Brugada Syndrome Banner 1.jpg

โรคใหลตาย (Brugada syndrome)

โรคนี้เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ในประเทศไทยพบอุบัติการณ์ของโรคที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากกว่าภาคอื่น ๆ รองลงมาเป็นภาคเหนือ

แชร์

โรคใหลตาย หรือในต่างประเทศรู้จักกันในชื่อ โรคบรูกาด้า (Brugada) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของคุณสมบัติทางไฟฟ้าของเซลล์เนื้อเยื่อหัวใจ ทำให้มีโอกาสเสี่ยงเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะร้ายแรงแบบสั่นพริ้ว จากหัวใจห้องล่าง (Ventricular fibrillation) ซึ่งหากเกิดขึ้นผู้ป่วยจะอยู่ในภาวะหัวใจหยุดสูบฉีดเลือดไม่มีชีพจร ไม่มีการไหลเวียนเลือด และหากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้นไม่หายเองหรือรับการรักษาอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในเวลาไม่กี่นาที

โรคนี้เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ในประเทศไทยพบอุบัติการณ์ของโรคที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากกว่าภาคอื่น ๆ รองลงมาเป็นภาคเหนือ ผู้ชายมีอาการแสดงมากกว่าผู้หญิงหลายเท่า พบอาการแสดงบ่อยในช่วงอายุ 25-55 ปี โดยทั่วไปจะไม่มีอาการแสดงเตือนใด ๆ ผู้ป่วยมักมีอาการหมดสติ ไม่รู้ตัว ภาวะหัวใจหยุดเต้นเสียชีวิตในขณะนอนหลับ พบปัจจัยกระตุ้นที่สัมพันธ์กับการเกิดอาการใหลตาย เช่น หลังกินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต (ข้าว แป้ง น้ำตาล) มาก ออกกำลังกายหรือทำงานใช้แรงกายหนัก ๆ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีไข้สูง การใช้ยาเสพติดบางอย่าง

การรักษาและป้องกัน
ในผู้ที่เกิดอาการใหลตาย แต่โชคดีได้รับการรักษาฟื้นกลับมาได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เสียชีวิต จากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะร้ายแรงผู้ป่วยควรได้รับการผ่าตัด ฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (Automatic implantable cardio defibrillator: AICD) ซึ่งเครื่องนี้จะทำหน้าที่ตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอดเวลา ถ้าเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะร้ายแรง เครื่องจะทำการชาร์ตไฟส่งกระแสไฟผ่านหัวใจ (กระตุกไฟฟ้า-defibrillation) เพื่อปรับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะให้กลับมาปกติภายในไม่กี่วินาที สามารถป้องกันการเสียชีวิตได้ ด้วยประสิทธิภาพสูง ปัจจุบันกำลังมีการวิจัย การใส่สายสวนเข้าไปในหัวใจ เพื่อทำการทดสอบและใช้ไฟฟ้าจี้ทำลายเนื้อเยื่อหัวใจในบางตำแหน่งพบว่า อาจทำให้สามารถป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเต้นผิดจังหวะได้ แต่ยังไม่มีข้อสรุปเป็นคำแนะนำชัดเจนว่าจะสามารถทดแทนการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจได้หรือไม่

ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มนี้อาจเสี่ยงกับโรคนี้ เช่น

  • มีญาติใกล้ชิดเสียชีวิตจากโรคใหลตายหรือเสียชีวิตกะทันหันขณะหลับ โดยยังไม่ทราบสาเหตุการเสียชีวิต
  • มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ เหมือนคลื่นไฟฟ้าของผู้ป่วยใหลตายหรือบรูกาด้า (ECG Brugada pattern)
  • มีอาการหมดสติเรียกไม่รู้ตัว ชักเกร็งในขณะหลับโดยไม่ทราบสาเหตุ แม้จะกลับมารู้ตัวได้เอง

ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยโดยละเอียดว่าเป็นโรคใหลตายหรือบรูกาด้าหรือไม่ มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะร้ายแรง หัวใจหยุดเต้นเสียชีวิตมากน้อยเพียงใด ต้องรับการรักษาโดยใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจหรือไม่

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 17 เม.ย. 2022

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. วรวุฒิ รุ่งประดับวงศ์

    นพ. วรวุฒิ รุ่งประดับวงศ์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
    การตรวจวินิจฉัยทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ, อายุรศาสตร์โรคหัวใจ
  • Link to doctor
    นพ. ไพศาล บุญศิริคำชัย

    นพ. ไพศาล บุญศิริคำชัย

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
    อายุรกรรมโรคหัวใจ, การตรวจวินิจฉัยทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
  • Link to doctor
    พญ. ศนิศรา จันทรจำนง

    พญ. ศนิศรา จันทรจำนง

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
    หัวใจเต้นผิดจังหวะ, การตรวจวินิจฉัยทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, ผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ
  • Link to doctor
    พญ. จิรภา แจ่มไพบูลย์

    พญ. จิรภา แจ่มไพบูลย์

    • เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
    เวชศาสตร์ฟื้นฟู, การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ
  • Link to doctor
    นพ. วิพัชร พันธวิมล

    นพ. วิพัชร พันธวิมล

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
  • Link to doctor
    นพ. อนุรุธ ฮั่นตระกูล

    นพ. อนุรุธ ฮั่นตระกูล

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