หลับไม่สนิท หลับ ๆ ตื่น ๆ ตื่นแล้วไม่สดชื่น Can't sleep well, Frequent awakening, Unrefreshed sleep

หลับไม่สนิท หลับ ๆ ตื่น ๆ ตื่นแล้วไม่สดชื่น

ความต้องการนอนหลับของแต่ละคนนั้นมีพื้นฐานมาจากพันธุกรรม บางคนต้องนอนเยอะ บางคนนอนน้อยก็เพียงพอ

แชร์

หลับไม่สนิท หลับ ๆ ตื่น ๆ ตื่นแล้วไม่สดชื่น

มนุษย์ก็เหมือนสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่มีความต้องการพื้นฐานปัจจัยสี่ อันได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค แต่สิ่งหนึ่งที่เรามักมองข้ามความสำคัญไปอยู่เสมอนั่นก็คือคุณภาพการนอนของเรา เราใช้เวลา 1 ใน 3 ของชีวิตกับการนอนหลับ เป็นกิจวัตรประจำวันตั้งแต่เกิดจนตาย ตอนเป็นทารกก็นอนมากหน่อย เมื่อโตขึ้นสมองรับรู้สิ่งรอบตัวมากขึ้น เวลานอนก็น้อยลง

กลไกการนอนต้องใช้สารเคมีที่ทำงานในส่วนสมอง เช่น GABA เป็นตัวช่วยให้เข้าสู่ภาวะการนอนหลับ กลไกการทำงานของการควบคุมการนอนนั้นจะไประงับกลไกของร่างกายที่ทำให้ตื่นตัว โดยการกระตุ้นกลุ่มเซลล์สมองใกล้เส้นประสาทตาให้เริ่มและคงสภาวะการนอนหลับ สมองของเราจะเริ่มเข้าสู่ภาวะการนอนหลับในช่วงบ่าย 3 โมงถึง 6 โมงเย็น แสงนั้นทำหน้าที่ควบคุมนาฬิกาชีวภาพของคนเรา การได้รับแสงยามบ่ายแก่ ๆ จะทำให้การเริ่มรู้สึกง่วงช้าลง ส่วนใหญ่แล้วคนเราจะนอนวันละ 6 – 8 ชั่วโมง เราจะรู้สึกสดชื่นถ้าเรานอนได้อย่างมีคุณภาพและเพียงพอ

ความต้องการนอนหลับของแต่ละคนนั้นมีพื้นฐานมาจากพันธุกรรม บางคนต้องนอนเยอะ บางคนนอนน้อยก็เพียงพอ การดื่มกาแฟยามเช้าเพื่อกระตุ้นให้ตื่นนั้นจึงไม่จำเป็น หากอยากจะลิ้มรสกาแฟ ควรดื่มสักแก้วหนึ่งก่อน 10 โมงเช้า คาเฟอีนในกาแฟหนึ่งแก้วสามารถออกฤทธิ์ได้นานถึง 12 ชั่วโมง และจะไปรบกวนกลไกของร่างกายที่ทำให้เริ่มง่วงและนอนหลับตลอดคืน นอนจากนี้กาแฟยังทำให้อาการกรดไหลย้อนรุนแรงขึ้นซึ่งจะไปรบกวนการนอนได้ หากนอนไม่หลับไม่ควรรับประทานยานอนหลับ การใช้ยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน (Benzodiazepine) เช่น Xanax, Ativan, Restoril เป็นเวลานาน จะทำให้สูญเสียความทรงจำและเพิ่มความเสี่ยงในผู้สูงอายุที่จะหกล้มตอนกลางคืน อาจลองนั่งสมาธิซึ่งจะช่วยให้การทำงานของสมองช้าลง ครั้งแรกอาจจะไม่ผล็อยหลับได้เร็วนัก แต่ในที่สุดแล้วก็จะทำได้สำเร็จ

