Artboard 1@1200x 100.jpg

ทำอย่างไร ไม่ให้เป็นมะเร็ง

นอกจากการตรวจคัดกรองที่ควรทำทุกปีแล้ว ยังมีสิ่ง ๆ ต่างที่เราสามารถทำเพื่อช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งได้เช่นกัน

แชร์

มะเร็งเป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติและรวดเร็ว โดยเซลล์มะเร็งสามารถแพร่ไปยังอวัยวะในบริเวณใกล้เคียงหรืออวัยวะที่อยู่ห่างไกลออกไปผ่านระบบทางเดินโลหิตและน้ำเหลือง หลายสิ่งหลายอย่างในพันธุกรรม การดำเนินชีวิต และสิ่งแวดล้อมสามารถเพิ่มหรือลดความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งได้ มะเร็งไม่เพียงแต่จะทำให้ทุกข์ทั้งกายและใจแล้ว ยังสร้างภาระค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยอีกด้วย

นอกเหนือจากการตรวจคัดกรองที่ควรทำทุกปีแล้ว ยังมีสิ่ง ๆ ต่างที่เราสามารถทำเพื่อช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งได้เช่นกัน

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
ปัจจัยเสี่ยง 4 อย่างที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง ได้แก่

  • การติดเชื้อ
  • กัมมันตภาพรังสี
  • การสูบบุหรี่หรือใช้ยาสูบ
  • การรับประทานยากดภูมิหลังการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ

ปัจจัยด้านอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็ง ได้แก่

  • การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การใช้ชีวิตนั่ง ๆ นอน ๆ หรือพฤติกรรมเนือยนิ่ง
  • อาหาร
  • โรคอ้วน
  • โรคเบาหวาน
  • สิ่งแวดล้อม

ปัจจัยเสี่ยงบางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่นั้นถือเป็นปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงได้ ในขณะที่ปัจจัยอื่น ๆ เช่น พันธุกรรมนั้นอยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา ดังนั้นเราจึงจะเน้นไปที่ปัจจัยที่เราสามารถเปลี่ยนแปลงได้เพื่อป้องการเกิดโรคมะเร็ง

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
ยังคงมีการศึกษากันอยู่ว่าเราจะทำอะไรเพื่อป้องกันโรคมะเร็งได้บ้าง งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่ามีสิ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้ แต่งานวิจัยบางชิ้นกลับแสดงผลการค้นพบที่ตรงกันข้ามกันโดยสิ้นเชิง อย่างไรก็ตามเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตประจำวันนั้นช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้

