Avascular Necrosis of Femoral Head Med Park Hospital.jpg

ภาวะหัวกระดูกสะโพกตายจากการขาดเลือด

เมื่อเกิดภาวะหัวกระดูกสะโพกขาดเลือดเกิดขึ้น ทำให้กระดูกบริเวณหัวสะโพกตาย จากกระดูกแข็ง ๆ จะเปลี่ยนสภาพกลายเป็นกระดูกนิ่ม ๆ เมื่อรับน้ำหนักจึงเกิดการยุบตัวของหัวกระดูกสะโพกขึ้น

แชร์

เมื่อพูดถึงภาวะ “ข้อสะโพกเสื่อม” หลายๆคนคงนึกถึงโรคที่เกิดในกลุ่มผู้สูงอายุ แต่จริงๆแล้วในคนอายุไม่มากก็สามารถเกิดภาวะข้อสะโพกเสื่อมได้เช่นกัน ซึ่ง 1 ในสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ก็คือภาวะหัวกระดูกสะโพกตายจากการขาดเลือด

รูปแสดงกายวิภาคของข้อสะโพก

กายวิภาคของข้อสะโพกเป็นข้อต่อระหว่างกระดูก 2 ชิ้น คือ กระดูกหัวสะโพกซึ่งมีลักษณะกลมเป็นลูกบอล และ กระดูกเบ้าสะโพก ที่มีรูปร่างสอดรับกัน  ข้อสะโพกทำหน้าที่รับถ่ายแรงส่งต่อจากลำตัวลงไปยังขาทั้ง 2 ข้างเวลาเรายืนเดิน

เมื่อเกิดภาวะหัวกระดูกสะโพกขาดเลือดเกิดขึ้น ทำให้กระดูกบริเวณหัวสะโพกตาย จากกระดูกแข็ง ๆ จะเปลี่ยนสภาพกลายเป็นกระดูกนิ่ม ๆ เมื่อรับน้ำหนักจึงเกิดการยุบตัวของหัวกระดูกสะโพกขึ้น ทำให้พื้นผิวของข้อต่อไม่เรียบเหมือนปกติ เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะข้อสะโพกเสื่อมตามมา

ปัจจัยเสี่ยง

  • การดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้ยาเสตียรอยด์เป็นเวลานาน
  • เกิดตามหลังอุบัติเหตุข้อสะโพกหลุด หรือกระดูกสะโพกหัก
  • โรคเลือดหรือโรคภูมิต้านเนื้อเยื่อของตนเองบางชนิด

อาการ
อาการเจ็บจะเป็นบริเวณขาหนีบ อาจปวดร้าวไปหน้าต้นขาหรือหัวเข่าได้ การขยับข้อสะโพกจะทำให้ปวดและรู้สึกติดขัด เมื่อเป็นมากขึ้นจะทำให้เดินลำบาก เดินกะเผลก หากมีการยุบตัวของกระดูกหัวสะโพกแล้วจะทำให้ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน

การวินิจฉัย
แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งภาพเอ็กซเรย์ของข้อสะโพกทั้ง 2ข้าง รวมถึงในบางครั้งอาจพิจารณาส่งตรวจเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าร่วม เนื่องจากในระยะแรกของโรค อาจไม่พบความผิดปกติจากภาพเอ็กซเรย์ทั่วไป


รูปเอ็กซเรย์แสดงภาวะหัวสะโพกตายจากการขาดเลือดที่ข้อสะโพกทั้ง2ข้าง

การรักษา
แนวทางการรักษาจะขึ้นกับระยะของโรคที่เป็น หากเป็นในระยะแรกๆที่หัวกระดูกสะโพกยังไม่ยุบ ยังไม่ได้เกิดภาวะข้อเสื่อมขึ้น การรักษาจะมุ่งชะลอโรคให้เกิดความเสียหายต่อข้อสะโพกช้าที่สุด เพื่อรักษาข้อสะโพกธรรมชาติเอาไว้ เช่น ทานยาเพื่อลดความเจ็บปวด การใช้ไม้ค้ำยันช่วยพยุงเดิน การทำกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวดและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพก หรือใช้วิธีผ่าตัดเจาะกระดูกเพื่อช่วยลดความดันในกระดูกหัวสะโพก

