ตรวจมะเร็งปากมดลูก Pap Smear ขั้นตอน อายุเท่าไหร่ควรตรวจ - Pap Smear (Cervical Cancer Screening): Procedure and Recommended Age

การตรวจแปปสเมียร์ Pap Smear (Cervical Cancer Screening)

การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear) คือ การเก็บเซลล์เนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกไปส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือ ห้องแล็ป เพื่อหาความผิดปกติของเซลล์ที่เสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกยังสามารถตรวจพบการติดเชื้อรา แบคทีเรีย

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear)

มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับต้น ๆ ของผู้หญิงไทย และเป็นหนึ่งในมะเร็งไม่กี่ชนิดที่สามารถทำการตรวจคัดกรองและรับการรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ก่อนที่จะพัฒนากลายเป็นมะเร็ง การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จึงมีความสำคัญมากในการช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูก

ตรวจมะเร็งปากมดลูก มีกี่แบบ?

ตรวจมะเร็งปากมดลูก หรือ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก คือ การเก็บเซลล์เนื้อเยื่อปากมดลูก และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาความผิดปกติของเซลล์ โดยสามารถตรวจได้ทั้ง 3 แบบ

  1. การตรวจ Pap Smear (แปปสเมียร์) คือวิธีการตรวจแบบดั้งเดิม โดยสูตินรีแพทย์จะใช้ไม้พายขนาดเล็ก ป้ายบริเวณเนื้อเยื่อรอบปากมดลูก และเก็บเซลล์ลงบนแผ่นกระจกสไลด์ และส่งห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาความผิดปกติของเซลล์ด้วยกล้องจุลทรรศน์
  2. การตรวจ ThinPrep Pap Test (ตินเพรพ แปปเทส) เป็นวิธีที่พัฒนาจากการตรวจแบบดั้งเดิม เพื่อให้มีความละเอียดแม่นยำมากขึ้น โดยสูตินรีแพทย์จะใช้แปรงขนาดเล็กป้ายเนื้อเยื่อรอบปากมดลูก และเก็บเซลล์ลงในน้ำยาที่มีคุณสมบัติเฉพาะในการรักษาสภาพ และส่งห้องปฏิบัติการเพื่อใช้เครื่องปั่นแยกเซลล์ปากมดลูกออกจากมูกและเซลล์เม็ดเลือดที่ปนเปื้อน เพื่อให้สามารถตรวจความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
  3. การตรวจหาเชื้อไวรัส HPV DNA มักทำการตรวจควบคู่ไปพร้อมกับการตรวจ ThinPrep pap test เพื่อค้นหาการติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงในการทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก โดยการตรวจทั้งสองอย่างนี้ เรียกว่า Co-Test ซึ่งเป็นการตรวจที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพสูง

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก สามารถตรวจพบการติดเชื้อรา หรือ แบคทีเรียในช่องคลอดได้ด้วย แต่ไม่สามารถตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองใน หนองในเทียมได้ ต้องทำการตรวจแยกเพิ่มเติม

ตรวจมะเร็งปากมดลูก ตรวจ Pap Smear

ตรวจมะเร็งปากมดลูก อายุเท่าไหร่ควรเริ่มตรวจ และความถี่ในการตรวจต้องบ่อยแค่ไหน?

  1. แนะนำเริ่มตรวจคัดกรองในสตรีอายุ 21 ปีขึ้นไป หรือ เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้วอย่างน้อย 1 ปี
  2. สตรีที่อายุ 21-29 ปี ควรได้รับการตรวจเซลล์ปากมดลูก (Pap Smear หรือ ThinPrep pap test) ทุกปี หากผลปกติต่อเนื่อง 3 ครั้ง สามารถตรวจทุก 2 ปีได้
  3. สตรีที่อายุ 30 ปีขึ้นไป แนะนำให้ตรวจหาเชื้อไวรัส HPV หรือ Co-test ถ้าหากผลตรวจปกติให้ทำการตรวจซ้ำทุก 3-5 ปี
  4. ไม่มีเกณฑ์อายุที่กำหนดการหยุดตรวจคัดกรอง หากมีความเสี่ยงหรือยังมีเพศสัมพันธ์
  5. สตรีที่เคยได้รับการรักษารอยโรคก่อนเป็นมะเร็ง (CIN 2-3/AIS) หรือมะเร็งปากมดลูก ยังคงมีความเสี่ยงสูงต่อการคงอยู่หรือกลับเป็นซ้ำของโรค จึงควรได้รับการตรวจติดตามเป็นระยะตามคำแนะนำของแพทย์
  6. สตรีที่ได้รับการผ่าตัดเอามดลูกรวมทั้งปากมดลูกออกแล้ว และไม่มีประวัติเคยตรวจพบรอยโรคก่อนเป็นมะเร็ง หรือมะเร็งปากมดลูก อาจไม่ต้องเข้ารับการตรวจคัดกรอง แต่ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาเป็นราย ๆ ไป

ตรวจมะเร็งปากมดลูก ตรวจ Pap Smear  ป้ายบริเวณเนื้อเยื่อรอบปากมดลูก และเก็บเซลล์ลงบนแผ่นกระจกสไลด์ และส่งห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาความผิดปกติของเซลล์ด้วยกล้องจุลทรรศน์

ก่อนตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ตรวจแปปสเมียร์ ต้องเตรียมตัวอย่างไร?

  • ตรวจมะเร็งปากมดลูก ควรหลีกเลี่ยงการตรวจช่วงที่มีประจำเดือน
  • ตรวจมะเร็งปากมดลูก งดมีเพศสัมพันธ์ งดสวนล้างช่องคลอด งดการใช้ยาสอดช่องคลอด อย่างน้อย 2 วันก่อนทำการตรวจ

เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้อาจมีผลต่อความแม่นยำในการตรวจเซลล์ปากมดลูกได้

ตรวจแปปสเมียร์ มีขั้นตอนอย่างไร?

