วิธีดู เครื่องสำอางหมดอายุ ใช้ต่ออาจทำให้ผิวระคายเคือง - How to check the expiration date of cosmetics Continued use may cause skin irritation.

เครื่องสำอางหมดอายุ ดูอย่างไร?

เครื่องสำอางเป็นสิ่งที่ผู้หญิงส่วนใหญ่นิยมใช้ทุก ๆ วัน เพื่อเสริมความงาม แต่หลายคนอาจละเลยไปว่าเครื่องสำอางก็มีวันหมดอายุ การใช้เครื่องสำอางหมดอายุ อาจก่อให้ผิวระคายเคืองได้

แชร์

เครื่องสำอางหมดอายุ

เครื่องสำอางเป็นสิ่งที่ผู้หญิงส่วนใหญ่นิยมใช้ทุก ๆ วัน เพื่อเสริมความงาม เพิ่มความมั่นใจให้กับตนเอง แต่หลายคนอาจมองข้ามไปว่าเครื่องสำอางก็มีวันหมดอายุเช่นกัน หากใช้เครื่องสำอางหมดอายุ อาจก่อให้เกิด อาการแพ้เครื่องสำอางได้

เครื่องสำอางหมดอายุดูอย่างไร?

โดยทั่วไปแล้วเครื่องสำอางจะระบุวันที่ ผลิต MFG/MFD (Manufacturing date) และวันหมดอายุ EXP/EXD (Expiry date) ไว้ที่บริเวณฝาหรือขวดผลิตภัณฑ์  นอกจากนี้ยังสังเกตได้จาก PAO (Period after opening) หมายถึง อายุการใช้งานหลังเปิดใช้งานผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะมีตัวเลขกำกับ เช่น 6M หมายถึง มีอายุการใช้งาน 6 เดือน หลังเปิดใช้งาน

เครื่องสำอางหมดอายุก่อนวันที่ระบุในฉลากข้างผลิตภัณฑ์ได้หรือไม่?

เครื่องสำอางที่ยังไม่ได้เปิดจะยังมีคุณภาพและคงวันหมดอายุตามที่ระบุในฉลากข้างผลิตภัณฑ์ แต่เมื่อมีการเปิดใช้งานแล้ว ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่อยู่ในเครื่องสำอางจะสัมผัสกับอากาศ ทำให้เครื่องสำอางเริ่มเสื่อมสภาพจนทำให้เครื่องสำอางอาจหมดอายุเร็วกว่าวันที่ระบุในฉลากข้างผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้การเก็บรักษาที่ไม่ถูกวิธีก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องสำอางหมดอายุเร็วกว่าวันที่ระบุในฉลากข้างผลิตภัณฑ์ได้

เครื่องสำอางหมดอายุยังสังเกตได้ด้วยการดูสีของเครื่องสำอางที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรองพื้นที่เก็บไว้นาน ๆ จะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation) ที่ทำให้สีของรองพื้นเปลี่ยน แต่สีของรองพื้นจะเปลี่ยนไปไม่มากนัก เช่น รองพื้นสีเบจ  ปกติจะมีสีขาวหรือสีครีมที่อมน้ำตาล แต่กลับมีสีคล้ายสีส้ม แสดงว่าหมดอายุแล้ว หรืออีกหนึ่งวิธีคือการดมกลิ่นเครื่องสำอาง เป็นวิธีที่ใช้ได้ดีกับรองพื้นและมาสคารา หากมีกลิ่นแปลก ๆ แตกต่างจากที่ซื้อมาครั้งแรก แสดงว่าหมดอายุแล้ว แต่สำหรับมาสคารา นอกจากการดมกลิ่นแล้ว การติดเชื้อบริเวณรอบดวงตาบ่อย ๆ หลังจากใช้มาสคารา อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกได้ว่ามาสคาราหมดอายุแล้วเช่นกัน

นอกจากนี้ สถานที่เก็บเครื่องสำอาง ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เครื่องสำอางหมดอายุก่อนวันที่ระบุในฉลากข้างผลิตภัณฑ์ เนื่องจากความร้อน หรือความชื้นจะทำให้เกิดเชื้อราและยีสต์ ดังนั้นจึงไม่ควรเก็บเครื่องสำอางไว้ในห้องน้ำที่มีความชื้น หรือมีไอน้ำ ควรเก็บในสถานที่แห้ง แดดส่องไม่ถึง หรือที่ที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 29 องศา ถึงแม้ว่าจากเครื่องสำอางมีส่วนผสมของสารกันบูด แต่ก็ไม่สามารถป้องกันเชื้อราได้ทั้งหมด ดังนั้นจะสังเกตวันหมดอายุในฉลากข้างผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่จะต้องพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย

Cosmetic Expire  Banner 2

เราใช้เครื่องสำอางหมดอายุได้หรือไม่?