ร่างกายของเราสามารถชดเชยการอดนอนได้ส่วนหนึ่ง แต่หากวงจรการหลับและตื่นเริ่มแปรปรวน อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตได้ การนอนไม่พอจะนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคอ้วนได้ หากมีอาการเหล่านี้จึงควรเข้ารับการรักษา

โรคของการนอนหลับผิดปกติแบ่งได้เป็น 6 กลุ่ม

  1. กลุ่มที่มีการหายใจผิดปกติขณะนอนหลับ (Sleep- related breathing disorder)
  2. กลุ่มโรคที่มีปัญหาการเข้านอนหรือนอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท มีอาการนอนหลับ ๆ ตื่น ๆ นอนหลับได้ช้า (Insomnia disorder)
  3. กลุ่มโรคที่มีการเคลื่อนไหวของร่างกายในขณะนอน (Sleep related movement disorder)
  4. กลุ่มโรคที่หลับง่ายและตื่นยาก (Hypersomnolence)
  5. กลุ่มโรคที่มีพฤติกรรมผิดปกติระหว่างที่หลับ (Parasomnia)
  6. กลุ่มโรคที่นาฬิกาชีวภาพแปรปรวน ทำให้หลับตื่นไม่เป็นเวลา (Circadian rhythm sleep-wake disorder)

ใน 6 กลุ่มนั้น กลุ่มแรกน่ากลัวที่สุดเพราะคนไข้จะหยุดหายใจเป็นระยะขณะหลับทำให้ออกซิเจนในเลือดลดลง

การสังเคราะห์สารพลังงานสูงที่ใช้ภายในทุกเซลล์ (Adenosine Triphosphate: ATP) ต้องใช้ออกซิเจน ในขณะเดียวกันร่างกายต้องขับสารที่เกิดจากการเผาผลาญพลังงานคือคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ผ่านทางลมหายใจออก ยิ่งร่างกายมีการเผาผลาญพลังงานสูงเท่าไร จะยิ่งมีคาร์บอนไดออกไซด์และภาวะความเป็นกรดในเลือดมากขึ้น สภาพความเป็นกรดในเซลล์จะไปกระทบกลไกต่าง ๆ ในร่างกายจนทำให้เกิดอาการปวดหัว อ่อนเพลีย ง่วงหงาวหาวนอน อารมณ์แปรปรวน หลับใน จนไปถึงเกิดโรคหัวใจ โรคสมอง โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงได้ง่ายขึ้น

วิธีการตรวจวินิจฉัยภาวะการนอนหลับผิดปกติจึงจำเป็นต้องอาศัยการตรวจ Sleep test เรียกว่า Polysomnography โดยใช้เซนเซอร์ติดบนผิวหนังบันทึกคลื่นสมองและตัวแปรทางชีวภาพตลอดทั้งคืน

