อาการ สาเหตุ การตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรคต้อหิน (Glaucoma)

โรคต้อหิน

โรคต้อหิน มักมีสาเหตุจากความดันในตาสูงผิดปกติ เทำให้เกิดความเสียหายของเส้นประสาทตา จนอาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอดได้

แชร์

โรคต้อหิน

โรคต้อหิน มักมีสาเหตุจากความดันในตาสูงผิดปกติ เทำให้เกิดความเสียหายของเส้นประสาทตา จนอาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอดได้ ผู้ที่เป็นโรคต้อหินอาจไม่ทันสังเกตเห็นสัญญาณของอาการจนโรคพัฒนาไปสู่ขั้นรุนแรง ผลที่ร้ายแรงของภาวะนี้ไม่สามารถแก้ไขให้กลับเป็นปกติได้ ดังนั้นการตรวจตาอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกัน ควบคุม และชะลอการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร

อาการโรคต้อหิน

สัญญาณและอาการของโรคต้อหินแตกต่างกันตามชนิดและความรุนแรง

โรคต้อหินมุมเปิด

ผู้ที่เป็นโรคต้อหินประเภทนี้มักมีอาการดังต่อไปนี้

  • จุดบอดเป็นหย่อม ๆ ที่บริเวณรอบข้าง หรือส่วนกลางของการมองเห็นซึ่งปกติจะเกิดขึ้นในดวงตาทั้งสองข้าง
  • หรือมองเห็นเฉพาะสิ่งที่อยู่ด้านหน้า ไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่บริเวณขอบด้านข้างของสายตาได้

โรคต้อหินเฉียบพลัน

ผู้ที่เป็นต้อหินมุมปิดเฉียบพลันอาจมีอาการดังต่อไปนี้

  • ปวดหัวอย่างรุนแรง
  • ปวดตา
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ตาแดง
  • มองเห็นภาพซ้อน
  • การเห็นรัศมีรอบดวงไฟ

ต้อหินทำให้ตาบอดได้หากไม่ได้รับการรักษา ทั้งนี้ร้อยละ 15 ของผู้ที่ได้รับการรักษาต้อหินมีโอกาสตาบอดได้ ดังนั้นควรไปพบแพทย์ทันทีหากพบอาการดังกล่าวข้างต้น

ต้อหิน เกิดจากอะไร?

ต้อหินเกิดจากความดันที่เพิ่มขึ้นในตา ทำให้เส้นประสาทตาถูกทำลาย และทำให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาไหลผ่านภายในดวงตาและไม่สามารถระบายออกได้ หรือระบายออกอย่างไม่เหมาะสม ทำให้เกิดน้ำขังในลูกตาและเกิดความดันสูงในลูกตา ทั้งนี้พันธุกรรมถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดภาวะดังกล่าวได้

ประเภทของโรคต้อหิน ได้แก่ :

  • โรคต้อหินมุมเปิด
    ต้อหินมุมเปิดเป็นโรคต้อหินที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมุมของบริเวณที่ระบายน้ำลูกตา ที่สร้างขึ้นโดยกระจกตาและม่านตายังคงเปิดอยู่ อาการของโรคต้อหินประเภทนี้จะพัฒนาอย่างช้า ๆ และอาจก่อให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นของดวงตาอย่างช้า ๆ
  • โรคต้อหินมุมปิด
    โรคต้อหินมุมปิดมีสาเหตุมาจากอาการม่านตาบวมที่ปิดกั้นหรือทำให้มุมระบายน้ำมีลักษณะแคบลง โรคต้อหินมุมปิดมักเกิดขึ้นอย่างกะทันหันและถือเป็นเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์
  • โรคต้อหินมุมเปิดเรื้อรังชนิดที่มีความดันลูกตาปกติ
    โรคต้อหินชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาทตาได้รับความเสียหายและนำไปสู่การขาดเลือดไปเลี้ยงเส้นประสาทตา
  • โรคต้อหินในเด็ก
    มักเกิดขึ้นจากการอุดตันของท่อระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา หรือภาวะอื่น ๆ ทางการแพทย์ทำให้เกิดต้อหินในทารกและเด็ก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่แรกเกิด
  • โรคต้อหินเม็ดสี
    เกิดจากการอุดตันของเม็ดสีจากม่านตาในช่องระบายน้ำลูกตาที่ก่อให้เกิดการชะลอและปิดกั้นของเหลวไม่ให้ระบายออก และนำไปสู่ความดันที่เพิ่มขึ้นในตา


ปัจจัยเสี่ยงโรคต้อหิน

มีปัจจัยหลายประการที่อาจทำให้เกิดโรคต้อหินซึ่งอาจรวมถึง

  • ความดันลูกตา
  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
  • ผู้ที่มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคต้อหิน
  • เงื่อนไขทางการแพทย์บางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง
  • กระจกตาบางในบริเวณตรงกลาง
  • ภาวะสายตาสั้นหรือสายตายาวมาก
  • การบาดเจ็บที่ดวงตาหรือการผ่าตัดตาบางชนิด
  • การใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์


การวินิจฉัยโรคต้อหิน

แพทย์อาจทำการตรวจตาโดย

  • การวัดความดันลูกตา
  • การตรวจขยายม่านตาและการทดสอบภาพถ่ายทางการแพทย์เพื่อทดสอบความเสียหายของเส้นประสาทตา
  • การวัดลานสายตาเพื่อตรวจสอบบริเวณที่สูญเสียการมองเห็น
  • การตรวจวัดความหนาของกระจกตา
  • การตรวจดูมุมตา


การรักษาโรคต้อหิน

ความเสียหายที่เกิดจากต้อหินไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่จุดมุ่งหมายของการรักษาคือเพื่อลดความดันตา ซึ่งอาจรวมถึงวิธีการดังต่อไปนี้

  • ยาหยอดตา
    • พรอสตาแกลนดิน
    • เบต้าบล็อคเกอร์
    • Alpha-adrenergic agonists
    • สารยับยั้งคาร์บอนิกแอนไฮเดส
    • สารยับยั้งโรไคเนส
    • Milotic หรือ cholinergic agents
  • ยารับประทาน
    แพทย์อาจสั่งยารับประทานเพื่อลดความดันตา ทั้งนี้ยาอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่าง เช่น ปัสสาวะบ่อย อาการชาที่นิ้วมือและนิ้วเท้า ภาวะซึมเศร้า ปวดท้องและนิ่วในไต
  • การผ่าตัดและการบำบัดอื่น ๆ
    แพทย์อาจแนะนำขั้นตอนบางอย่างตามสภาวะอาการของคนไข้แต่ละบุคคล ได้แก่
    • การรักษาด้วยเลเซอร์
    • การผ่าตัดด้วนวิธี Filtering
    • การผ่าตัดใส่สายระบาย
    • การผ่าตัดต้อหินแผลเล็ก
  • การรักษาต้อหินมุมปิดแบบเฉียบพลัน
    สำหรับผู้ป่วยต้อหินชนิดมุมปิดเฉียบพลันจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการลดความดันในตา ทั้งนี้แพทย์อาจสั่งจ่ายยาบางชนิดหรือทำหัตถการบางอย่างรวมทั้งเลเซอร์หรือการผ่าตัด


    การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการรักษาตัวที่บ้าน

    ผู้ที่เป็นโรคต้อหินควรทำดังต่อไปนี้

    • ทานอาหารที่มีประโยชน์
    • ออกกำลังกายอย่างปลอดภัย
    • จำกัดการบริโภคคาเฟอีน
    • ดื่มน้ำหรือของเหลวอื่น ๆ บ่อยๆ
    • นอนยกศีรษะ
    • ทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด


    เตรียมการสำหรับการนัดหมาย

    ก่อนการนัดหมายคนไข้อาจเตรียมข้อมูลดังต่อไปนี้

    • อาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
    • ยาทั้งหมดที่ใช้อยู่
    • ปัญหาตาที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้
    • ประวัติครอบครัวที่เป็นโรคต้อหิน
    • การทดสอบโรคต้อหินที่เคยทำก่อนหน้า
    • คำถามที่อยากถามคุณหมอ

    ในระหว่างการปรึกษา แพทย์อาจถามคำถามบางอย่างรวมถึงข้อมูลเช่น

    • ความรู้สึกไม่สบายตา
    • สัญญาณและอาการที่เกิดขึ้น
    • ประวัติสมาชิกครอบครัวที่เป็นโรคต้อหิน
    • การวินิจฉัยโรคต้อหินก่อนหน้านี้
    • ยา วิตามิน หรืออาหารเสริมที่คุณกำลังรับประทานอยู่


    Glaucoma - Infographic

    Glaucoma

    เผยแพร่เมื่อ: 25 ต.ค. 2020

    แชร์

    แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. สุปรียา อรรถวุฒิศิลป์

    พญ. สุปรียา อรรถวุฒิศิลป์

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาโรคต้อหิน
    • ศัลยกรรมจักษุตกแต่งและเสริมสร้าง
    Ophthalmology, โรคต้อหิน, ศัลยกรรมจักษุตกแต่งและเสริมสร้าง
  • Link to doctor
    นพ. รัฐ อิทธิพานิชพงศ์

    นพ. รัฐ อิทธิพานิชพงศ์

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาโรคต้อหิน
    • สายตาเลือนราง
    การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยสายตาเลือนรางและเทคโนโลยีช่วยการมองเห็น, โรคต้อหิน, ต้อกระจก
  • Link to doctor
    พญ. ธัญญรัตน์ ตั้งใฝ่คุณธรรม

    พญ. ธัญญรัตน์ ตั้งใฝ่คุณธรรม

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาโรคต้อหิน
  • Link to doctor
    รศ. นพ. ปริญญ์ โรจนพงศ์พันธุ์

    รศ. นพ. ปริญญ์ โรจนพงศ์พันธุ์

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาโรคต้อหิน
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    การผ่าตัดต้อกระจก, ต้อกระจก, โรคต้อหิน, การผ่าตัดต้อกระจกในผู้ป่วยที่มีอาการม่านตาผิดปกติ
  • Link to doctor
    รศ.พญ. วิศนี ตันติเสวี

    รศ.พญ. วิศนี ตันติเสวี

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาโรคต้อหิน
    การผ่าตัดต้อกระจก, การรักษาโรคต้อหิน