงพยาบาลต่าง ๆ เมื่อประมาณ 30 กว่าปีที่แล้ว มีการใช้แร่ซีเซียม-137 ในการรักษาโรคมะเร็งโดยใช้ในเครื่องใส่แร่ เพราะอายุการใช้งานนาน ตามข้อดีของแร่ที่กล่าวไปข้างต้น

ข้อเสียของซีเซียม-137 คือไม่สามารถทำให้แร่มีขนาดเล็กโดยมีปริมาณรังสีสูงได้ ทำให้ประสิทธิภาพการรักษาโรคมะเร็งอยู่ในขอบเขตที่จำกัด และใช้เวลาในการฝังแร่นานเป็นวัน ซึ่งขณะนั้นสามารถรักษาได้เพียงมะเร็งปากมดลูกเท่านั้น

ในปัจจุบัน ทางการแพทย์เปลี่ยนมาใช้แร่อิริเดียม-192 ในการรักษามะเร็ง เพราะเป็นแร่ที่ทำให้มีขนาดเล็กมาก ๆ ได้ สามารถใส่เข้าไปในทุกอวัยวะของร่างกายได้ และเพิ่มความเข้มข้นของรังสีได้มาก การรักษามะเร็งจึงมีประสิทธิภาพ และรักษามะเร็งได้หลายชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่เนื่องจากมีรายละเอียดในการใช้เพื่อการรักษาค่อนข้างซับซ้อน จึงต้องใช้บุคลากรที่มีความชำนาญจำนวนมาก ซึ่งในปัจจุบัน มีสถาบันเพียงไม่กี่แห่งในโลก ที่สามารถให้บริการได้ และเมดพาร์ค คือหนึ่งในโรงพยาบาลที่ทำได้

Cesium 137 Banner 3

เมดพาร์ค ใช้อิริเดียม-192 เพื่อประสิทธิภาพการรักษาที่ดีที่สุด

โรงพยาบาลเมดพาร์ค ใช้เครื่องฝังแร่รุ่นใหม่ และใช้แร่อิริเดียม-192 ในการรักษามะเร็ง โดยในปัจจุบัน ผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกมีจำนวนลดลงตามลำดับ เพราะเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ การรักษาด้วยวิธีนี้จึงนำมาใช้ได้ดีกับโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ที่เริ่มมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย ซึ่งเทคโนโลยีที่เมดพาร์คมี สามารถรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด มีอัตราการรักษาหายเทียบเท่าการผ่าตัดโดยไม่ต้องผ่าตัด ผู้ป่วยจึงไม่เจ็บ และไม่ต้องนอนโรงพยาบาลนาน 

และในทุกกระบวนการได้รับการดูแลโดยทีมแพทย์และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ แม้การรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีความละเอียดอ่อน ซับซ้อนเพียงใด ก็สามารถให้บริการได้อย่างเต็มศักยภาพ เรียกได้ว่า พร้อมทั้งเทคโนโลยีและบุคลากร

Cesium 137 Banner 2

หากสัมผัสโดนซีเซียม-137 จะส่งผลต่อร่างกายอย่างไร

แร่ซีเซียม-137 เป็นแร่ที่ได้รับการควบคุมโดยสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ การนำมาใช้งานในปัจจุบันจึงมีความปลอดภัย หากมีเหตุไม่คาดคิด สูญหาย ถูกขโมย แร่ที่ยังอยู่ในโลหะบรรจุจึงไม่ฟุ้งกระจายได้ง่าย ๆ  

ในกรณีที่มีการรั่วไหล แทบไม่มีโอกาสที่จะทำให้ผู้สัมผัสเสียชีวิตทันที เพราะเป็นแร่ที่ทำให้มีความเข้มข้นมากไม่ได้ตามที่กล่าวไป แต่มีโอกาสที่จะก่อให้เกิดผื่นคันตามผิวหนังได้ 

ทั้งนี้ ความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับระยะห่างระหว่างมนุษย์กับแร่ ระยะเวลาที่สัมผัสกับแร่ และปริมาณของแร่ ในกรณีที่ได้รับปริมาณรังสีรุนแรงจริง ๆ อาจก่อให้เกิดความผิดปกติต่อร่างกายในระดับพันธุกรรม แต่ไม่มีอันตรายถึงชีวิต เช่นเดียวกับการสัมผัสแร่ที่มีปริมาณแร่สูงมาก ๆ อย่างแร่โคบอลต์ (Cobalt)

ข้อแนะนำ หากมีการสูญหาย หรือรั่วไหลของแร่ซีเซียม-137 

ซีเซียม-137 เป็นแร่ที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์เป็นระยะเวลานาน จึงมีกระบวนการและวิธีจัดการที่มีมาตรฐาน ปลอดภัย ไม่น่ากลัว เพียงแต่การเก็บรักษาและการใช้งาน ต้องมีความรัดกุม และเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด หากมีการสูญหาย รั่วไหล ผู้ครอบครองมีหน้าที่แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทราบทันที เพื่อการจัดการ ติดตาม และแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว  ลดความเสี่ยงและความตื่นตระหนกที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน

ในด้านของประชาชน  ควรติดตามข่าวสารจากทางการ และปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ ตามแต่สถานการณ์และกรณีไป

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 18 ก.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    ผศ.พญ. วริศรา รงค์ทอง

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา