เยื่อหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ (เดอเกอร์แวง) ในคนตั้งครรภ์หรือคุณแม่ลูกอ่อน (Tenosynovitis (De Quervain Tenosynovitis) in pregnant women and new mothers)

เยื่อหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ ในคนตั้งครรภ์หรือคุณแม่ลูกอ่อน

เยื่อหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ (เดอเกอร์แวง) ในคนตั้งครรภ์หรือคุณแม่ลูกอ่อนที่กำลังให้นมลูกจะมีภาวะฮอร์โมนที่เปลี่ยนไป ฮอร์โมนทำให้ร่างกายอุ้มน้ำไว้ บริเวณข้อมือและมือทำให้เยื่อหุ้มเอ็นชุ่มน้ำและบวมขึ้น

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


เยื่อหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ (เดอเกอร์แวง) ในคนตั้งครรภ์หรือคุณแม่ลูกอ่อน

หญิงตั้งครรภ์หรือคุณแม่ลูกอ่อนที่กำลังให้นมลูก จะมีภาวะฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปจากหญิงที่ไม่ตั้งครรภ์ ฮอร์โมนทำให้ร่างกายอุ้มน้ำไว้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณข้อมือและมือ ทำให้เยื่อหุ้มเอ็นชุ่มน้ำและบวมขึ้น เวลาขยับข้อมือและนิ้วมือจะเกิดการเบียดและเสียดสีกับปลอกของเอ็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นบ่อยสุดคือตรงโคนหัวแม่มือและข้อมือ ยิ่งหลังคลอด ต้องใช้ข้อมืออุ้มให้นมลูก ยิ่งเพิ่มโอกาสให้เยื่อหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ

อนึ่ง โรคเยื่อหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบนี้มักเป็นบุคคล 2 กลุ่ม คือ หญิงตั้งครรภ์หรือคุณแม่ลูกอ่อน และ ผู้สูงอายุ

อีก 2 โรค ที่อาจพบในหญิงตั้งครรภ์หรือคุณแม่ลูกอ่อน คือ นิ้วล็อก (Trigger Finger) และ นิ้วหัวแม่มือ ชี้ และกลาง มีอาการชา เพราะเกิดจากเยื่อหุ้มเอ็นชุ่มน้ำและบวม ไปเบียดเส้นประสาทตรงข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome)

สัญญาณและอาการแสดง

  • ปวดตรงข้อมือที่อยู่ตรงโคนหัวแม่มือ - ตั้งแต่เล็กน้อยถึงระบมมากจนนอนไม่หลับ
  • งอ-เยียดหัวแม่มือจะเจ็บ
  • บวมและบางครั้งอาจมีอักเสบแดงเล็กน้อยบริเวณดังกล่าว
  • กดเจ็บบริเวณดังกล่าว

Tenosynovitis Banner 2

การป้องกัน

  • ขณะตั้งครรภ์ ควรลดการใช้ข้อมือ เช่นหิ้วของหนัก
  • หลังตั้งครรภ์และให้นมลูก ควรลดการใช้ข้อมือ เวลาจะให้นมลูกหรืออาบน้ำ แนะนำมารดาแบบง่าย ๆ คือ ให้เกร็งข้อมือเหมือนหุ่นยนต์เพื่อลดการขยับของข้อมือ

การตรวจวินิจฉัย

  • กดเจ็บตรงข้อมือที่อยู่ตรงโคนหัวแม่มือ
  • การทดสอบ Finkelstein's test จะ positive คือมีอาการเจ็บน้อยถึงเจ็บมาก วิธีการทดสอบ ให้งอนิ้วหัวแม่มือลงไปแตะกลางฝ่ามือ งอนิ้วอีก 4 นิ้วคลุมหัวแม่มือไว้ แล้วทำการงอข้อมือไปทางนิ้วก้อย จะมีอาการเจ็บ บางคนไม่กล้างอข้อมือเลย

การรักษา

  • ลดการใช้ข้อมือและหัวแม่มือ ใช้เท่าที่จำเป็น และให้งอหัวแม่มือและข้อมือช้าๆ
  • สวมอุปกรณ์ประคองหัวแม่มือและข้อมือ

หากอาการยังปวดและปวดมากจนไม่สามารถประกอบกิจวัตรปกติได้ แพทย์จะพิจารณารักษาโดยการฉีดสเตียรอยด์ (Steroid) หลังการฉีดสเตียรอยด์อาการจะหายไป โดยมากมักฉีดสเตียรอยด์แค่ 1 ครั้ง แต่ก็มีบางเปอร์เซนต์ โดยเฉพาะในมารดาที่ยังให้นมลูก อาจมีอาการเป็นซ้ำในอีกหลายเดือนถัดมาและอาจต้องพิจารณาฉีดครั้งที่ 2 (ในการฉีดสเตียรอยด์ควรรับการฉีดโดยแพทย์ออโธปิดิกส์ เพราะต้องระวังไม่ฉีดเข้าไปในเส้นเอ็น ควรฉีดเข้าไประหว่างเอ็นและปลอกเอ็น หากเป็นแพทย์ออร์โธปิดิกส์ชำนาญเฉพาะทางด้านมือจะยิ่งปลอดภัยกว่า เพราะมีประสบการณ์และรู้กายวิภาคบริเวณข้อมือเป็นอย่างดี และในการฉีดยาเข้าไประหว่างเอ็นและปลอกเอ็น ฉีดโดยการมองภาพผ่านเครื่องอัลตร้าซาวด์จะเพิ่มความแม่นยำมากขึ้น)

