อาการแท้งลูก สาเหตุที่แท้งลูก ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้แท้ง - Miscarriage: Symptoms, Causes, Risk factors and Preventions

การแท้งบุตร แท้งลูก (Miscarriage)

การแท้งบุตร แท้งลูก คือการตั้งครรภ์ยุติลงโดยไม่คาดคิดภายใน 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ราว 80% ของการแท้งบุตรเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกหรือ 14 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ซึ่งมักเกิดได้จากหลายสาเหตุ เป็นภาวะที่ไม่สามารถควบคุมได้

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


การแท้งบุตร แท้งลูก คืออะไร?

การแท้งบุตร แท้งลูก คือการตั้งครรภ์ยุติลงโดยไม่คาดคิดภายใน 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ราว 80% ของการแท้งบุตรเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกหรือ 14 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ซึ่งมักเกิดได้จากหลายสาเหตุ เป็นภาวะที่ไม่สามารถควบคุมได้

การแท้งบุตร แท้งลูกมีกี่ประเภท?

  1. ภาวะแท้งบุตรคุกคาม (Threatened Miscarriage) แท้งคุมคาม เกิดขึ้นเมื่อปากมดลูกปิดอยู่ แต่มีเลือดออกแต่ยังตรวจพบการเต้นหัวใจทารก อย่างไรก็ตามการตั้งครรภ์สามารถดำเนินต่อไปได้ โดยอาจจำเป็นต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดจนกว่าจะคลอดบุตร 
  2. การแท้งบุตรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ (Inevitable Miscarriage) การแท้งที่เลี่ยงไม่ได้ คือปากมดลูกเปิด และอาจมีน้ำคร่ำออกมา ซึ่งมักนำไปสู่การแท้งครบ (Complete Miscarriage) 
  3. การแท้งบุตรครบ (Complete Miscarriage) แท้งครบ หมายถึงเลือดและเนื้อเยื่อของตัวอ่อนออกมาทางช่องคลอดโดยสมบูรณ์ครบ
  4. การแท้งบุตรค้าง (Missed Miscarriage) แท้งค้างโดยสตรีตั้งครรภ์ไม่ทราบว่าแท้งบุตร เนื่องจากไม่มีอาการแสดงใด ๆ แพทย์จะยืนยันการแท้งค้างหลังจากการตรวจด้วยอัลตราซาวด์และไม่พบการเต้นของหัวใจของตัวอ่อน  
  5. ภาวะแท้งบุตรซ้ำ (Recurrent Miscarriage) การแท้งซ้ำเกิดขึ้นในผู้ที่แท้งติดต่อกันตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป โดยพบได้ราว 1% ของสตรีตั้งครรภ์

อาการแท้งลูก ปวดท้องรุนแรง มีเลือกออกตอนท้อง - Miscarriage: vaginal spotting or bleeding, which can be painful in some individuals.

การแท้งบุตร แท้งลูก มีสาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง?

การแท้ง เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การติดเชื้อ การสัมผัสกับกลุ่มโรค TORCH ฮอร์โมนไม่สมดุล การฝังตัวของตัวอ่อนไม่สมบูรณ์ อายุของมารดา ความผิดปกติของมดลูก ภาวะปากมดลูกหลวม การขาดสารอาหารรุนแรง การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การใช้สารเสพติด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคลูปัส โรคไตรุนแรง โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ โรคไทรอยด์ การสัมผัสกับรังสี และการใช้ยา เช่น ยารักษาสิว isotretinoin

โดยราว 50% ของการแท้งในช่วงไตรมาสแรกนั้นเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมของตัวอ่อน ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อไข่หรือตัวอสุจิมีจำนวนโครโมโซมผิดปกติ ตัวอ่อนที่เกิดมาจึงมีจำนวนโครโมโซมไม่ปกติ นำไปสู่การแท้งบุตร

ส่วนความเชื่อที่ว่าความเครียด การออกกำลังกาย การมีเพศสัมพันธ์ และการเคยใช้ยาคุมกำเนิดเป็นเวลานานอาจทำให้แท้งบุตรได้นั้น ณ ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุนความเชื่อเหล่านี้

การแท้งบุตร แท้งลูกมีอาการอย่างไร?

อาการของการแท้งบุตร แท้งลูก จะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางรายอาจปวดท้องรุนแรงและมีเลือดออกมาก ในขณะที่บางรายอาจมีอาการคล้ายปวดประจำเดือน หรือบางรายอาจไม่ทราบเลยว่าแท้งจนกระทั่งแพทย์ทำการตรวจอัลตราซาวด์ตามนัด อาการที่พบได้มีดังนี้

  • มีเลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งบางรายอาจมีอาการปวดร่วมด้วย 
  • ปวดท้องน้อยหรือปวดหลังด้านล่าง ความรุนแรงของอาการปวดนั้นมักขึ้นอยู่กับประเภทของการแท้ง
  • มีก้อนเลือดหรือเนื้อเยื่อออกมาทางช่องคลอด หากทำได้ ให้เก็บก้อนเลือดหรือเนื้อเยื่อใส่กระปุกที่สะอาดเพื่อนำไปให้แพทย์ตรวจสอบเมื่อไปโรงพยาบาล

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้แท้งบุตร แท้งลูก คืออะไร?

