ในอดีตการผ่าตัดปอดจะต้องทำด้วยวิธีการผ่าตัดแบบเปิด (open thoracotomy)เท่านั้น วิธีดังกล่าวจะเกิดแผลผ่าตัดขนาดใหญ่ประมาณ 8-20 เซนติเมตร ขนาดของแผลจะขึ้นอยู่กับชนิดของการผ่าตัด ร่วมกับการใช้เครื่องถ่างขยายช่องซี่โครง (Rib spreader) ในการผ่าตัด ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการเจ็บปวดมากหลังผ่าตัดและมีภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ในปัจจุบันอุปกรณ์และเทคนิคในการผ่าตัดได้มีการพัฒนาก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น เป็นการผ่าตัดปอดโดยวิธีส่องกล้องแผลเล็ก [ Video-Assisted Thoracic Surgery, VATS] ใช้ในการผ่าตัดรักษาโรคในบริเวณช่องทรวงอก การผ่าตัดแบบนี้ได้ผ่านการรับรองด้วยการวิจัยจากหลายสถาบันการแพทย์ว่าส่งผลลัพธ์การรักษาที่ดีกว่าหรือเทียบเท่าการรักษารูปแบบเดิมอย่างการผ่าตัดแบบเปิด มีผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนที่น้อยกว่า เพราะผู้ป่วยจะปวดแผลน้อยกว่า นอนโรงพยาบาลในระยะเวลาที่สั้นกว่า และยังสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าอีกด้วย
โรคที่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีส่องกล้องแผลเล็ก มีดังนี้
- มะเร็งปอดระยะแรก (ระยะที่ 1 และ 2)
- ก้อนเนื้อในปอด
- ภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด
- ภาวะติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มปอด
- เนื้องอกในช่องอกชนิดอื่นๆ เช่น เนื้องอกต่อมไทมัส
การผ่าตัดปอดโดยวิธีส่องกล้องแผลเล็กเหมาะกับการรักษาโรคปอดชนิดใดบ้าง
หากศัลยแพทย์มีความเชี่ยวชาญในการผ่าตัดส่องกล้องรวมถึงโรงพยาบาลมีอุปกรณ์การผ่าตัดที่ทันสมัย กว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคปอดสามารถทำการรักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
ขั้นตอนการผ่าตัดปอดโดยวิธีส่องกล้องแผลเล็ก
ขั้นตอนการผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้องจะเริ่มด้วยการให้ผู้ป่วยดมยาสลบ ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวขณะทำการผ่าตัด ระยะเวลาการผ่าตัดโดยรวมจะประมาณ 1-2 ชั่วโมง และจะมีการต่อสายระบายเลือดจากช่องอกของผู้ป่วยหลังทำการผ่าตัด ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องนอนพักฟื้นสังเกตอาการที่ห้องผู้ป่วยวิกฤต ส่วนมากระยะเวลาจะไม่เกิน 1 วันแต่ทั้งนี้ระยะเวลาการสังเกตอาการจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของวิสัญญีแพทย์ หลังจากนั้นผู้ป่วยจะถูกเคลื่อนย้ายไปพักฟื้นต่ออีก 1-3 วันในห้องผู้ป่วยปกติ ระยะเวลาในการรักษาตัวที่โรงพยาบาลจะขึ้นอยู่กับระดับความยากง่ายของการผ่าตัด การฟื้นตัวของผู้ป่วย หรือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้องมีอะไรบ้างและอันตรายหรือไม่
การผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้องเป็นการผ่าตัดที่มีความปลอดภัยสูง โดยพบว่าอัตราการเสียชีวิตจากการผ่าตัดประเภทนี้มีน้อยกว่าร้อยละ 1 และยังมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วยทีเข้ารับการผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้อง โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากอาการเจ็บปวดหลังการผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ ลมรั่วหลังผ่าตัด ภาวะปอดแฟบ (Atelectasis) รวมถึงเกิดการติดเชื้อในปอด ภาวะแทรกซ้อนมักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงอย่างเช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวหลายโรค การรักษาด้วยการผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้องเป็นนวัตกรรมที่ถูกพัฒนามาช่วยลดอาการเจ็บปวดหลังการผ่าตัด ส่งผลให้มีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด ดังนั้นการผ่าตัดด้วยการส่องกล้องจึงปลอดภัยกว่าและมีประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยในกลุ่มความเสี่ยงสูงเป็นอย่างมากหลังการผ่าตัดแพทย์จะทำการเฝ้าติดตามดูแลรักษาอาการปวดของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดพร้อมทั้งให้ได้รับการทำกายภาพบำบัด เพื่อที่ผู้ป่วยจะสามารถช่วยเหลือตนเองและลดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
ผู้ป่วยจะมีโอกาสกลับเป็นปกติหลังผ่าตัดหรือไม่
ผู้ป่วยจะกลับมาเป็นปกติหลังผ่าตัดอย่างแน่นอนหากไม่พบภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดแผลเล็กน้อย รู้สึกชาหรือเสียวบริเวณหน้าอก เหนื่อยง่ายขึ้น ไอบ่อย มีเสมหะเล็กน้อย หรืออาจมีเลือดปนเป็นบางครั้งในปริมาณน้อย อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเฉพาะในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกหลังจากผ่าตัด เป็นอาการข้างเคียงที่ไม่เป็นอันตรายและจะหายไปได้เองในที่สุด ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2-4 สัปดาห์หลังจากทำการผ่าตัดผู้ป่วยจะสามารถกลับไปทำงาน ออกกำลังกายและทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
ผศ.นพ.บุลวัชร์ หอมวิเศษ
ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคหัวใจและทรวงอก
เฉพาะทางด้านการผ่าตัดปอดโดยการส่องกล้องแผลเล็ก
ประวัติแพทย์ คลิก