ตะคริว (Muscle Cramps) เกิดจากอะไร วิธีแก้เมื่อเป็นตะคริว

ตะคริว (Muscle Cramps)

ตะคริว เกิดจากการที่กล้ามเนื้อมัดหนึ่งหรือหลายมัดเกิดการหดตัวกะทันหัน ทำให้รู้สึกปวดจี๊ดและมักรุนแรง ซึ่งอาจเกิดจากการที่ออกกำลังกายอย่างหนักโดยเฉพาะในเวลาที่อากาศร้อน ยาหรือโรคบางอย่างอาจส่งผลให้เป็นตะคริว

แชร์

ตะคริว

ตะคริว เกิดจากการที่กล้ามเนื้อมัดหนึ่งหรือหลายมัดเกิดการหดตัวกะทันหัน ทำให้รู้สึกปวดจี๊ดและมักรุนแรง ซึ่งอาจเกิดจากการที่ออกกำลังกายอย่างหนักโดยเฉพาะในเวลาที่อากาศร้อน ยาหรือโรคบางอย่างอาจส่งผลให้เป็นตะคริวได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามตะคริวเป็นปัญหาที่ไม่ร้ายแรงและสามารถหายได้โดยการนวดเบา ๆ หรือประคบร้อนหรือเย็นด้วยตนเอง

อาการตะคริว

ตะคริวเกิดได้ในคนทุกเพศทุกวัยแต่มักพบบ่อยในผู้สูงอายุและนักกีฬา และอาจเกิดขึ้นได้ตอนที่กำลังเดิน ออกกำลังกาย นั่ง หรือแม้กระทั่งตอนนอน เมื่อเป็นตะคริวจะรู้สึกไม่สบายตัวเล็กน้อยหรืออาจจะปวดทรมาณมาก กล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวจะแข็งและบิดตัว ซึ่งอาจเป็นนานไม่กี่วินาทีหรือมากกว่า 15 นาที และอาจเป็นซ้ำได้หลายครั้ง

ควรพบแพทย์เมื่อไร

ควรพบแพทย์หากมีอาการรุนแรง อาการไม่ตอบสนองต่อการรักษา หรือเป็นซ้ำบ่อย ๆ

สาเหตุที่ทำให้เป็นตะคริว

ตะคริวอาจเกิดขึ้นหลังจากการที่กล้ามเนื้อถูกใช้งานมาก เหงื่อออกมาก หรืออยู่ในท่าเดียวเป็นเวลานาน ซึ่งทำให้เลือดไหลไปยังกล้ามเนื้อได้ไม่เพียงพอ หรือเส้นประสาทกระดูกสันหลังถูกกดทับอาจเป็นต้นเหตุทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เช่น การรับประทานแคลเซียม โพแทสเซียม และแมกนีเซียมไม่พออาจทำให้เป็นตะคริวที่ขาได้เช่นกัน

ตะคริวอาจเกิดขึ้นได้ หาก

  • ใช้กล้ามเนื้อมากจนเกินไป กล้ามเนื้อล้า
  • ออกกำลังกายในที่ที่อากาศร้อนหรือออกกำลังที่มีความเข้มข้นสูง
  • ยืดกล้ามเนื้อไม่พอ
  • ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
  • ร่างกายสูญเสียเกลือและเกลือแร่ เช่น แคลเซียม โพแทสเซียม และแมกนีเซียม
  • เลือดไหลเวียนไปยังกล้ามเนื้อน้อยเกินไป
  • รู้สึกเครียด
  • เซลล์ประสาทสั่งการปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมามากผิดปกติ

บางคนอาจเป็นตะคริวที่ขาในเวลากลางคืน หากทำกิจกรรมเหล่านี้ในเวลากลางวัน

  • ใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป
  • นั่งไม่ถูกท่าหรือนั่งท่าเดิมนาน ๆ
  • ยืนบนพื้นคอนกรีตนาน ๆ

Muscle Cramps Banner 2

ปัจจัยเสี่ยง

  • อายุที่มากขึ้น
  • ร่างกายไม่แข็งแรง
  • เหงื่อออกมาก
  • ตั้งครรภ์
  • โรคเบาหวานหรือโรคอื่น ๆ เกี่ยวกับเส้นประสาท ตับ หรือไทรอยด์
  • น้ำหนักเกิน