  1. ไม่สูบบุหรี่หรือใช้ยาสูบ
    การสูบบุหรี่นั้นสัมพันธ์กับโรคมะเร็งปอด มะเร็งปาก มะเร็งคอ มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งตับอ่อน มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งไต การเคี้ยวใบยาสูบอาจทำให้เกิดมะเร็งในช่องปากและตับอ่อนได้เช่นกัน
    การเลิกสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่มือสองช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้ หากต้องการเลิกสูบบุหรี่ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพูดคุยถึงวิธีที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
    การรับประทานอาหารที่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง
    • เพิ่มผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี พืชตระกูลถั่ว และถั่วเปลือกแข็งในมื้ออาหาร
    • ลดการรับประทานน้ำตาลขัดสี ไขมันสัตว์ เนื้อสัตว์แปรรูปเพื่อคงน้ำหนักตัวตามเกณฑ์
    • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เหมาะสม ความเสี่ยงที่สูงขึ้นของโรคมะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งไต และมะเร็งเต้านมมีความสัมพันธ์กับนิสัยการดื่ม
      จากการศึกษาพบว่าการรับประทานน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ (แทนเนย) การรับประทานถั่วและปลา (แทนเนื้อแดง) มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม
  3. หมั่นออกกำลังกายและรักษาน้ำหนักตัวตามเกณฑ์
    มีการพิสูจน์แล้วว่าการออกกำลังกายวันละ 30 นาทีมีประโยชน์ต่อร่างกาย เราควรออกกำลังกายระดับปานกลาง 150 นาที หรือระดับหนัก 75 นาทีต่อสัปดาห์เพื่อคงน้ำหนักตัวตามเกณฑ์และลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งปอด มะเร็งลูกอัณฑะ มะเร็งไต และมะเร็งลำไส้
  4. หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดด
    เราสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งผิวหนังได้โดย
    • สวมใส่เสื้อผ้าหรืออุปกรณ์ป้องกันแสงแดด เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว แว่นตากันแดด หรือหมวกปีกกว้าง เมื่อต้องอยู่กลางแจ้ง พยายามหลีกเลี่ยงแสงแดดตอนเที่ยง และเสื้อผ้าสีสดนั้นสามารถสะท้อนรังสีอัลตราไวโอเล็ตได้ดีกว่าเสื้อผ้าสีอ่อน
    • ควรทาครีมกันแดดที่มีค่าเอสพีเอฟ 30 เป็นอย่างน้อย และทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมงหากทำได้ หรืออาจมากกว่านั้นหากเหงื่อออกมากหรือว่ายน้ำ
  5. เข้ารับการฉีดวัคซีนตามความเหมาะสม
    การฉีดวัคซีนนั้นสามารถช่วยสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้เช่นกัน
    • วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV) สามารถฉีดในเด็กชายและเด็กหญิงอายุ 11-12 ปี เพื่อช่วยป้องกันมะเร็งศีรษะ มะเร็งคอ และมะเร็งปากมดลูกได้
    • วัคซีนตับอักเสบบีนั้นแนะนำให้ฉีดในผู้ที่มีคู่นอนหลายคนเนื่องจากเสี่ยงต่อโรคทางเพศสัมพันธ์ ชายรักชาย บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย เพราะไวรัสตับอักเสบบีนั้นเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งตับ
  6. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง
    พฤติกรรมเสี่ยงบางอย่างเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง
    • การใช้เข็มร่วมกับผู้อื่นทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะติดโรคอื่น ๆ สูงขึ้น เช่น โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคไวรัสตับโรคอักเสบซี และโรคเอชไอวี ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับ
    • การมีคู่นอนหลายคนเพิ่มความเสี่ยงในการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาจนําไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง การติดเชื้อ HPV ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งทวารหนัก มะเร็งลูกอัณฑะ มะเร็งคอ มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งช่องคลอด ส่วนเชื้อเอชไอวีมีความสัมพันธ์กับมะเร็งทวารหนัก มะเร็งตับ และมะเร็งปอด จึงควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์เพื่อความปลอดภัย
  7. หมั่นตรวจร่างกายด้วยตนเองและเข้ารับการตรวจคัดกรองประจำปี
    หมั่นตรวจและสังเกตว่าร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงหรือมีความผิดปกติใด ๆ หรือไม่ และควรเข้ารับการตรวจคัดกรองประจำปีอย่างสม่ำเสมอ การตรวจพบความผิดปกติเร็วจะยิ่งทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสามารถขอคำแนะนำจากแพทย์เรื่องตารางการตรวจคัดกรองที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 20 ก.ย. 2022

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    รศ.นพ.ดร. วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์

    รศ.นพ.ดร. วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
    การวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรคมะเร็ง, การรักษามะเร็งโดยเคมีบำบัด, การรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า, การรักษามะเร็งด้านอิมมูโนบำบัด, การดูแลแบบประคับประคอง
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    รศ.พญ. นภา ปริญญานิติกูล

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
    อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
  • Link to doctor
    นพ. อุดมศักดิ์ บุญวรเศรษฐ์

    นพ. อุดมศักดิ์ บุญวรเศรษฐ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
    • อายุรศาสตร์โรคเลือด
    • การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด
    มะเร็งทางโลหิตวิทยา, การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์
  • Link to doctor
    นพ. สุดปรีดา ชัยนิธิกรรณ

    นพ. สุดปรีดา ชัยนิธิกรรณ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
    การวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรคมะเร็ง, การรักษามะเร็งโดยเคมีบำบัด, การรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า, การรักษามะเร็งด้านอิมมูโนบำบัด, การดูแลแบบประคับประคอง
  • Link to doctor
    พญ. ศิยามล มิ่งมาลัยรักษ์

    พญ. ศิยามล มิ่งมาลัยรักษ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
    การวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรคมะเร็ง, การรักษามะเร็งโดยเคมีบำบัด, การรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า, การรักษามะเร็งด้านอิมมูโนบำบัด, การดูแลแบบประคับประคอง
  • Link to doctor
    พญ. สุรีรัตน์ จารุหทัย

    พญ. สุรีรัตน์ จารุหทัย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
    การวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรคมะเร็ง, การรักษามะเร็งโดยเคมีบำบัด, การรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า, การรักษามะเร็งด้านอิมมูโนบำบัด, การดูแลแบบประคับประคอง
  • Link to doctor
    นพ. วิกรม เจนเนติสิน

    นพ. วิกรม เจนเนติสิน

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
    การวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรคมะเร็ง, การรักษามะเร็งโดยเคมีบำบัด, การรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า, การรักษามะเร็งด้านอิมมูโนบำบัด