สาเหตุ อาการโรคโปลิโอ วัคซีนป้องกันโปลิโอสูตรใหม่ - Causes, Symptoms of Polio, New vaccine formulation 2

โปลิโอ (Polio)

โปลิโอ (Polio) หรือโรคไข้ไขสันหลังอักเสบ คือโรคติดเชื้อร้ายแรงเฉียบพลันที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนเข้าทำลายระบบประสาทส่วนกลาง และเซลล์ประสาทสั่งการทำให้กล้ามเนื้อ

แชร์

โปลิโอ (Polio)

โปลิโอ (Polio) หรือโรคไข้ไขสันหลังอักเสบ คือโรคติดเชื้อร้ายแรงเฉียบพลันที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนเข้าทำลายระบบประสาทส่วนกลาง และเซลล์ประสาทสั่งการทำให้กล้ามเนื้อฝ่อ เป็นอัมพาตอ่อนเปียก (Flaccid paralysis) ขยับแขนขาไม่ได้ หายใจลำบาก และอาจเป็นเหตุให้พิการและเสียชีวิตได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่ไม่เคยได้รับวัคซีน สำหรับประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2566 เป็นต้นไป มีการปรับสูตรวัคซีนป้องกันโปลิโอเป็นสูตรใหม่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงพิการ ผู้ปกครองสามารถพาบุตรหลานที่อายุครบกำหนด เข้ารับวัคซีนป้องกันได้ที่โรงพยาบาลทุกแห่ง

โปลิโอ มีสาเหตุเกิดจากอะไร?

โปลิโอ (Polio, poliomyelitis) มีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งมีอยู่ 3 สายพันธุ์ เป็นไวรัสในกลุ่ม Enterovirus ตระกูลเดียวกันกับไวรัสโรคโรคมือ เท้า ปาก และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โดยการรับเอาเชื้อไวรัสเข้าทางปากผ่านการทานอาหาร หรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป โดยเมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกายจะเดินทางเข้าสู่ต่อมทอนซิล เพิ่มจำนวนในลำคอ เดินทางต่อสู่กระเพาะอาหาร ผ่านลงลำไส้ที่เป็นรังโรค แล้วจึงแบ่งตัวลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง ตับ ม้าม โดยมีเพียง 1-2% เท่านั้นที่ไวรัสจะแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด เซลล์ประสาทไขสันหลังและก้านสมอง เข้าทำลายระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) และเซลล์ประสาทสั่งการ (Motor neuron) ที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อฝ่อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง และเป็นอัมพาต

โปลิโอ ติดต่อได้อย่างไร?

โปลิโอเป็นโรคติดต่อที่แพร่กระจายจากคนสู่คนได้ง่ายผ่านการรับเอาเชื้อไวรัสโปลิโอที่ถูกขับออกจากร่างกายของผู้ที่ติดเชื้อ 2 ช่องทาง คือทางปาก และทางอุจจาระเข้าสู่ร่างกายของอีกผู้หนึ่งจนทำให้เกิดการติดเชื้อ โปลิโอสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ดังนี้

  1. ทางปาก-ปาก (Oral-oral route) โดยเชื้อไวรัสที่สะสมอยู่ที่บริเวณลำคอ (Oropharynx) และทางเดินอาหารส่วนบน (Upper GI tract) ของผู้ที่มีเชื้อไวรัสโปลิโอถูกขับออกมาผ่านสารคัดหลั่ง (Pharyngeal secretion) เช่น เสมหะ หรือละอองฝอยจากการไอจามหกรดลงไปในอาหาร หรือน้ำดื่มและเข้าสู่ปากของอีกคนหนึ่ง
  2. ทางอุจจาระ-ปาก (Fecal-oral route) ในพื้นที่ที่สุขอนามัยไม่ได้มาตรฐาน หรือสาธารณะสุขขั้นพื้นฐานไม่ได้รับการพัฒนา สามารถพบการระบาดของไวรัสโปลิโอจากคนสู่คนผ่านทางอุจจาระ โดยเชื้อไวรัสที่สะสมอยู่ที่บริเวณลำไส้ (Intestines) ที่ถูกขับถ่ายออกมา ติดมือเข้าสู่ร่างกายของอีกคนหนึ่งผ่านการใช้มือที่ไม่สะอาดหยิบจับอาหารเข้าสู่ปาก


โปลิโอ มีอาการอย่างไร
?

ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโปลิโอมีอาการแตกต่างกันตามแต่ละบุคคลและสามารถเป็นพาหะนำโรคสู่ผู้อื่นได้ โดยผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่มีอาการแสดงใด ๆ ผู้ที่ติดเชื้อเพียง 1-2% เท่านั้นที่จะมีการดำเนินโรคเข้าสู่ระดับอาการรุนแรงที่ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นอัมพาต อาการของโรคโปลิโอสามารถจำแนกออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

  1. กลุ่มที่ไม่มีอาการ (Asymptotic) ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโปลิโอราว 70-90% ไม่มีอาการใด ๆ และสามารถเป็นพาหะนำโรคสู่ผู้อื่นได้
  2. กลุ่มที่มีอาการเพียงเล็กน้อย (Abortive poliomyelitis, minor illness) พบราว 5% โดยมีอาการคล้ายไข้หวัด และมีอาการในระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า เบื่ออาหาร มีไข้ต่ำ เจ็บคอ ปวดศีรษะ อาเจียน ปวดท้องหรือท้องผูก จากนั้น 2-3 วันอาการจึงหายเป็นปกติโดยไม่มีอาการอัมพาต
  3. กลุ่มที่มีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Non-paralytic poliomyelitis) พบได้น้อยมากเพียง 1% เท่านั้นโดยอาจมีอาการของกลุ่ม Abortive poliomyelitis นำมาก่อน แล้วตามมาด้วยอาการปวดต้นคอ คอแข็งเกร็งชัดเจน ปวดศีรษะรุนแรง รู้สึกเจ็บแปลบเหมือนมีหนามทิ่มตำที่แขนขา ปวดกล้ามเนื้อ มีภาวะตาแพ้แสง (Photophobia) การตอบสนองของกล้ามเนื้อลดลง และกล้ามเนื้ออ่อนแรง จากนั้นราว 1-2 สัปดาห์ อาการจึงหายเป็นปกติโดยไม่มีอาการอัมพาต
  4. กลุ่มที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Paralytic poliomyelitis) เป็นอาการของโรคโปลิโอที่มีความรุนแรงที่สุด และพบได้ยากที่สุดราว 1-2% โดยแบ่งอาการออกได้เป็น 2 ระยะ ดังนี้
    • 4.1 กลุ่มที่มีอาการอัมพาตระยะที่ 1 มีอาการคล้ายคลึงกับกลุ่มที่มีอาการเพียงน้อย และกลุ่มเยื่อหุ้มสมองอักเสบนำมาก่อน โดยมีไข้ 3-4 วันหายและกลับมาเป็นใหม่ ตามมาด้วยอาการปวดกล้ามเนื้ออย่างแรงทั่วร่างกาย มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแบบเฉียบพลันหรือค่อยเป็นค่อยไป มีอาการเกร็งกล้ามเนื้อนำมาก่อนแล้วจึงเริ่มเป็นอัมพาตที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยรีเฟล็กซ์ (Reflex) หรือการตอบสนองของระบบประสาทอัตโนมัติจะค่อย ๆ ลดลงก่อนที่จะมีอาการอัมพาตโปลิโออย่างเต็มที่ภายใน 48 ชั่วโมง ร่วมกับอาการดังนี้ เช่น อัมพาตอ่อนเปียก (Flaccid paralysis) เป็นอัมพาตโปลิโอที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเป็นอัมพาตที่แขน ขา หรือกล้ามเนื้อลำตัว หน้าอก หน้าท้อง โดยพบที่ขามากกว่าแขนโดยเฉพาะบริเวณต้นขาหรือต้นแขนมากกว่าส่วนปลายอวัยวะ และจะเป็นที่ขาเพียงข้างเดียวมากกว่าขาทั้ง 2 ข้าง (Asymmetry) แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบความรู้สึก (Sensory)
    • 4.2 กลุ่มที่มีอาการอัมพาตระยะที่ 2 เป็นอัมพาตโปลิโอระดับรุนแรงเฉียบพลันที่เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเส้นประสาทสมองในส่วนที่เชื่อมกับก้านสมอง (Medulla oblongata) ที่ทำหน้าที่ควบคุมการหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต การกิน การกลืน และการพูด ทำให้หายใจลำบาก กลืนลำบาก พูดลำบาก อาจทำให้ระบบทางเดินหายใจเป็นอัมพาตและเสียชีวิตในที่สุด


