Untitled Design 11.jpg

โรคงูสวัด ไวรัสตัวร้ายกับผู้สูงอายุ

โรคงูสวัดเป็นโรคที่มาจากไวรัส พัฒนามาจากโรคอีสุกอีใส สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกวัย แต่ความเสี่ยงในการเกิดโรคจะเพิ่มมากขึ้นในผู้สูงอายุ การมีอายุที่มากยังจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคงูสวัดอีกด้วย

แชร์

โรคงูสวัด ไวรัสตัวร้ายกับผู้สูงอายุ

โรคงูสวัดคืออะไร?

โรคงูสวัด เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (VZR) ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกันกับไวรัสที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส โรคงูสวัดเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกวัย แต่ความเสี่ยงในการเกิดโรคจะเพิ่มมากขึ้นในผู้สูงอายุ การมีอายุที่มากยังจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคงูสวัดอีกด้วย

หลังจากเกิดโรคอีสุกอีใสและอาการของโรคหายดีแล้ว ไวรัสตัวเดียวกันจะเข้าสู่ระบบประสาทและสามารถมีชีวิตอยู่ได้เป็นระยะเวลาหลายปีโดยไม่แสดงออกถึงอาการใดๆ หากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของคนเราเกิดอ่อนแอลง จะส่งผลให้ไวรัสเกิดปฏิกิริยาที่ตอบสนองต่อร่างกายอีกครั้ง ทำให้เกิดโรคงูสวัดในที่สุด โรคงูสวัดจะเกิดกับกลุ่มเสี่ยงยยกตัวอย่างเช่น ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่นอนหลับไม่เพียงพอ ผู้ที่เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองอย่างโรคเอสแอลอี และผู้ทีติดเชื้อเอชไอวี นอกจากนี้โรคงูสวัดสามารถเกิดได้กับกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ ผู้ทีทำการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน รวมถึงผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง อย่างเช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคไต

ลักษณะอาการของโรคงูสวัด

เมื่อติดเชื้องูสวัด ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อน ถึงแม้ผิวจะสัมผัสเสื้อผ้าหรือสัมผัสกับผิวหนังเพียงเล็กน้อยก็จะส่งผลให้เกิดอาการปวด และจะเริ่มเกิดผื่นหลังจากระยะเวลา 2-3 วัน และจะกลายเป็นตุ่มพองคล้ายอีสุกอีใส โรคงูสวัดมีความแตกต่างจากอาการของโรคอีสุกอีใสเพราะจะไม่มีการแพร่เชื้อไปทั่วร่างกาย แต่จะเกิดตุ่มบริเวณผิวหนังโดยจะเกิดตุ่มพองรอบๆบริเวณที่เกิดการติดเชื้อ หลังจากนั้นแผลจะเริ่มแห้งและกลายเป็นสะเก็ด ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการไข้หรือมีอาการของไข้หวัดร่วมด้วย 

ภาวะแทรกซ้อนของโรคงูสวัด 

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคงูสวัดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่มักจะเกิดกับผู้สูงอายุและผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ 

  • อาการปวดเส้นประสาท คืออาการปวดที่กินระยะเวลานานกว่าสามเดือน โดยเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด อาการปวดจะเกิดขึ้นบริเวณผิวหนังทีเป็นผื่น โดยระดับความรุนแรงของอาการจะเริ่มจากน้อยจนถึงรุนแรง โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อน อาการปวดเส้นประสาทเกิดขึ้นกับร้อยละ 10-15 ต่อประชากร และเกิครึ่งของจำนวนนี้เป็นผุ้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี 
  • การติดเชื้อที่ผิวหนัง แผลที่ผิวหนังที่เกิดจากโรคงูสวัดอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อด้วยบคทีเรีย ซึ่งทำให้การรักษาเกิดการล่าช้า ภาวะแทรกซ้อนทางตา
  • ภาวะแทรกซ้อนทางตา เกิดกับร้อยละ ของผู้ป่วยทั้งหมด โดยเกิดจากการที่ผื่นเกิดขึ้นบริเวณผิวหนังใกล้ดวงตา (เป็นอีกหนึงภาวะแทรกซ้อนจากโรคงูสวัดที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อจอประสาทตา)
  • ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นที่หู ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นที่หูประกอบไปด้วยการติดเชื้อจากโรคงูสวัดที่เกิดขึ้นที่หู หรือโรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม โดยอาการของโรคคือเกิดใบหน้าเบี้ยวและปวดหู