เครื่องสำอางที่หมดอายุแล้วไม่ควรนำมาใช้ต่อเพราะอาจทำให้เกิดสิวอุดตัน ผิวระคายเคืองหรือรอยแดง เนื่องจากเครื่องสำอางที่หมดอายุแล้วจะมีการปนเปื้อนแบคทีเรียและเชื้อรา รวมไปถึงบรรจุภัณฑ์ อุปกรณ์ หรือแปรงต่าง ๆ ที่มีการสัมผัสกับเครื่องสำอางและไม่ได้ทำความสะอาดหลังใช้งาน หากนำมาใช้ต่อในครั้งถัดไปอาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังได้

เครื่องสำอางมีอายุการใช้งานเฉลี่ยเท่าไหร่?

โดยทั่วไปเครื่องสำอางจะมีอายุการใช้งานเฉลี่ย ดังนี้

  • มาสคาราและอายไลเนอร์ แบบน้ำ ใช้ได้ประมาณ 3 - 6  เดือน
  • คอนซีลเลอร์ แบบแท่งหรือแบบหลอด ควรใช้ให้หมดภายใน 6 เดือน
  • ครีมกันแดด หรือบลัชออน ควรเปลี่ยนทุก 6 - 12 เดือน กรณีครีมกันแดด เมื่อหมดอายุแล้ว ประสิทธิภาพในการกันแดดจะน้อยลง ซึ่งอาจจะทำให้ผิวไหม้เกรียมและเป็นอันตรายได้
  • ลิปสติก โดยทั่วไปมีอายุการใช้งานเฉลี่ย 1 - 2 ปี ลิปกลอสใช้ได้ประมาณ 6 - 12 เดือน
  • อายไลเนอร์แบบดินสอ เจล หรือดินสอสำหรับเขียนขอบปาก ใช้ได้ประมาณ 1 ปี
  • รองพื้นแบบน้ำ มีอายุการใช้งานเฉลี่ย 1 ปี รองพื้นแบบน้ำมันจะใช้ได้ประมาณ 18 เดือน  บรรจุภัณฑ์ที่ใช้บรรจุรองพื้นก็ถือเป็นปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการหมดอายุของเครื่องสำอางหมดอายุได้ โดยรองพื้นที่บรรจุในขวดแบบที่มีหัวปั๊มจะอยู่ได้นานกว่าขวดที่มีฝาแบบอื่น เพราะหัวปั๊มจะป้องกันไม่ให้เครื่องสำอางในขวดสัมผัสกับอากาศภายนอก
  • อายแชโดว์แบบครีม ควรเปลี่ยนทุก 6 เดือน แต่อายแชโดว์ชนิดผง สามารถใช้ได้ถึง 2 ปี
  • เครื่องสำอางชนิดผง หากเก็บในที่เหมาะสมไม่มีความชื้น สามารถใช้ได้นานถึง 2 ปี

Cosmetic Expire  Banner 3

เครื่องสำอางหมดอายุสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง?

  1. บริจาค เครื่องสำอางที่หมดอายุแล้วสามารถนำไปบริจาคได้ โดยบริจาคให้กับช่างแต่งหน้าที่รับแต่งหน้าให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว สามารถบริจาคให้กับโรงพยาบาลหรือมูลนิธิต่าง ๆ ที่เปิดรับบริจาค
  2. สร้างสรรค์งานศิลปะ เครื่องสำอางที่หมดอายุแล้ว อย่างเช่น บลัชออน อายแชโดว์หรือดินสอเขียนคิ้ว สามารถนำมาสร้างงานศิลปะได้ โดยใช้วาดภาพและระบายสี แต่ควรสวมถุงมือทุกครั้งที่ใช้เครื่องสำอางหมดอายุ เพราะเครื่องสำอางหมดอายุมีสารเคมีต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผิวหนังได้
  3. รีไซเคิล เครื่องสำอางบางชนิด จะมีลักษณะเป็นตลับหรือขวด ซึ่งเราสามารถล้างเอาเนื้อสารออกและทำความสะอาดเพื่อใช้งานอย่างอื่นได้ เช่น ตลับแป้งฝุ่นที่มีกระจก สามารถเอาเนื้อแป้งฝุ่นออก เช็ดทำความสะอาดและใช้งานกระจกต่อไปได้ หรือล้างทำความสะอาดขวดบรรจุภัณฑ์แล้วนำมาทำเป็นแจกันใส่ดอกไม้
  4. ทิ้ง หากไม่ต้องการใช้ต่อ ควรเก็บใส่ถุงและเขียนว่าขยะมีพิษ แล้วนำไปทิ้งในถังสำหรับขยะอันตราย 