การวินิจฉัยโปลิโอ มีวิธีการอย่างไร
?

แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคโปลิโอโดยการซักประวัติ ทำการตรวจร่างกาย และตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการเพื่อแยกโรคและยืนยันโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนหรือมีการเดินทางไปยังถิ่นระบาด หรือผู้ที่มีอาการอัมพาตแบบอ่อนเปียก (Acute flaccid paralysis: AFP) โดยแพทย์จะมีวิธีการวินิจฉัยดังนี้

  1. การตรวจร่างกาย (Physical examination) ทดสอบรีเฟล็กซ์ (Reflex) หรือปฏิกิริยาตอบสนองของกล้ามเนื้อหากมีความผิดปกติในการตอบสนอง โดยการใช้ค้อนยางเคาะเพื่อดูปฏิกิริยาของกล้ามเนื้อ ข้อเข่า ข้อเท้า ตรวจร่างกายหากมีอาการคอแข็งเกร็ง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปัสสาวะไม่ออก ท้องผูก กลืนลำบาก พูดลำบาก
  2. การเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคติดเชื้อเอนเทอโร (Lab testing for enteroviruses)
    • การตรวจสารคัดหลั่งจากลำคอ (Oropharyngeal swab) เป็นการใช้ไม้ป้ายลำคอเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งส่งตรวจยังห้องปฏิบัติการเพื่อหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสในช่วงสัปดาห์แรกที่สงสัยว่าอาจมีการติดเชื้อ
    • การตรวจอุจจาระ (Stool examination) เป็นการเก็บตัวอย่างอุจจาระส่งตรวจยังห้องปฏิบัติการเพื่อค้นหาเชื้อไวรัสจำเพาะต่อโรคโปลิโอ ทั้งนี้ ตัวอย่างเสมหะ หรือสารคัดหลั่งจากลำคอสามารถใช้ตรวจได้ในช่วงสัปดาห์แรกเท่านั้น ไม่สามารถนำไปตรวจหาเชื้อได้ในสัปดาห์ถัดไป การตรวจหาเชื้อไวรัสด้วยวิธีการตรวจอุจจาระจึงที่มีความแม่นยำกว่า
    • การตรวจน้ำไขสันหลัง (Cerebrospinal fluid examination) เพื่อแยกโรคโปลิโอออกจากโรคทางระบบประสาทอื่น ๆ
    • การตรวจทางระบบประสาท/การตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า (Neuroimaging/Electrodiagnostic testing) เป็นการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาความผิดปกติของระบบประสาทส่วนปลายและกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดต่าง ๆ
    • การตรวจหาปริมาณภูมิคุ้มกันร่างกาย (Antibody level test) เป็นการตรวจแอนติบอดีจำเพาะที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อต่อสู้กับไวรัสหลังติดเชื้อ
    • การตรวจพีซีอาร์ (Polymerase chain reaction: PCR) เป็นการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโปลิโอในร่างกาย
    • การเพาะเชื้อ (Culture) เป็นการนำสารคัดหลั่งในร่างกายมาเพาะเลี้ยงในน้ำเลี้ยงเชื้อชนิดพิเศษเพื่อวินิจฉัยโรค


    การรักษาโปลิโอ มีวิธีการอย่างไร
    ?