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

  1. คำถาม: เยื่อหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ คืออะไร?
    คำตอบ:
    ภาวะฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปจากหญิงที่ไม่ตั้งครรภ์ ฮอร์โมนทำให้ร่างกายอุ้มน้ำไว้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณข้อมือและมือ ทำให้เยื่อหุ้มเอ็นชุ่มน้ำและบวมขึ้น เวลาขยับข้อมือและนิ้วมือจะเกิดการเบียดและเสียดสีกับปลอกของเอ็น ยิ่งหลังคลอด ต้องใช้ข้อมืออุ้มให้นมลูก ยิ่งเพิ่มโอกาสให้เยื่อหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ
  2. คำถาม: เยื่อหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ มีอาการอย่างไร?
    คำตอบ:
    เยื่อหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ มีอาการปวดตรงข้อมือที่อยู่ตรงโคนหัวแม่มือตั้งแต่เล็กน้อยถึงระบมมากจนนอนไม่หลับ งอ เยียดหัวแม่มือจะเจ็บ อาการบวมและบางครั้งอาจมีอักเสบแดงเล็กน้อย กดแล้วเจ็บ
  3. คำถาม: จะรักษาเยื่อหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบได้อย่างไร?
    คำตอบ:
    ลดการใช้ข้อมือและหัวแม่มือ ใช้เท่าที่จำเป็น และให้งอหัวแม่มือและข้อมือช้า ๆ สวมอุปกรณ์ประคองหัวแม่มือและข้อมือ หากอาการยังปวดและปวดมากจนไม่สามารถประกอบกิจวัตรปกติได้ แพทย์จะพิจารณารักษาโดยการฉีดสเตียรอยด์
  4. คำถาม: ฉีดสเตียรอยด์ อันตรายไหม?
    คำตอบ:
    ในการฉีดสเตียรอยด์ควรรับการฉีดโดยแพทย์ออโธปิดิกส์ เพราะต้องระวังไม่ฉีดเข้าไปในเส้นเอ็น ควรฉีดเข้าไประหว่างเอ็นและปลอกเอ็น หากเป็นแพทย์ออร์โธปิดิกส์ชำนาญเฉพาะทางด้านมือจะยิ่งปลอดภัยกว่า เพราะมีประสบการณ์และรู้กายวิภาคบริเวณข้อมือเป็นอย่างดี และในการฉีดยาเข้าไประหว่างเอ็นและปลอกเอ็น ฉีดโดยการมองภาพผ่านเครื่องอัลตร้าซาวด์จะเพิ่มความแม่นยำมากขึ้น

เยื่อบุเอ็นข้อมืออักเสบ ในหญิงตั้งครรภ์ Tenosynovitis - Infographic Th

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 17 เม.ย. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. ณัฐเดช เมฆรุ่งจรัส

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    Orthopedics Surgery, Arthroplasty
  • Link to doctor
    ศ.นพ. อารี ตนาวลี

    ศ.นพ. อารี ตนาวลี

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    Orthopedics Surgery, Arthroplasty
  • Link to doctor
    รศ.นพ. พงศ์ศักดิ์  ยุกตะนันทน์

    รศ.นพ. พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    Arthroplasty, Sports Medicine
  • Link to doctor
    ศ.นพ. กีรติ เจริญชลวานิช

    ศ.นพ. กีรติ เจริญชลวานิช

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    Arthroplasty, Trauma Surgery
  • Link to doctor
    ดร.นพ. วิรัตน์ คงเจริญสมบัติ

    ดร.นพ. วิรัตน์ คงเจริญสมบัติ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    Arthroscopy, Knee Surgery, Shoulder Surgery
  • Link to doctor
    นพ. จตุพล คงถาวรสกุล

    นพ. จตุพล คงถาวรสกุล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    Orthopedics Surgery, Arthroplasty
  • Link to doctor
    นพ. สีหธัช งามอุโฆษ

    นพ. สีหธัช งามอุโฆษ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    Minimally Invasive Joint Replacement
  • Link to doctor
    นพ. สิริพงศ์ รัตนไชย

    นพ. สิริพงศ์ รัตนไชย

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    Primary Total Hip and Total Knee Replacement Surgery, Hip Fracture Management, Unicompartment Knee Replacement Surgery, Complex Primary Total Hip and Total Knee Replacement Surgery, Revision Hip and Knee Replacement Surgery, Minimally Invasive Technique of Hip and Knee Surgery, Birmingham Hip Resurfacing Surgery, Robotic Assisted Knee Replacement Surgery (ROSA)
  • Link to doctor
    นพ. ไววิทย์ สงวนวงศ์วาน

    นพ. ไววิทย์ สงวนวงศ์วาน

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    Osteoarthritis of Knee, Osteoarthritis of Hip, Arthroplasty
  • Link to doctor
    นพ. ชวรินทร์ อมเรศ

    นพ. ชวรินทร์ อมเรศ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    Orthopedics Surgery, Arthroplasty, Trauma Surgery
  • Link to doctor
    นพ. สมศักดิ์ เจริญชัยปิยกุล

    นพ. สมศักดิ์ เจริญชัยปิยกุล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    Arthroplasty, Hand and Microsurgery, Ultrasound Guided Trigger Finger Release
  • Link to doctor
    นพ. นรฤทธิ์ ล้วนจำเริญ

    นพ. นรฤทธิ์ ล้วนจำเริญ

    • เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
    การใช้อัลตร้าซาวด์นำทางในหัตถการ การรักษาโรคพังผึดกดทับเส้นประสาทข้อมือ นิ้วล็อค โรคปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ, การอัลตราซาวด์ของกล้ามเนื้อและโครงกระดูก, ไฟฟ้าวินิจฉัย, การฟื้นฟูผู้มีปัญหา กล้ามเนื้อ เอ็น กระดูก และข้อ, การจัดการภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง, กายอุปกรณ์