การใช้เครื่องสำอางนอกจากต้องสังเกตวันหมดอายุของเครื่องสำอางแล้ว ในการเลือกซื้อเครื่องสำอางก็จำเป็นต้องดูรายละเอียดต่าง ๆ ให้ดีก่อนซื้อ รวมถึงแปรงหรืออุปกรณ์ที่ใช้คู่กับเครื่องสำอาง ต้องมีการทำความสะอาดและเก็บรักษาให้ดี ในกรณีที่ใช้เครื่องสำอางแล้วเกิดอาการแพ้ ควรหยุดใช้ทันทีไม่ว่าเครื่องสำอางจะหมดอายุแล้วหรือไม่ก็ตาม หากเกิดอาการแพ้รุนแรงควรไปพบแพทย์ผู้ชำนาญการด้านผิวหนังเพื่อรับการรักษาต่อไป

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 20 ก.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. กิตติพงศ์ วันถาวรประเสริฐ

    นพ. กิตติพงศ์ วันถาวรประเสริฐ

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังชนิดเอคซิม่า, โรคผิวหนังอักเสบ, โรคสะเก็ดเงิน, ตรวจรักษาโรคผิวหนังทั่วไป, ผ่าตัดเล็กบริเวณผิวหนัง, เลเซอร์รักษาผิวหนังหย่อนยาน, การใช้แสงเลเซอร์รักษาผมบาง, โรคผมบางจากพันธุกรรม, โรคผมร่วงชนิดทำให้เกิดแผลเป็น, โรคผมร่วงเฉียบพลัน, ผมร่วงแบบมีแผลเป็นบนหนังศีรษะ, โรคผมร่วงเรื้อรัง, โรคด่างขาว, เลเซอร์รักษาจุดด่างดำ, รอยสิว, การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น, การฉีด Botulinum Toxin
  • Link to doctor
    พญ. ณิชา รังสิมานนท์

    พญ. ณิชา รังสิมานนท์

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    เลเซอร์ผิวหนังด้านความงาม, การรักษาผิวหนังด้านความงาม, ตรวจรักษาโรคผิวหนังทั่วไป, ตจวิทยา โรคผิวหนัง, โรคเกี่ยวกับผมและเล็บ, ซีสต์ที่ผิวหนัง, ตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดมะเร็งผิวหนัง, รอยสิว, รักษาสิว, โรคสะเก็ดเงิน, โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง , ฝ้าและโรคของเม็ดสี, เลเซอร์รักษาจุดด่างดำ, โรคผิวหนังอักเสบ, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, โรคผื่นผิวหนังอักเสบจากผื่นแพ้สัมผัส, ผื่นแพ้สัมผัส, General Gyne Examination, โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังชนิดเอคซิม่า, โรคผมร่วงเฉียบพลัน, โรคผมร่วงเรื้อรัง, โรคและความผิดปกติเกี่ยวกับผม, ผมร่วงแบบมีแผลเป็นบนหนังศีรษะ, โรคผมร่วงชนิดทำให้เกิดแผลเป็น, โรคผมบางจากพันธุกรรม, การใช้แสงเลเซอร์รักษาผมบาง, เลเซอร์กระชับรูปร่าง, การดูแลกระชับเรือนร่าง, การฉีด Botulinum Toxin, การฉีดยารักษาเส้นเลือดขอด, การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น, เลเซอร์รักษาหลุมสิว, เลเซอร์รักษาผิวหนังหย่อนยาน, ผ่าตัดเล็กบริเวณผิวหนัง
  • Link to doctor
    พญ. ศุภกมล ฉัตรศุภกุล

    พญ. ศุภกมล ฉัตรศุภกุล

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    เลเซอร์รักษาหลุมสิว, เลเซอร์รักษาผิวหนังหย่อนยาน, ตรวจรักษาโรคผิวหนังทั่วไป, การฉีด Botulinum Toxin, การฉีดฟิลเลอร์, เส้นเลือดขอด, ผ่าตัดมะเร็งผิวหนังด้วยวิธีโมหส์ Mohs, ตรวจหาสารภูมิแพ้ผิวหนัง, ผ่าตัดเนื้องอกผิวหนัง
  • Link to doctor
    พญ. ชัชฎาภรณ์ ชุณหรัศมิ์

