Cardiac Arrhythmia Med Park Hospital.jpg

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ Permanent pacemaker

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจฝังอยู่ สามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงอุปกรณ์ที่มีแม่เหล็กหรือกำเนิดสนามแม่เหล็ก ไม่ให้มาใกล้บริเวณที่ฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ

แชร์

เครื่องอุปกรณ์อิเลคโทรนิคเล็ก ๆ ที่แพทย์ฝังในตัวผู้ป่วย เพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาไฟฟ้าหัวใจเสื่อม หัวใจเต้นช้า จนทำให้เกิดอาการ

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจแบบผ่าตัดฝังติดตัวถาวร Permanent Pacemaker จะใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการ เช่น เหนื่อย หน้ามืด หมดสติ ที่เกิดจากหัวใจเต้นช้าจากปัญหาระบบไฟฟ้าหัวใจเสื่อมที่ไม่สามารถแก้ไขสาเหตุได้ ระบบประกอบด้วย สายขั้วไฟฟ้าและตัวเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าซึ่งมีแผงวงจรไมโครคอมพิวเตอร์และแบตเตอร์รี่ ปลายสายขั้วไฟฟ้าด้านหนึ่งแพทย์จะใส่ผ่านหลอดเลือดของผู้ป่วยเข้าไปถึงผนังด้านในของหัวใจ ปลายอีกด้านต่อกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจจะตรวจสัญญาณไฟฟ้าหัวใจโดยตรงผ่านสายขั้วไฟฟ้านี้ และเมื่อหัวใจเต้นช้ากว่าที่ตั้งโปรแกรมไว้ เครื่องจะส่งสัญญาณไฟฟ้าผ่านสายขั้วไฟฟ้าไปกระตุ้นหัวใจให้เต้นในอัตราที่เหมาะสมตามที่โปรแกรมไว้

การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจเป็นหัตถการที่มีความเสี่ยงน้อย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ต้องใข้การดมยาสลบ ใช้เพียงยาชาเฉพาะที่และยานอนหลับ ตำแหน่งที่ฝังเครื่องส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณหน้าอกใต้กระดูกไหปลาร้า หลังการผ่าตัด เมื่อแผลหายดีแล้ว ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตและทำกิจกรรมชีวิตประจำวันได้ตามปกติ


แพทย์จะนัดผู้ป่วยมาติดตาม ตรวจเช็คการทำงานของเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ระดับแบตเตอร์รี่ที่เหลือ ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานและภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางอย่างที่บันทึกในเครื่องเพื่อปรับโปรแกรมหรือแนะนำการตรวจรักษาอื่น ๆ ที่จำเป็นและเหมาะสมเพิ่มเติม

ผู้ป่วยที่มีเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจฝังอยู่ สามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงอุปกรณ์ที่มีแม่เหล็กหรือกำเนิดสนามแม่เหล็ก ไม่ให้มาใกล้บริเวณที่ฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ

ผู้ป่วยสามารถใช้โทรศัพท์มือถือทั่วไปได้ แต่ควรระวังไม่มาวางหรือถือใกล้บริเวณที่ฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจกว่า 6 นิ้ว (15 เซนติเมตร) โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งมีส่วนประกอบของแม่เหล็กมากขึ้น (สำหรับการชาร์ตแบบไร้สาย) ซึ่งอาจมีผลรบกวนการทำงานของเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจได้

บทความโดย

  • นพ. ไพศาล บุญศิริคำชัย
    นพ. ไพศาล บุญศิริคำชัย แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด เฉพาะทางด้านการตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ

เผยแพร่เมื่อ: 17 ก.พ. 2021

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. วิพัชร พันธวิมล

    นพ. วิพัชร พันธวิมล

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
  • Link to doctor
    นพ. อนุรุธ ฮั่นตระกูล

    นพ. อนุรุธ ฮั่นตระกูล

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
  • Link to doctor
    นพ. วรวุฒิ รุ่งประดับวงศ์

    นพ. วรวุฒิ รุ่งประดับวงศ์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
    การตรวจวินิจฉัยทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ, อายุรศาสตร์โรคหัวใจ
  • Link to doctor
    พญ. ศนิศรา จันทรจำนง

    พญ. ศนิศรา จันทรจำนง

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
    หัวใจเต้นผิดจังหวะ, การตรวจวินิจฉัยทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, ผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ
  • Link to doctor
    พญ. จิรภา แจ่มไพบูลย์

    พญ. จิรภา แจ่มไพบูลย์

    • เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
    เวชศาสตร์ฟื้นฟู, การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ
  • Link to doctor
    นพ. ไพศาล บุญศิริคำชัย

    นพ. ไพศาล บุญศิริคำชัย

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
    อายุรกรรมโรคหัวใจ, การตรวจวินิจฉัยทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