ฝี (Abscess) ประเภท อาการ สาเหตุ และการรักษา

ฝี เรื่องเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

การเกิด ฝี หรือตุ่มหนองที่มีการติดเชื้อ พบได้บ่อยในหลายอวัยวะ บางคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องเล็ก ๆ ปล่อยไว้เดี๋ยวหายเอง จริง ๆ แล้วฝีที่ไม่ได้รักษา อาจทำให้เกิดอันตรายได้

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน

ฝี

การเกิด ฝี หรือตุ่มหนองที่มีการติดเชื้อ พบได้บ่อยในหลายอวัยวะ บางคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องเล็ก ๆ ปล่อยไว้เดี๋ยวหายเอง จริง ๆ แล้วฝีที่ไม่ได้รักษา อาจทำให้เกิดอันตรายได้

ฝี เป็นโพรงหนองที่เกิดขึ้นได้ทุกที่ในร่างกาย ทั้งบนผิวหนัง ในปาก หรืออวัยวะภายใน เมื่อร่างกายเกิดการติดเชื้อ เซลล์เม็ดเลือดขาวจะเดินทางไปยังบริเวณดังกล่าวเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค จนเกิดการสะสมของเม็ดเลือดขาวขึ้นภายในเนื้อเยื่อที่ได้รับความเสียหาย ทําให้เกิดการอักเสบและเกิดเป็นก้อนขึ้น เมื่อก้อนนั้นมีหนองซึ่งเกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาว เนื้อเยื่อ เชื้อโรคที่ยังมีชีวิตอยู่และตายแล้วรวมทั้งของเหลว จะกลายเป็นฝี

ฝีบนผิวหนังนั้นพบได้บ่อยกว่าฝีในปากและที่อวัยวะภายใน เมื่อพบว่ามีฝี ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค

ประเภทของฝี

ฝีบนผิวหนัง

เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งจะเกิดขึ้นใต้ผิวหนังและรักษาได้ง่าย

  • ฝีรักแร้ ส่วนใหญ่เกิดจากการอักเสบของต่อมเหงื่อ ซึ่งทําให้ผิวหนังของรักแร้บวมแดงและกดเจ็บ
  • ฝีที่เต้านม พบได้บ่อยในมารดาที่ให้นมบุตร เนื่องจากการติดเชื้อที่เต้านม
  • ฝีบริเวณก้นหรือทวารหนัก เช่น ฝีบริเวณขอบทวารหนัก หรือฝีร่องก้น

ฝีในปาก

ฝีอาจเกิดขึ้นได้บริเวณฟัน เหงือก และลําคอ หากฝีเกิดขึ้นรอบ ๆ ฟันจะเรียกว่าฝีในฟันหรือฟันเป็นหนอง  โดยแบ่งออกได้เป็น

  • ฝีที่เหงือก มักส่งผลต่อเหงือก ไม่ส่งผลกระทบต่อฟัน
  • ฝีที่ปลายรากฟัน เกิดขึ้นที่ปลายรากฟันเนื่องจากฟันผุหรือได้รับบาดเจ็บ
  • ฝีบริเวณรอบฟัน เกิดจากโรคปริทันต์อักเสบหรือโรคเหงือก มักส่งผลต่อกระดูกและเนื้อเยื่อที่รองรับฟัน

ฝีในปากชนิดอื่น ได้แก่

  • ฝีต่อมทอนซิล มักพบในวัยรุ่นและคนหนุ่มสาว
  • ฝีรอบต่อมทอลซิล
  • ฝีในช่องคอส่วนลึก เกิดขึ้นเมื่อต่อมน้ำเหลืองที่ด้านหลังลําคอเกิดการติดเชื้อ

ฝีที่อวัยวะภายใน

ฝีที่อวัยวะภายใน ซึ่งอาจเกิดได้ในสมอง บนไขสันหลัง หรืออวัยวะภายในอื่น ๆ นั้นมักพบได้น้อยกว่า โดยการตรวจวินิจฉัยและการรักษาฝีที่อวัยวะภายในนั้นจะทำได้ยากกว่าฝีชนิดอื่น ๆ

  • ฝีที่ไขสันหลัง
  • ฝีในช่องท้อง อาจพบภายในหรือใกล้ไต ตับอ่อน หรือตับ
  • ฝีในสมอง มักพบได้น้อย โดยเกิดจากการที่แบคทีเรียในกระแสเลือด แผล หรือการติดเชื้อที่บริเวณศีรษะเดินทางเข้าสู่สมอง

ฝีในปาก  ฝีอาจเกิดขึ้นได้บริเวณฟัน เหงือก และลําคอ หากฝีเกิดขึ้นรอบ ๆ ฟันจะเรียกว่าฝีในฟันหรือฟันเป็นหนอง

อาการของโรคฝี

ฝีบนผิวหนังจะปรากฏเป็นตุ่มหนอง ผิวหนังรอบฝีจะแดงบวม และอาจทำให้เกิดอาการ เช่น

  • ปวด
  • มีไข้และหนาวสั่น

ฝีในปากเกิดขึ้นที่เหงือก กราม พื้นปาก หรือภายในกระพุ้งแก้ม ทําให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

  • ปวดฟันอย่างรุนแรงหรือเสียวฟัน
  • อ้าปาก เคี้ยวหรือกลืนลำบาก
  • มีไข้

ฝีในผิวหนังชั้นลึกหรือภายในร่างกายอาจไม่ก่อให้เกิดอาการชัดเจน แต่ผู้ป่วยอาจมีอาการซึ่งเกี่ยวข้องกับอวัยวะที่เกิดฝี ยกตัวอย่างเช่น  

  • มีอาการปวดและกดเจ็บ
  • มีไข้หนาวสั่น
  • รู้สึกเหนื่อย
  • เหงื่อออกมาก
  • ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลด



ควรไปพบแพทย์เมื่อใด

ผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษา หากฝีไม่หายเองภายใน 2-3 วันเพื่อป้องกันไม่ให้ฝีแตกและเชื้อโรคแพร่กระจาย หากมีไข้และมีอาการปวดมากขึ้น ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ทันที

สาเหตุที่เป็นฝี

เชื้อสแตฟฟิโลคอกคัส (Staphylococcus) เป็นแบคทีเรียที่ทําให้เกิดฝีบ่อยที่สุด เชื้อรา เชื้อไวรัส หรือเชื้อปรสิตมักไม่ค่อยทําให้เกิดฝี โดยเมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวต่อสู้กับแบคทีเรียที่บุกรุกเข้ามาในร่างกาย เนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้เคียงจะเกิดการอักเสบและตายลง ทําให้เกิดก้อนหนองหรือฝี

การตรวจวินิจฉัยโรคฝี

  • การตรวจร่างกาย เพื่อตรวจดูฝีบนผิวหนัง แพทย์อาจเก็บหนองไปตรวจสอบเพาะเชื้อเพื่อระบุชนิดของแบคทีเรียและวางแผนวิธีการรักษาที่เหมาะสม
  • การตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่าย เช่น การอัลตราซาวนด์ CT scan และ MRI เพื่อตรวจฝีในอวัยวะภายใน


การรักษาฝี

ฝีบนผิวหนังขนาดเล็กอาจหายได้เอง เมื่ออยู่บ้านผู้ป่วยอาจประคบอุ่นบนฝีเพื่อกระตุ้นให้ฝีระบายออกเองตามธรรมชาติ แต่ไม่ควรบีบหนองออกจากฝี เพราะจะทำให้แบคทีเรียแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นได้  

ในการรักษาฝีบนผิวหนัง แพทย์จะให้รับประทานยาปฏิชีวนะ พร้อมกับการผ่าตัดเพื่อระบายหนอง  ในระหว่างการผ่าตัด แพทย์จะฉีดยาระงับความรู้สึกบริเวณรอบ ๆ ฝี ก่อนที่จะทำการกรีดเพื่อเอาหนองและเนื้อเยื่อที่ตายแล้วออก  แพทย์จะเปิดแผลไว้เพื่อให้หนองที่ยังค้างอยู่สามารถระบายออกมาได้ก่อนที่จะใช้ผ้าก๊อสและพลาสเตอร์เพื่อปิดแผล  ขณะที่อยู่ที่บ้านผู้ป่วยควรตรวจดูแผลและเปลี่ยนผ้าก๊อสถ้าเปียกชุ่ม  โดยแผลจะเริ่มตกสะเก็ด ซึ่งเป็นสัญญาณว่าแผลกำลังจะหาย ซึ่งมักหายสนิทภายใน 2 สัปดาห์

ในการรักษาฝีที่เหงือก ผู้ป่วยต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ แพทย์จะผ่าฝีเพื่อระบายหนอง และทำการถอนฟันหรือรักษารากฟันในบางราย การรักษาฝีในปากนั้นจำเป็นมากเนื่องจากเชื้อโรคสามารถแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อรอบ ๆ ทําให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือดหรือโรคแบคทีเรียกินเนื้อ

แพทย์จะทำการใช้เข็มเจาะเพื่อรักษาฝีที่อวัยวะภายใน โดยอาจให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่หรือทั่วร่างกาย ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของฝี  แพทย์จะทำการอัลตราซาวนด์หรือ CT scan เพื่อระบุตำแหน่งที่ต้องการแทงเข็ม  และกรีดแผลเล็ก ๆ บนผิวหนังเพื่อใส่สายสวนสำหรับการระบายหนองเข้าไปในถุงรองรับด้านนอก โดยอาจติดถุงไว้กับตัวผู้ป่วยเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์หรือมากกว่านั้นเพื่อให้หนองที่ค้างอยู่ไหลออกมาได้หมด

การป้องกันการเกิดฝี

เพื่อป้องกันฝีบนผิวหนังหรือในปาก ควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้

  • รักษาผิวให้แห้งสะอาดอยู่เสมอ
  • ล้างมือบ่อย ๆ
  • อย่าใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น แปรงสีฟัน ผ้าขนหนู หรือมีดโกน ร่วมกับผู้อื่น
  • ระมัดระวังเวลาโกนหนวด ไม่ให้เกิดแผล
  • รักษาสุขอนามัยทางช่องปาก
  • ฝีในอวัยวะภายในนั้นมักเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่น ๆ จึงป้องกันได้ยาก



บทความโดย

พญ.รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด

แพทย์อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
ประวัติแพทย์


ฝี (Abscess) ประเภท อาการ สาเหตุ และการรักษา

 

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 22 พ.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ถนอมศักดิ์ อเนกธนานนท์

    ผศ.นพ. ถนอมศักดิ์ อเนกธนานนท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ รวมทั้งโรคแทรกซ้อน, วัคซีน, โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, สุขภาพนักเดินทาง การให้วัคซีน และประเมินสุขภาวะก่อนและหลังกลับจากต่างประเทศหรือพื้นที่เสี่ยง, โรคติดเชื้อทางเขตร้อน
  • Link to doctor
    รศ.นพ. พอพล โรจนพันธุ์

    รศ.นพ. พอพล โรจนพันธุ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    อายุรกรรมทั่วไป, อายุรกรรมผู้สูงอายุ
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. มนต์เดช สุขปราณี

    ผศ.นพ. มนต์เดช สุขปราณี

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ รวมทั้งโรคแทรกซ้อน, การจัดการโรคไวรัสตับอักเสบชนิดซีและการปฏิบัติตัว, โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, การติดเชื้อในเวชบำบัดวิกฤต
  • Link to doctor
    นพ. จักกพัฒน์ วนิชานันท์

    นพ. จักกพัฒน์ วนิชานันท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. พีระวงษ์ วีรารักษ์

    นพ. พีระวงษ์ วีรารักษ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. รพีพรรณ  รัตนวงศ์นรา มอร์ด

    พญ. รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    สุขภาพนักเดินทาง การให้วัคซีน และประเมินสุขภาวะก่อนและหลังกลับจากต่างประเทศหรือพื้นที่เสี่ยง, โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ, การติดเชื้อทางเดินอาหาร, โรคติดเชื้อทั่วไป และการให้วัคซีน, การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ รวมทั้งโรคแทรกซ้อน, การติดเชื้อในระบบประสาท , โรคหนอนพยาธิ, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง , โรคติดเชื้อที่เนื้อเยื่อ, โรคติดเชื้อที่กระดูก, โรคติดเชื้อที่ข้อ, โรคติดเชื้อทางเขตร้อน, การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    พญ.  ศิรญา ไชยะกุล

    พญ. ศิรญา ไชยะกุล

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    รศ.พญ. สิริอร วัชรานานันท์

    รศ.พญ. สิริอร วัชรานานันท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, โรคติดเชื้อทั่วไป, การติดเชื้อในเวชบำบัดวิกฤต, โรคติดเชื้อหลังปลูกถ่ายอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก, โรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อราลุกลามหรือไวรัส