    พญ. ชัชฎาภรณ์ ชุณหรัศมิ์

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    เลเซอร์ผิวหนังด้านความงาม, เลเซอร์กระชับรูปร่าง, โรคผื่นผิวหนังอักเสบจากผื่นแพ้สัมผัส, ฝ้าและโรคของเม็ดสี, โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง , รักษาสิว, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, รอยสิว, โรคสะเก็ดเงิน, โรคด่างขาว, ตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดเล็กบริเวณผิวหนัง
  • Link to doctor
    พญ. นัทธมน บวรสถิตชัย

    พญ. นัทธมน บวรสถิตชัย

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    การรักษาเกี่ยวกับความงาม, รักษาสิว, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, รอยสิว, โรคสะเก็ดเงิน, โรคผิวหนังอักเสบ, โรคผิวหนังจากภูมิคุ้มกันตัวเอง, โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง , ตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดบริเวณผิวหนัง, ผ่าตัดมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดมะเร็งผิวหนังด้วยวิธีโมหส์ Mohs, ฝ้าและโรคของเม็ดสี, การดูแลกระชับเรือนร่าง, โรคผื่นผิวหนังอักเสบจากผื่นแพ้สัมผัส
  • Link to doctor
    นพ. ชลธวัช สุวรรณปิยะศิริ

    นพ. ชลธวัช สุวรรณปิยะศิริ

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    ตจวิทยา โรคผิวหนัง, ภูมิคุ้มกันผิวหนัง, โรคผิวหนังจากภูมิคุ้มกันตัวเอง, โรคแพ้ภูมิตัวเอง, โรคตุ่มน้ำพองใสจากภูมิคุ้มกัน, โรคสะเก็ดเงิน, การฉีด Botulinum Toxin, การฉีดฟิลเลอร์, รักษาสิว, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, โรคผิวหนังอักเสบ, โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง , โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, โรคผื่นผิวหนังอักเสบจากผื่นแพ้สัมผัส, โรคด่างขาว
  • Link to doctor
    นพ. วิชญ์ แสงสุวรรณ

    นพ. วิชญ์ แสงสุวรรณ

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    • โรคผมร่วงและการผ่าตัดปลูกผม
    การฉีด Botulinum Toxin, การฉีดฟิลเลอร์, รักษาสิว, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, รอยสิว, โรคสะเก็ดเงิน, โรคผิวหนังจากภูมิคุ้มกันตัวเอง, โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง , โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, ตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดบริเวณผิวหนัง, ฝ้าและโรคของเม็ดสี, การดูแลกระชับเรือนร่าง, การรักษาผิวหนังด้านความงาม, โรคผื่นผิวหนังอักเสบจากผื่นแพ้สัมผัส, โรคผิวหนังอักเสบ, โรคแพ้ภูมิตัวเอง, ผ่าตัดเล็กบริเวณผิวหนัง, เลเซอร์ผิวหนังด้านความงาม, เลเซอร์รักษาผิวหนังหย่อนยาน, เลเซอร์รักษาจุดด่างดำ, เลเซอร์กระชับรูปร่าง, การใช้แสงเลเซอร์รักษาผมบาง, เลเซอร์รักษาหลุมสิว, โรคและความผิดปกติเกี่ยวกับผม, ตจวิทยา โรคผิวหนัง, การผ่าตัดปลูกผม
  • Link to doctor
    พญ. ญาดา อิทธิพานิชพงศ์

    พญ. ญาดา อิทธิพานิชพงศ์

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    ผ่าตัดบริเวณผิวหนัง, ผ่าตัดมะเร็งผิวหนังด้วยวิธีโมหส์ Mohs, ฝ้าและโรคของเม็ดสี, การรักษาผิวหนังด้านความงาม, การดูแลกระชับเรือนร่าง, การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น, การฉีด Botulinum Toxin, การฉีดฟิลเลอร์, การฉีดยารักษาเส้นเลือดขอด, Mesotherapy, Anti-aging and Regenerative Medicine, ตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดผิวหนังและเล็บ, รอยสิว, รักษาสิว, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, ตรวจรักษาโรคผิวหนังทั่วไป, โรคผื่นผิวหนังอักเสบจากผื่นแพ้สัมผัส