    โปลิโอเป็นโรคที่ไม่วิธีรักษาให้หาย การรักษาโรคโปลิโอจึงเน้นการรักษาตามอาการและการทำกายภาพบำบัดเพื่อเร่งฟื้นฟูกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ด้วยวิธีการดังนี้

    • การนอนพักผ่อนให้เพียงพอ และให้การดูแลอย่างใกล้ชิด
    • การให้ยาแก้ปวด เช่น ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) เพื่อบรรเทาอาการปวด
    • การใช้เครื่องช่วยหายใจแบบพกพา (Portable ventilators) เพื่อช่วยในการหายใจ
    • การประคบอุ่นเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ และอาการกล้ามเนื้อกระตุก
    • การฝึกกลืน (Swallowing exercise) โดยการบริหารกล้ามเนื้อรอบปากและลิ้น ฝึกการดื่มน้ำ การทานอาหารเหลว
    • การเข้าเฝือก (Splint) หรืออุปกรณ์ช่วยยึดลำตัวเพื่อช่วยจัดกระดูกสันหลัง และแขนขาให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
    • การทำกายภาพบำบัด (Physical therapy) เพื่อป้องกันกระดูกผิดรูป และการสูญเสียกล้ามเนื้อ

    วัคซีนป้องกันโปลิโอชนิดหยอด

    ภาวะแทรกซ้อนโรคโปลิโอ เป็นอย่างไร?

    ภาวะแทรกซ้อนของโรคโปลิโอที่ร้ายแรงที่สุดคือการเป็นอัมพาตที่ระบบทางเดินหายใจที่ทำให้หายใจลำบาก และอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้ ภาวะแทรกซ้อนของโรคโปลิโออื่น ๆ ได้แก่

    • อาการอัมพาตถาวร เดินไม่ได้ กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการอ่อนเพลียเหนื่อยล้า
    • อาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อรุนแรงแบบเรื้อรังบริเวณขา เอว ข้อมือ ศีรษะ
    • กลืนลำบาก พูดลำบาก ที่อาจทำให้เกิดการสำลัก
    • กล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจอ่อนแรงและฝ่อลีบ ทำให้หายใจลำบาก หายใจไม่เต็มที่ หรือหยุดหายใจขณะหลับ
    • การหดตัวของกล้ามเนื้อที่ทำให้กระดูกหรือข้อต่าง ๆ ผิดรูป
    • ภาวะหลังแบน (Flat-back syndrome) ลำตัวโค้งเอนไปทางด้านหน้า ไม่สามารถยืนตรงได้เนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง


    การป้องกันโรคโปลิโอ มีวิธีการอย่างไร
    ?

    วิธีการการป้องกันโรคโปลิโอที่ดีที่สุดคือการรับฉีดวัคซีนป้องกัน และหยอดวัคซีนกระตุ้นซ้ำจนครบกำหนด และปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติดังนี้

    1. การรับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ (IPV, OPV) โดยแพทย์กำหนดให้รับวัคซีนทั้งสิ้น 5 ครั้งเมื่อมีอายุครบ 2, 4, 6, และ 18 เดือน และรับวัคซีนกระตุ้นครั้งสุดท้ายเมื่อมีอายุครบ 4 ปี
    2. การปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยที่ถูกต้อง ล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร การขับถ่ายให้ถูกสุขลักษณะ


    วัคซีนป้องกันโปลิโอสูตรใหม่

    สำหรับประเทศไทย กำหนดให้วัคซีนโปลิโอเป็นวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็กทุกคน โดยตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2566 เป็นต้นไป มีการปรับสูตรวัคซีนโปลิโอแบบใหม่ให้เป็นแบบ 2 IPV + 3 OPV หรือฉีด 2 ครั้ง หยอด 3 ครั้ง เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงพิการ วัคซีนป้องกันโปลิโอแบบใหม่ มีรายละเอียดดังนี้

    1. วัคซีนป้องกันโปลิโอชนิดฉีด (Inactivated poliomyelitis vaccine: IPV) เป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็น (Live attenuated vaccine) โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ 2 เข็ม เข็มแรกเมื่ออายุครบ 2 เดือน และเข็มที่สอง เมื่ออายุครบ 4 เดือน
    2. วัคซีนป้องกันโปลิโอชนิดหยอด (Oral polio vaccine: OPV) เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated virus vaccine) โดยการหยอดวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ (OPV) 3 ครั้ง เมื่ออายุครบ 6 เดือน 18 เดือน และเมื่ออายุครบ 4 ขวบ

    วัคซีนป้องกันโปลิโอสูตรใหม่

    โปลิโอ โรคร้ายที่ป้องกันได้ด้วยการรับวัคซีน

    โปลิโอเป็นโรคติดต่อร้ายแรงจากคนสู่คนที่เป็นเหตุให้พิการและเสียชีวิตซึ่งในปัจจุบันยังไม่พบวิธีการรักษาให้หาย ในประเทศไทยไม่พบผู้ป่วยโปลิโอตั้งแต่ปี 2540 แต่กระทรวงสาธารณสุขและกรมควบคุมโรคยังคงจัดให้โปลิโอเป็นโรคที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวัง เนื่องจากในช่วง 3 ปีหลังมีแนวโน้มการระบาดโดยมีผู้ติดเชื้อในหลายประเทศเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชีย

    โปลิโอเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้โดยรับการรับวัคซีน คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานอายุครบกำหนด 2 เดือนสามารถพาบุตรหลานเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอเข็มแรก เข็มถัดไป และหยอดวัคซีนซ้ำจนครบกำหนดได้ที่โรงพยาบาลทุกแห่ง รวมทั้งปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยที่ถูกต้อง กินร้อน ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ ทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ และสะอาด เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ปลอดภัย และห่างไกลจากโรคโปลิโอได้

    Polio Vaccine for Kids   Infographic Th (1)

    บทความโดย

    เผยแพร่เมื่อ: 19 ก.ค. 2023

    แชร์

    แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. พีระวงษ์ วีรารักษ์

    นพ. พีระวงษ์ วีรารักษ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. จักกพัฒน์ วนิชานันท์

    นพ. จักกพัฒน์ วนิชานันท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. รพีพรรณ  รัตนวงศ์นรา มอร์ด

    พญ. รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    สุขภาพนักเดินทาง การให้วัคซีน และประเมินสุขภาวะก่อนและหลังกลับจากต่างประเทศหรือพื้นที่เสี่ยง, โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ, การติดเชื้อทางเดินอาหาร, โรคติดเชื้อทั่วไป และการให้วัคซีน, การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ รวมทั้งโรคแทรกซ้อน, การติดเชื้อในระบบประสาท , โรคหนอนพยาธิ, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง , โรคติดเชื้อที่เนื้อเยื่อ, โรคติดเชื้อที่กระดูก, โรคติดเชื้อที่ข้อ, โรคติดเชื้อทางเขตร้อน, การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ถนอมศักดิ์ อเนกธนานนท์

    ผศ.นพ. ถนอมศักดิ์ อเนกธนานนท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ รวมทั้งโรคแทรกซ้อน, วัคซีน, โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, สุขภาพนักเดินทาง การให้วัคซีน และประเมินสุขภาวะก่อนและหลังกลับจากต่างประเทศหรือพื้นที่เสี่ยง, โรคติดเชื้อทางเขตร้อน
  • Link to doctor
    รศ.นพ. พอพล โรจนพันธุ์

    รศ.นพ. พอพล โรจนพันธุ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    อายุรกรรมทั่วไป, อายุรกรรมผู้สูงอายุ
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. มนต์เดช สุขปราณี

    ผศ.นพ. มนต์เดช สุขปราณี

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ รวมทั้งโรคแทรกซ้อน, การจัดการโรคไวรัสตับอักเสบชนิดซีและการปฏิบัติตัว, โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, การติดเชื้อในเวชบำบัดวิกฤต
  • Link to doctor
    พญ.  ศิรญา ไชยะกุล

    พญ. ศิรญา ไชยะกุล

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    รศ.พญ. สิริอร วัชรานานันท์

    รศ.พญ. สิริอร วัชรานานันท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, โรคติดเชื้อทั่วไป, การติดเชื้อในเวชบำบัดวิกฤต, โรคติดเชื้อหลังปลูกถ่ายอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก, โรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อราลุกลามหรือไวรัส