การตรวจวินิจฉัยภาวะการนอนหลับผิดปกติ หรือ Sleep test ประกอบไปด้วย

  1. การตรวจคลื่นสมองจะช่วยให้เราประเมินคุณภาพของการนอนหลับได้ มี REM Sleep (Rapid Eye MovementSleep) หรือช่วงหลับฝันนานเท่าไรหรือมีภาวะลมชัก (Seizure) หรือไม่ โดยคลื่นสมองจะแบ่งเป็น อัลฟ่า เบต้า เดลต้า เธต้า ตามขนาดและความถี่ของคลื่น REM Sleep เป็นช่วงที่เราหลับฝันอย่างเห็นภาพชัดแจ้งมีชีวิตชีวา เป็นช่วงที่สมองยังทำงานเรียบเรียงเรื่องของความจำ เปรียบได้กับอยู่ในโลกเสมือน Metaverse  ช่วงนี้เราฝันเดินไปเดินมา กระโดดโลดเต้น ทำงาน แม้กระทั่งมีเซ็กส์กับคนแปลกหน้า เป็นช่วงที่สมองส่งสัญญาณยับยั้งไปที่ไขสันหลังห้ามไม่ให้ร่างกายเคลื่อนไหวไปตามความฝัน ถ้าเกิดความผิดปกติในวงจรนี้ร่างกายก็จะทำตามเรื่องราวฝันในสมองในรูปแบบต่าง ๆ เหมือนในภาพยนต์ฮอลลีวูดที่นักแสดงกำลังแสดงตามบทในฝันอยู่ เราอาจเดินละเมอหรือทำพฤติกรรมผิดปกติจนบางครั้งเกิดเป็นเรื่องราวใหญ่โต ตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริง ได้แก่ พ่อโยนลูกออกจากหน้าต่างเพราะคิดว่าเป็นลูกบอล หรือหนุ่มอินเดียตัดอวัยวะเพศตัวเองเพราะคิดว่ากำลังแล่เนื้อแกะ คลื่นสมองและกล้ามเนื้อระหว่างการทำ Sleep test  จะให้ข้อมูลที่จำเป็นในการวินิจฉัยภาวะผิดปกตินี้ Sleep test ยังแสดงผลการทำงานของหัวใจและการหายใจในช่วง REM Sleep ถ้าคนไข้มีภาวะหยุดหายใจขณะกลับ ออกซิเจนในเลือดจะลดลงในช่วงนี้
  2. การตรวจการหายใจโดยดูการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและลมหายใจบริเวณรูจมูก การเฝ้าสังเกตการเคลื่อนไหวของหน้าอกและช่องท้องทำให้ทราบได้ว่าคนไข้หยุดหายใจหรือไม่ และถ้าหยุดหายใจ สาเหตุนั้นเกิดจากสมองหรือการอุดกั้นของทางเดินหายใจ
  3. การตรวจหัวใจเพื่อดูการเต้นผิดจังหวะของหัวใจหรือภาวะหัวใจขาดเลือด ระดับออกซิเจนในเลือดที่ต่ำทำให้หัวใจต้องทำงานหนักผิดปกติระหว่างการนอนหลับ
  4. การเฝ้าสังเกตการณ์ค่าออกซิเจนและค่าคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อดูว่าร่างกายได้รับผลกระทบจากการหายใจผิดปกติมากน้อยเท่าไร
  5. การตรวจดูการเคลื่อนไหวของตาเพื่อดูว่าร่างกายเข้าสู่ REM Sleep หรือไม่ ตาจะกรอกไปมาอย่างรวดเร็วในช่วงนี้ ถ้าคนไข้มีการเคลื่อนไหวผิดปกติในช่วงนี้ ก็อาจหมายถึงมีภาวะสมองเสื่อม เช่น โรคพาร์กินสันได้
  6. การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อขา เพื่อดูโรคการเคลื่อนไหวผิดปกติระหว่างการนอนที่เกิดในคนไข้ขาดธาตุเหล็ก เช่นหญิงตั้งครรภ์หรือผู้ที่รับประทานยาโรคซึมเศร้า
  7. ตรวจการนอนกรนเพื่อจะได้ดูว่าต้องใช้ที่ช่วยพยุงหรือเฝือกสบฟันขณะนอนหรือไม่

หากคนไข้มักง่วงหรือผล็อยหลับง่ายในช่วงเวลากลางวัน ควรต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยโรคลมหลับ (Narcolepsy) หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บหรือประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตได้ เพราะอาจเผลอหลับตอนกำลังขับรถ การตรวจสอบการนอนหลับระหว่างวัน หรือ Multiple Sleep Latency Test (MSLT) เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคลมหลับ ระหว่างการตรวจคนไข้จะทำตัวให้ผ่อนคลายและพยายามหลับหลาย ๆ ครั้งตลอดทั้งวัน การตรวจนี้สามารถประเมินความรวดเร็วในการผล็อยหลับ มีการเกิดภาวะ  REM sleeps ร่วมด้วยหรือไม่ การตรวจนี้สามารถวัดระดับความง่วงและความตื่นตัวของนักบิน ผู้มีอาชีพขับรถ หรือผู้ทำงานที่มีความเสี่ยงสูง   

การปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนมีความสัมพันธ์กับภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการหลั่งสาร natriuretic peptide จากภาวะหัวใจมีความเครียดเนื่องจากการขาดออกซิเจน ทำให้ปริมาณปัสสาวะเพิ่มขึ้น การรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับช่วยลดปริมาณปัสสาวะในเวลากลางคืนทำให้การนอนสงบราบรื่น จังหวะที่ตื่นขึ้นลดน้อยลง

การนอนหลับมีความสำคัญเฉกเช่นอาหาร เครื่องดื่ม และยารักษาโรค คนที่นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงหรือมากกว่า 8 ชั่วโมงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเรื้อรังหรือเสียชีวิตสูงกว่าคนที่นอนวันละ 6 - 8 ชั่วโมง หากพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อนอนหลับแล้วแต่ยังไม่สำเร็จ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับเพื่อหาต้นตอของปัญหาการนอนไม่หลับ การรักษาการนอนไม่หลับเป็นเรื่องสำคัญที่ควรทำโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะหลังการนอนหลับปกติ เมื่อตื่นขึ้น ไม่ควรไม่รู้สึกกระปรี้กระเปล่าหรือไม่สดชื่น


คุณมีความเสี่ยงหยุดหายใจขณะนอนหลับหรือเปล่า?
ลองทำแบบทดสอบเลย!

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 21 ธ.ค. 2022

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. อมรพันธุ์ วงศ์กาญจนา

    นพ. อมรพันธุ์ วงศ์กาญจนา

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ
  • Link to doctor
    พญ. ฐาปนี สมบูรณ์

    พญ. ฐาปนี สมบูรณ์

    • ประสาทวิทยา
    • โรคลมชัก
    • เวชศาสตร์การนอนหลับ
    โรคลมชักและการผ่าตัดโรคลมชัก, โรคความผิดปกติระหว่างการนอนหลับ
  • Link to doctor
    นพ. จิรยศ จินตนาดิลก

    นพ. จิรยศ จินตนาดิลก

    • อายุรศาสตร์
    • เวชศาสตร์การนอนหลับ
    • เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    เวชศาสตร์การนอนหลับ, อายุรศาสตร์โรคปอด, อายุรกรรมผู้สูงอายุ, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ชายวุฒิ สววิบูลย์

    ผศ.นพ. ชายวุฒิ สววิบูลย์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ, เวชบำบัดวิกฤต, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    ดร.พญ. จิรดา ศรีเงิน

    ดร.พญ. จิรดา ศรีเงิน

    • ประสาทวิทยา
    • เวชศาสตร์การนอนหลับ
    • โรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ
    เวชศาสตร์การนอนหลับ, โรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ
  • Link to doctor
    นพ. วรการ วิไลชนม์

    นพ. วรการ วิไลชนม์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    เวชศาสตร์การนอนหลับ, กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน, โรคหอบหืดและไอเรื้อรัง, เครื่องช่วยหายใจ, วัณโรค
  • Link to doctor
    นพ. เกษม สิริธนกุล

    นพ. เกษม สิริธนกุล

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    โรคหอบหืดและไอเรื้อรัง, หายใจลำบาก, ไอเรื้อรัง, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคถุงลมโป่งพอง, โรคมะเร็งปอด, โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ, โรคปอดบวม, คลินิกหยุดบุหรี่
  • Link to doctor
    รศ.นพ.   จิระพงษ์ อังคะรา

    รศ.นพ. จิระพงษ์ อังคะรา

    • โสต ศอ นาสิกวิทยา
    • เวชศาสตร์การนอนหลับ
    เวชศาสตร์การนอนหลับ, Otolaryngology