การรักษา และแนวทางการรักษาโรคงูสวัด มีดังนี้

  • ยาต้านไวรัส – ยาชนิดนี้จะช่วยบรรเทาอาการปวดและลดอาการอักเสบ รวมถึงลดการเกิดตุ่มพอง 

ยาอื่นๆที่แพทย์จะทำการสั่งจ่ายให้ผู้ป่วย มีดังนี้ 

  • ยาแก้ปวด
  • ยาแก้แพ้
  • ยาปฏิชีวนะ

การป้องกันและคำแนะนำจากแพทย์ 

ในขณะนี้ในประเทศไทยมีวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดสำหรับผู้ใหญ่ โดยแนะนำให้ฉีดวัคซีนสำหรับผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป การฉีดวัคซีนจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคงูสวัด หากผู้ป่วยได้รับเชื้องูสวัดกรวัคซีนสามารถช่วยลดความรุนแรงของอาการได้ นอกจากนั้นวัคซีนยังควรทำการฉีดให้กับคนที่อายุไม่ถึง 60 ปีแต่มีโรคเรื้อรังหรือมีโรคอื่นๆที่่ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

เผยแพร่เมื่อ: 21 ก.พ. 2021

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. พีระวงษ์ วีรารักษ์

    นพ. พีระวงษ์ วีรารักษ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. จักกพัฒน์ วนิชานันท์

    นพ. จักกพัฒน์ วนิชานันท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ถนอมศักดิ์ อเนกธนานนท์

    ผศ.นพ. ถนอมศักดิ์ อเนกธนานนท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ รวมทั้งโรคแทรกซ้อน, วัคซีน, โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, สุขภาพนักเดินทาง การให้วัคซีน และประเมินสุขภาวะก่อนและหลังกลับจากต่างประเทศหรือพื้นที่เสี่ยง, โรคติดเชื้อทางเขตร้อน
  • Link to doctor
    พญ.  ศิรญา ไชยะกุล

    พญ. ศิรญา ไชยะกุล

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. มนต์เดช สุขปราณี

    ผศ.นพ. มนต์เดช สุขปราณี

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ รวมทั้งโรคแทรกซ้อน, การจัดการโรคไวรัสตับอักเสบชนิดซีและการปฏิบัติตัว, โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, การติดเชื้อในเวชบำบัดวิกฤต
  • Link to doctor
    พญ. รพีพรรณ  รัตนวงศ์นรา มอร์ด

    พญ. รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    สุขภาพนักเดินทาง การให้วัคซีน และประเมินสุขภาวะก่อนและหลังกลับจากต่างประเทศหรือพื้นที่เสี่ยง, โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ, การติดเชื้อทางเดินอาหาร, โรคติดเชื้อทั่วไป และการให้วัคซีน, การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ รวมทั้งโรคแทรกซ้อน, การติดเชื้อในระบบประสาท , โรคหนอนพยาธิ, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง , โรคติดเชื้อที่เนื้อเยื่อ, โรคติดเชื้อที่กระดูก, โรคติดเชื้อที่ข้อ, โรคติดเชื้อทางเขตร้อน, การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    รศ.นพ. พอพล โรจนพันธุ์

    รศ.นพ. พอพล โรจนพันธุ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    อายุรกรรมทั่วไป, อายุรกรรมผู้สูงอายุ
  • Link to doctor
    รศ.พญ. สิริอร วัชรานานันท์

    รศ.พญ. สิริอร วัชรานานันท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, โรคติดเชื้อทั่วไป, การติดเชื้อในเวชบำบัดวิกฤต, โรคติดเชื้อหลังปลูกถ่ายอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก, โรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อราลุกลามหรือไวรัส