  • อายุ สตรีในช่วงอายุ 20 ปีมีความเสี่ยงที่จะแท้งบุตรราว 12% - 15% และความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเป็น 25% ในสตรีที่อายุ 40 ปี โดยความผิดปกติของโครโมโซมเป็นสาเหตุหลักของการแท้งเนื่องจากอายุที่มากขึ้น
  • ประวัติการแท้งบุตร สตรีที่เคยแท้งบุตรมาก่อนมีความเสี่ยงราว 10-25% ที่จะแท้งบุตรอีก 
  • โรคประจำตัว สตรีที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานแบบควบคุมไม่ได้ มีการติดเชื้อ หรือโรคเกี่ยวกับปากมดลูกหรือมดลูกจะมีความเสี่ยงที่จะแท้งสูง

ทำไมแท้งลูก แท้งลูกเกิดจากอะไร - Risk factors for a miscarriage

การแท้งบุตร แท้งลูก มีวิธีการวินิจฉัยอย่างไร?

  • การอัลตราซาวด์ เพื่อดูตัวอ่อนและฟังการเต้นของหัวใจของตัวอ่อน
  • การตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมน hCG โดยระดับฮอร์โมน hCG ที่ต่ำเป็นสัญญาณเตือนของการแท้งบุตร
  • การตรวจภายใน เพื่อดูว่าปากมดลูกเปิดหรือไม่
    ในผู้ที่มีการแท้งซ้ำ แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้
  • การตรวจพันธุกรรม โดยแพทย์อาจนำเนื้อเยื่อตัวอ่อนจากการแท้งมาตรวจ หรือให้คู่สมรสเข้ารับการตรวจการจัดเรียงคาริโอไทป์ (Karyotyping) เพื่อหาภาวะความผิดปกติของโครโมโซม
  • การตรวจเลือด เพื่อตรวจหาความผิดปกติของฮอร์โมนหรือภูมิคุ้มกัน ซึ่งอาจนำไปสู่การแท้งบุตร
  • การส่องกล้องโพรงมดลูก (Hysteroscopy)
  • การส่องกล้องผ่านช่องท้อง (Laparoscopy)

การแท้งบุตร แท้งลูก มีวิธีการรักษาอย่างไร?

เมื่อแท้งบุตร แท้งลูก แพทย์จะทำการอัลตราซาวด์เพื่อดูว่าร่างกายทำการขับเนื้อเยื่อตัวอ่อนออกมาหมดหรือไม่ หากไม่มีเนื้อเยื่อของตัวอ่อนหลงเหลืออยู่ในมดลูก ก็ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาอะไรเพิ่มเติม หากยังมีเนื้อเยื่อตัวอ่อนค้างอยู่ในมดลูก จำเป็นต้องนำเนื้อเยื่อออกมาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เลือดออกมาก หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ

  • การรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด
    หากแท้งบุตรก่อนตั้งครรภ์ครบ 10 สัปดาห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นการตั้งครรภ์ประเภทแท้งค้าง (Missed Miscarriage) สามารถรอเพื่อให้ร่างกายขับเนื้อเยื่อตัวอ่อนและเนื้อเยื่อที่เกิดจากการตั้งครรภ์ออกมาเอง แต่ถ้าหากรอแล้วอาจเกิดความเสี่ยงเป็นอันตรายต่อชีวิตมารดา แพทย์จะให้รับประทานยาเพื่อกระตุ้นให้มดลูกขับเนื้อเยื่อออกมา 
    ในผู้ที่มีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ แพทย์จะให้นอนพัก 2-3 วัน เมื่อเลือดหยุด จึงสามารถกลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่บางรายอาจต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพื่อดูอาการต่อไป ในบางรายหากปากมดลูกเปิด อาจเป็นเพราะปากมดลูกไม่แข็งแรง อาจต้องเข้ารับการเย็บปากมดลูก
  • การรักษาด้วยวิธีผ่าตัด
    หากแท้งบุตร หลังอายุครรภ์ครบ 10 สัปดาห์ขึ้นไป หรือร่างกายไม่ขับเนื้อเยื่อตัวอ่อนออกมา หรือมีภาวะเลือดออกมาก แพทย์จะทำการขูดมดลูก 
    หลังแท้งบุตร ผู้ป่วยอาจรู้สึกไม่สบายตัวหรือมีเลือดออกกะปริดกะปรอยควรงดการมีเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงการสอดใส่สิ่งของใด ๆ เช่น ผ้าอนามัยแบบสอด เข้าไปในช่องคลอด อย่างน้อย 2 สัปดาห์ และควรรีบไปพบแพทย์หากมีอาการเลือดออกทางช่องคลอดมาก มีไข้ หนาวสั่น ปวดมาก เพราะอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณของการติดเชื้อ

ป้องกันการแท้งบุตร แท้งลูก - What are the preventions of miscarriage?

ป้องกันการแท้งบุตร แท้งลูกได้อย่างไร?

แม้ว่าสาเหตุส่วนใหญ่ของการแท้งบุตรนั้นไม่สามารถป้องกันได้ แต่สตรีตั้งครรภ์สามารถดูแลตัวเองเพื่อสุขภาพของบุตรในครรภ์ได้

  • ไปตามนัดตรวจครรภ์ทุกครั้ง หรือปรึกษาแพทย์เพื่อเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และการใช้สารเสพติด
  • รับประทานวิตามินเสริมตามแพทย์สั่ง
  • จำกัดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอยู่ที่วันละไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน (แก้วขนาด 12 ออนซ์ 1 แก้ว) ดูว่าอาหารที่รับประทานมีส่วนผสมของคาเฟอีนหรือไม่ การบริโภคคาเฟอีนมากเกินไปอาจทำให้แท้งบุตรหรือคลอดก่อนกำหนด
  • หากมีโรคประจำตัว ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ

คำถามที่ถามบ่อย

  • หลังแท้งบุตร แท้งลูก สามารถตั้งครรภ์ได้อีกหรือไม่?
    คำตอบคือ ได้ โดยราว 87% ของสตรีที่แท้งบุตรสามารถตั้งครรภ์ได้อีกครั้ง 
  • หลังแท้งบุตร แท้งลูก สามารถเริ่มตั้งครรภ์อีกครั้งได้เมื่อไร?
    สามารถเริ่มตั้งครรภ์ได้อีกครั้งหลังประจำเดือนมาตามปกติ อย่างไรก็ตามควรให้เวลากับตนเองในการรักษากายรักษาใจให้พร้อมก่อนจะเริ่มพยายามตั้งครรภ์อีกครั้ง หากแท้งหลายครั้ง ควรปรึกษาแพทย์เรื่องการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง โดยระหว่างนั้นควรคุมกำเนิดก่อนจนกว่าจะรู้ผลการตรวจวินิจฉัย
  • หลังแท้งบุตร แท้งลูก ควรจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกโศกเศร้าอย่างไร?
    การแท้งบุตรนั้นเป็นเรื่องที่ทำให้ทุกข์ใจได้มากเป็นอย่างยิ่ง การฟื้นฟูอารมณ์และจิตใจจากการแท้งบุตรนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยากกว่าการฟื้นฟูสภาพร่างกาย ควรพูดคุย ปลดปล่อยอารมณ์ความรู้สึกกับคนรัก เพื่อน หรือครอบครัว อยู่ท่ามกลางบุคคลอันเป็นที่รักที่สามารถคอยให้กำลังใจเราได้ หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับมือกับความโศกเศร้า

คำแนะนำจากแพทย์โรงพยาบาลเมดพาร์ค

การเผชิญกับการแท้งบุตร แท้งบูก ส่งผลอย่างยิ่งต่อผู้ที่กำลังจะเป็นพ่อและแม่ อย่างไรก็ตามควรทำความเข้าใจว่าการแท้งบุตรนั้นอาจเกิดขึ้นได้ และไม่ใช่ข้อบ่งชี้ของภาวะมีบุตรยาก ผู้ที่แท้งบุตรไม่ควรโทษตนเอง และควรให้เวลาตนเองในการดูแลรักษาทั้งกายและใจ เพื่อเตรียมพร้อมต่อการตั้งครรภ์ต่อไปในอนาคต

Miscarriage Infographic Th

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 11 ก.พ. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    รศ.นพ. ธีระพงศ์ เจริญวิทย์

    รศ.นพ. ธีระพงศ์ เจริญวิทย์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    รศ.นพ. บุญชัย เอื้อไพโรจน์กิจ

    รศ.นพ. บุญชัย เอื้อไพโรจน์กิจ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    พญ. มัฏฐวัณณ์ จามิกร

    พญ. มัฏฐวัณณ์ จามิกร

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ศักนัน มะโนทัย

    ผศ.นพ. ศักนัน มะโนทัย

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    พญ. ศรพิณ อามาตย์ทัศน์

    พญ. ศรพิณ อามาตย์ทัศน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    พญ. ศศิวรรณ สุทัสน์มาลี

    พญ. ศศิวรรณ สุทัสน์มาลี

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    นพ. นพดล ไชยสิทธิ์

    นพ. นพดล ไชยสิทธิ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    พญ. กมลภัทร วิจักขณ์พันธ์

    พญ. กมลภัทร วิจักขณ์พันธ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ธีระภัทร เจริญวิทย์

    ผศ.นพ. ธีระภัทร เจริญวิทย์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine, Fetal Anomalies, Fetal Cardiology