การตรวจพบภาวะนี้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ จึงมีความสำคัญมากเพื่อที่จะชะลอโอกาสที่ต้องเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมเอาไว้

หากการดำเนินโรคเข้าสู่ระยะที่หัวสะโพกเกิดการยุบตัว หรือเกิดภาวะข้อสะโพกเสื่อมขึ้นแล้ว การรักษาที่แนะนำคือ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยหายจากอาการเจ็บปวดและกลับมาใช้งานข้อสะโพกข้างนั้นได้อย่างรวดเร็ว

บทความโดย

  • นพ. ไววิทย์ สงวนวงศ์วาน
    นพ. ไววิทย์ สงวนวงศ์วาน ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระดูกและข้อ เฉพาะทางการผ่าตัดต่อกระดูกและเปลี่ยนข้อเทียม

เผยแพร่เมื่อ: 07 ก.ย. 2021

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. ณัฐเดช เมฆรุ่งจรัส

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    Orthopedics Surgery, Arthroplasty
  • Link to doctor
    นพ. สีหธัช งามอุโฆษ

    นพ. สีหธัช งามอุโฆษ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    Minimally Invasive Joint Replacement
  • Link to doctor
    ศ.นพ. อารี ตนาวลี

    ศ.นพ. อารี ตนาวลี

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    Orthopedics Surgery, Arthroplasty
  • Link to doctor
    นพ. สิริพงศ์ รัตนไชย

    นพ. สิริพงศ์ รัตนไชย

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม (เทคนิคหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ROSA)
    Primary Total Hip and Total Knee Replacement Surgery, Hip Fracture Management, Unicompartment Knee Replacement Surgery, Complex Primary Total Hip and Total Knee Replacement Surgery, Revision Hip and Knee Replacement Surgery, Minimally Invasive Technique of Hip and Knee Surgery, Birmingham Hip Resurfacing Surgery, Robotic Assisted Knee Replacement Surgery (ROSA)
  • Link to doctor
    นพ. วีรวัฒน์ จันทรัตติยากานต์

    นพ. วีรวัฒน์ จันทรัตติยากานต์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
  • Link to doctor
    นพ. ชวนนท์ สุมนะเศรษฐกุล

    นพ. ชวนนท์ สุมนะเศรษฐกุล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
  • Link to doctor
    นพ. ชวรินทร์ อมเรศ

    นพ. ชวรินทร์ อมเรศ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    Orthopedics Surgery, Arthroplasty, Trauma Surgery
  • Link to doctor
    ศ.นพ. กีรติ เจริญชลวานิช

    ศ.นพ. กีรติ เจริญชลวานิช

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม (เทคนิคหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ROSA)
    Arthroplasty, Trauma Surgery
  • Link to doctor
    ดร.นพ. วิรัตน์ คงเจริญสมบัติ

    ดร.นพ. วิรัตน์ คงเจริญสมบัติ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    Arthroscopy, Knee Surgery, Shoulder Surgery
  • Link to doctor
    นพ. จตุพล คงถาวรสกุล

    นพ. จตุพล คงถาวรสกุล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    Orthopedics Surgery, Arthroplasty
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. โชติตะวันณ ตนาวลี

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    Orthopedics Surgery, Arthroplasty
  • Link to doctor
    นพ. สมศักดิ์ เจริญชัยปิยกุล

    นพ. สมศักดิ์ เจริญชัยปิยกุล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    • การผ่าตัดมือและจุลยศัลยกรรม
    Arthroplasty, Hand and Microsurgery, Ultrasound Guided Trigger Finger Release
  • Link to doctor
    นพ. ไววิทย์ สงวนวงศ์วาน

    นพ. ไววิทย์ สงวนวงศ์วาน

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม (เทคนิคหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ROSA)
    Osteoarthritis of Knee, Osteoarthritis of Hip, Arthroplasty
  • Link to doctor
    รศ.นพ. พงศ์ศักดิ์  ยุกตะนันทน์

    รศ.นพ. พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    Arthroplasty, เวชศาสตร์การกีฬา