การตรวจวินิจฉัย

แพทย์จะสอบถามอาการ เช่น

  • อาการรุนแรงหรือไม่
  • มักมีอาการเป็นตะคริวเมื่อไร
  • เมื่อเป็นตะคริวแล้ว เป็นนานเท่าไร
  • มีอาการอย่างอื่นอีกหรือไม่

การรักษา

  • หากการเป็นตะคริวนั้นรบกวนการนอนแพทย์อาจจ่ายยาให้รับประทานเพื่อบรรเทาอาการปวด แต่ไม่มียารับประทานหรือยาฉีดใด ๆ ที่ช่วยให้หายเป็นตะคริวได้ทันที
  • การออกกำลังแบบยืดเหยียดช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นตะคริวได้

การดูแลตนเองที่บ้าน

  • การยืดเหยียดและการนวดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวเบา ๆ (ใส่รูปประกอบ)
    • ตะคริวที่น่อง นั่งลง เหยียดขาตรง ดึงปลายเท้าข้างที่ปวดเข้าหาตัว
    • ตะคริวที่ต้นขาด้านหลัง ยืนลงน้ำหนักที่ขาข้างที่เป็นตะคริว
    • ตะคริวที่ต้นขาด้านหน้า ยืนและพับขาใช้มือจับปลายเท้าให้แตะบริเวณบั้นท้าย โดยระหว่างที่ทำอาจใช้มืออีกข้างจับเก้าอี้ประคองตัวไว้ไม่ให้ล้ม
  • การประคบร้อนหรือเย็นเพื่อบรรเทาการกล้ามเนื้อตึงแน่น สามารถวางถุงน้ำร้อน แช่น้ำอุ่น หรือฉีดน้ำอุ่นจากฝักบัวไปที่จุดที่เป็นตะคริว หรืออาจจะใช้น้ำแข็งลูบบริเวณที่เป็นตะคริวเพื่อบรรเทาอาการปวด

การป้องกัน

  • ดื่มน้ำมาก ๆ ทุกวันเพราะกล้ามเนื้อต้องการน้ำเพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ จิบน้ำระหว่างการออกกำลังกายและหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์หลังออกกำลังกาย
  • ยืดกล้ามเนื้อก่อนและหลังออกกำลังกายหรือกิจกรรมใด ๆ ที่จำเป็นต้องใช้กล้ามเนื้อเป็นเวลานาน ก่อนเข้านอนสามารถปั่นจักรยานอยู่กับที่เบา ๆ 2-3 นาทีเพื่อคลายกล้ามเนื้อและป้องกันให้ไม่เป็นตะคริวเวลานอน
  • จิบเครื่องดื่มเกลือแร่ก่อนและหลังออกกำลังกายสามารถป้องกันการเป็นตะคริวได้

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 20 ก.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    รศ.นพ. พงศ์ศักดิ์  ยุกตะนันทน์

    รศ.นพ. พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    Arthroplasty, เวชศาสตร์การกีฬา
  • Link to doctor
    นพ. อนุชาต ลลิตวงศ์ชัย

    นพ. อนุชาต ลลิตวงศ์ชัย

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    เวชศาสตร์การกีฬา, ผ่าตัดส่องกล้องโรคข้อและการบาดเจ็บทางกีฬา
  • Link to doctor
    ดร.นพ. วิรัตน์ คงเจริญสมบัติ

    ดร.นพ. วิรัตน์ คงเจริญสมบัติ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    Arthroscopy, Knee Surgery, Shoulder Surgery
  • Link to doctor
    นพ. ธีระ โรจน์พรประดิษฐ์

    นพ. ธีระ โรจน์พรประดิษฐ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. ถาวร ศิษยนเรนทร์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
  • Link to doctor
    นพ. สรวุฒิ เหล่ารัตนวรพงษ์

    นพ. สรวุฒิ เหล่ารัตนวรพงษ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    Orthopedics Surgery, Sport Injury (Menicus, Cartilage, Ligament)
  • Link to doctor
    พญ. อลิศรา อารีราชการัณย์

    พญ. อลิศรา อารีราชการัณย์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา