สาเหตุ อาการ การตรวจวินิจฉัยและการรักษาหนังตาตก - Ptosis (Drooping eyelids) Causes, Symptoms, Diagnosis and Treatment

หนังตาตก (Ptosis)

ภาวะหนังตาตก เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยอาจมีอาการเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ บางรายอาจมีภาวะหนังตาตกมาตั้งแต่กำเนิด แต่บางรายมีอาการเมื่ออายุมากขึ้นหรืออาจเป็นผลจากโรคอื่น

แชร์

หนังตาตก 

ภาวะหนังตาตก เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยอาจมีอาการเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ บางรายอาจมีภาวะหนังตาตกมาตั้งแต่กำเนิด แต่บางรายมีอาการเมื่ออายุมากขึ้นหรืออาจเป็นผลจากโรคอื่น ๆ ได้ 

อาการหนังตาตก 

  • เปลือกตาบนหย่อนลงมา อาจบดบังการมองเห็น
  • ใบหน้าดูเหนื่อยล้าตลอดเวลา เนื่องจากหนังตาที่ตกลงมามากกว่าปกติ
  • บางรายต้องเงยหน้าเพื่อให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ชัดขึ้น 

สาเหตุ หนังตาตกเกิดจากอะไร?

  • ภาวะหนังตาตกอาจเกิดจากกล้ามเนื้อตาพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ทำให้เกิดภาวะหนังตาตกตั้งแต่กำเนิดในเด็ก ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะตาขี้เกียจ ส่งผลต่อความสามารถในการมองเห็นถาวรในอนาคต
  • เมื่ออายุมากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อตาซึ่งทำหน้าที่ยกเปลือกตายืดออก ส่งผลให้ตำแหน่งเปลือกตาบนตกลงมา เป็นสาเหตุทำให้หนังตาตกได
  • สาเหตุจากโรคร้ายแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอกในสมอง หรือมะเร็งที่เส้นประสาทและกล้ามเนื้อ โรคทางระบบประสาท เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงอาจทำให้เส้นประสาทและกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ทำให้หนังตาตก
  • ตากุ้งยิง จากน้ำหนักและอาการบวมของตากุ้งยิง อาจทำให้เปลือกตาหย่อนลงมาได้ชั่วคราว
  • อุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนเส้นประสาทหรือกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเปิดตา
  • เป็นหลังการผ่าตัดตาหลาย ๆ ครั้ง 

การตรวจวินิจฉัยอาการหนังตาตก

  • การซักประวัติและตรวจร่างกายเพื่อประเมินสาเหตุของภาวะหนังตาตก ระยะเวลาที่มีอาการ
  • การตรวจตาผ่านกล้องโดยจักษุแพทย์
  • ในบางรายอาจต้องตรวจเพิ่มเติม เช่น การใช้น้ำแข็งประคบเปลือกตาในการตรวจกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงหรือเจาะเลือดเพิ่มเติม 

การรักษาหนังตาตก

  • การผ่าตัด: แนะนำให้ผ่าตัดหากมีภาวะหนังตาตกตั้งแต่กำเนิดที่มีข้อบ่งชี้หรือจากอายุที่มากขึ้นที่กระทบชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยบรรเทาอาการ โดยจะทำให้กล้ามเนื้อเปลือกตาหดแน่นขึ้น และยกเปลือกตาไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม การผ่าตัดยังช่วยป้องกันโรคตาขี้เกียจในเด็ก การรักษาด้วยวิธีนี้อาจมีความเสี่ยง เช่น มีเลือดออกในเนื้อเยื่อบริเวณที่ผ่าตัด ตาแห้งมากขึ้น การผ่าตัดอีกวิธีหนึ่งได้แก่การผ่าตัดใส่วัสดุเชื่อมระหว่างเปลือกตาและกล้ามเนื้อบริเวณหน้าผากเพื่อช่วยยกเปลือกตาในกรณีกล้ามเนื้อตาไม่มีแรงในการยกเปิดเปลือกตา 

หากมีอาการไม่มาก ไม่กระทบการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถติดตามอาการไปก่อนได้ เมื่อมีอาการจึงพิจารณาผ่าตัดภายหลัง 

การป้องกันภาวะหนังตาตก

ภาวะหนังตาตกส่วนใหญ่นั้นป้องกันไม่ได้ การเข้ารับการตรวจตาอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้พบปัญหาได้ตั้งแต่ระยะแรก การรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงทีสามารถป้องกันไม่ให้อาการแย่ลงไปกว่าเดิม โดยภาวะหนังตาตกจากโรคร้ายแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง จะดีขึ้นเมื่อได้รับการรักษาโรคดังกล่าว 

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 31 ก.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ผศ.(พิเศษ) พญ. วรรณกรณ์ พฤกษากร

    ผศ.(พิเศษ) พญ. วรรณกรณ์ พฤกษากร

    • จักษุวิทยา
    • ศัลยกรรมจักษุตกแต่งและเสริมสร้าง
    โรคของระบบต่อมน้ำตาและทางเดินน้ำตา, โรคของเปลือกตา, โรคของเบ้าตา, ภาวะไทรอยด์ทางตา
  • Link to doctor
    นพ. ธันย์ฉัตร เจียรมณีโชติชัย

    นพ. ธันย์ฉัตร เจียรมณีโชติชัย

    • จักษุวิทยา
    • ศัลยกรรมจักษุตกแต่งและเสริมสร้าง
    Ophthalmology, ศัลยกรรมจักษุตกแต่งและเสริมสร้าง
  • Link to doctor
    พญ.  จันทรัสม์  ไววนิชกุล

    พญ. จันทรัสม์ ไววนิชกุล

    • จักษุวิทยา
    • ศัลยกรรมจักษุตกแต่งและเสริมสร้าง
    Ophthalmology, ศัลยกรรมจักษุตกแต่งและเสริมสร้าง
  • Link to doctor
    พญ. สุปรียา อรรถวุฒิศิลป์

    พญ. สุปรียา อรรถวุฒิศิลป์

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาโรคต้อหิน
    • ศัลยกรรมจักษุตกแต่งและเสริมสร้าง
    Ophthalmology, โรคต้อหิน, ศัลยกรรมจักษุตกแต่งและเสริมสร้าง