  • ผู้เข้ารับการตรวจจะเปลี่ยนเป็นชุดที่ทางโรงพยาบาลจัดเตรียมไว้ให้
  • ถ่ายปัสสาวะให้หมดก่อนรับการตรวจ
  • นอนหงาย วางขาบนขาหยั่ง อยู่ในท่าที่ผ่อนคลาย ไม่เกร็ง
  • สูตินรีแพทย์จะทำการสอดเครื่องมือเข้าไปในช่องคลอด เพื่อทำการถ่างขยายให้เห็นปากมดลูกที่อยู่ด้านใน
  • ระหว่างการใส่เครื่องมือและเก็บเซลล์ปากมดลูก อาจรู้สึกถึงแรงกดเล็กน้อยในอุ้งเชิงกราน
  • ขณะทำการตรวจจะมีผู้ช่วยแพทย์หรือพยาบาลผู้หญิงอยู่ด้วยตลอดเวลา
  • หลังได้รับการตรวจ อาจมีความรู้สึกหน่วง ๆ ท้องน้อย หรือมีเลือดออกเล็กน้อยทางช่องคลอด ไม่เกิน 24 ชม. แล้วอาการดังกล่าวจะหายไป
  • ผลการตรวจจะถูกส่งให้ภายหลัง ประมาณ 7-10 วัน

ภาพจากกล้องจุลทรรศน์ในการทดสอบ Pap Smear

ภาพจากกล้องจุลทรรศน์ในการทดสอบ Pap Smear

ผลตรวจ Pap smear

  • ผลลบ (ไม่พบเซลล์ผิดปกติ) หรือ พบการอักเสบเล็กน้อยที่ปากมดลูก: ไม่จำเป็นต้องรับการรักษาเพิ่มเติม ให้ตรวจคัดกรองครั้งถัดไปตามคำแนะนำของแพทย์
  • ตรวจพบการติดเชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด: ควรเข้ามาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อไป
  • ผลบวก (ตรวจพบเซลล์ผิดปกติ): ควรเข้ามาปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการตรวจติดตามหรือการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เช่น การตรวจปากมดลูกด้วยการส่องกล้องคอลโปสโคป
  • สรุปผลไม่ได้ หรือเซลล์ไม่เพียงพอต่อการตรวจ พบได้ในสตรีวัยหมดประจำเดือนหรือมีภาวะช่องคลอดแห้ง อาจจำเป็นต้องรับการตรวจซ้ำ
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อาจให้ผลลบลวง หรือผลบวกลวงได้ และอาจจำเป็นต้องได้รับการตรวจซ้ำ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตรวจมะเร็งปากมดลูก ตรวจแปปสเมียร์

  • การตรวจภายในกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเหมือนกันหรือไม่?
    การตรวจภายใน สูตินรีแพทย์จะตรวจโดยการดูความผิดปกติของอวัยวะเพศภายนอก, ช่องคลอดและปากมดลูกด้วยตาเปล่า รวมทั้งคลำดูขนาดของมดลูกและรังไข่ หรืออวัยวะเพศส่วนอื่น ๆ เพื่อหาความผิดปกติ เช่น ติ่งเนื้อ เนื้องอก หรือถุงน้ำ เป็นต้น และอาจทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกไปในคราวเดียวกันด้วย
  • ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกแล้ว จำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกหรือไม่?
    สตรีที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ควรได้รับการตรวจเช่นเดียวกับสตรีทั่วไป เนื่องจากวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกไม่ได้ครอบคลุมไวรัส HPV ทุกสายพันธ์ที่ก่อมะเร็งซึ่งมีจำนวนมาก

คำแนะนำจากแพทย์โรงพยาบาลเมดพาร์ค

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ตรวจแปปสเมียร์ ไม่น่ากลัวและไม่เจ็บอย่างที่คิด หากได้รับการตรวจกับแพทย์ที่มีความชำนาญ และการตรวจนั้นมีความจำเป็น เนื่องจากหากพบเซลล์ที่ผิดปกติหรือเซลล์มะเร็งตั้งแต่ระยะแรก จะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพและผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ หากท่านมีข้อสงสัยหรือกังวลใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกสูตินรีเวช ชั้น 7 เคาน์เตอร์ D โรงพยาบาลเมดพาร์ค โทร. 02-090-3135

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 24 พ.ค. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    รศ.นพ. ธีระพงศ์ เจริญวิทย์

    รศ.นพ. ธีระพงศ์ เจริญวิทย์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    รศ.นพ. บุญชัย เอื้อไพโรจน์กิจ

    รศ.นพ. บุญชัย เอื้อไพโรจน์กิจ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    พญ. มัฏฐวัณณ์ จามิกร

    พญ. มัฏฐวัณณ์ จามิกร

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    พญ. ศศิวรรณ สุทัสน์มาลี

    พญ. ศศิวรรณ สุทัสน์มาลี

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    พญ. กมลภัทร วิจักขณ์พันธ์

    พญ. กมลภัทร วิจักขณ์พันธ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ธีระภัทร เจริญวิทย์

    ผศ.นพ. ธีระภัทร เจริญวิทย์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine, Fetal Anomalies, Fetal Cardiology
  • Link to doctor
    นพ. นพดล ไชยสิทธิ์

    นพ. นพดล ไชยสิทธิ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ศักนัน มะโนทัย

    ผศ.นพ. ศักนัน มะโนทัย

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    พญ. ศรพิณ อามาตย์ทัศน์

    พญ. ศรพิณ อามาตย์ทัศน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine