การตรวจวัดความแข็งของตับ (Liver Elastography) ขั้นตอนของการตรวจวัดพังผืดของตับ

การตรวจวัดความแข็งของตับ (Liver Elastography)

โรคตับเรื้อรังจะทำให้เนื้อตับถูกทำลายและเกิดพังผืดสะสมในตับ เมื่อมีพังผืดสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื้อตับจะมีความแข็ง (stiffness) มากขึ้น หรือมีความยืดหยุ่นลดลง

แชร์

การตรวจวัดความแข็งของตับ

โรคตับเรื้อรังจะทำให้เนื้อตับถูกทำลายและเกิดพังผืดสะสมในตับ เมื่อมีพังผืดสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื้อตับจะมีความแข็ง (stiffness) มากขึ้น หรือมีความยืดหยุ่นลดลงนั่นเอง แพทย์จึงแนะนำให้ทำการตรวจวัดพังผืดในตับของผู้ป่วยที่เป็นโรคตับเรื้อรัง หรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะพังผืดสะสมในตับ ซึ่งเป็นการตรวจที่ไม่เจ็บปวดและไม่มีบาดแผลผ่าตัด

ประเภทของการตรวจวัดความแข็งของตับ

  • การตรวจวัดความแข็งของตับด้วยการใช้เทคโนโลยีของระบบอัลตราซาวด์หรือที่เรียกว่า ไฟโบรสแกน (FibroScan®) เป็นการตรวจที่รวดเร็ว ไม่เจ็บปวด โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในการวัดระดับพังผืดหรือความแข็งของเนื้อตับ รวมทั้งวัดปริมาณไขมันในเนื้อตับได้ในคราวเดียวกัน
  • การตรวจวัดพังผืดของตับด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance elastography: MRE) เป็นการตรวจวัดด้วยเครื่องเอ็มอาร์ไอ (MRI) ร่วมกับคลื่นกล สามารถวัดปริมาณไขมันในเนื้อตับได้ด้วยเทคโนโลยี MR fat quantification

จุดประสงค์ของการตรวจวัดพังผืดของตับ

  • เพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคตับแข็ง มะเร็งตับ ตับวาย และภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร
  • เพื่อประกอบการตัดสินใจในการให้ยารักษาโรคตับอักเสบเรื้อรัชนิดต่าง ๆ
  • เพื่อตรวจสอบการตอบสนองของตับต่อการรักษา
  • เพื่อวินิจฉัยโรคไขมันคั่งตับ เนื่องจากตัวเครื่องสามารถวัดทั้งพังผืดและไขมันในเนื้อตับได้ในเวลาเดียวกัน

ขั้นตอนของการตรวจวัดพังผืดของตับด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

ก่อนเข้ารับการตรวจ

แพทย์จะแจ้งวิธีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ

  • งดรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีปริมาณน้ำตาลสูงเป็นเวลา 2-3 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจ เนื่องจากอาหารและน้ำตาลจะทำให้ผลการตรวจคลาดเคลื่อน
  • ก่อนเข้ารับการตรวจจะต้องถอดเครื่องประดับและอุปกรณ์ใด ๆ เช่น นาฬิกาข้อมือ แหวนแต่งงาน ต่างหู เครื่องช่วยฟัง หรือฟันปลอม
  • ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องแจ้งนักรังสีวิทยาหากมีอุปกรณ์โลหะในร่างกาย เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ ICD หรือ เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ pacemaker เพื่อทำการตรวจเช็คว่าเป็นอุปกรณ์รุ่นที่สามารถเข้าเครื่อง MRI ได้ปลอดภัย
  • ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ไม่ควรทำการตรวจวินิฉัยด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

ระหว่างการตรวจ

เนื่องจากขณะตรวจด้วยเครื่องตรวจ MRI จะมีเสียงที่ค่อนข้างดังเป็นระยะๆในระหว่างการตรวจ เจ้าหน้าที่จะให้ที่อุดหู (earplugs) แก่ผู้เข้ารับการตรวจ   โดยผู้เข้ารับการตรวจจะนอนหงายบนเตียงที่เคลื่อนที่ได้ เตียงจะค่อย ๆเลื่อนเข้าไปในเครื่อง MRI ซึ่งส่งคลื่นกลและคลื่นวิทยุ ในสนามแม่เหล็กไฟฟ้าไปที่ตับ เพื่อตรวจประเมินพังผืดหรือความแข็งของตับ เจ้าหน้าที่อาจขอให้ผู้เข้ารับการตรวจกลั้นหายใจเป็นเวลาสั้น ๆ เป็นครั้งคราว เพื่อให้ได้ภาพการตรวจที่ชัดเจนและแม่นยำ

หลังเข้ารับการตรวจ

รังสีแพทย์จะรวบรวมและส่งข้อมูลไปยังแพทย์ที่ส่งตรวจซึ่งจะเป็นผู้อธิบายผลการตรวจให้ผู้เข้ารับการตรวจทราบ เทคโนโลยีการตรวจวัดความแข็งของตับมีความแม่นยําสูง ภาพที่ถูกสร้างขึ้นสามารถแสดงระดับพังผืดทั่วทั้งตับได้

โดยระดับพังผืดในตับอยู่ระหว่าง F0 ถึง F4

  • F0 ถึง F1: ไม่มีพังผืดหรือมีเพียงเล็กน้อย
  • F2: มีพังผืดระดับกลาง
  • F3: มีพังผืดระดับรุนแรง
  • F4: โรคตับแข็ง

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 10 ม.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. สุรีย์พร  แจ้งศิริกุล

    พญ. สุรีย์พร แจ้งศิริกุล

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    ส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่, Liver and Gastrointestinal Diseases, โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหาร
  • Link to doctor
    นพ. จรินทร์ โรจน์บวรวิทยา

    นพ. จรินทร์ โรจน์บวรวิทยา

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหาร
  • Link to doctor
    พญ.  ปณิดา  ปิยะจตุรวัฒน์

    พญ. ปณิดา ปิยะจตุรวัฒน์

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    ส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่, Gastrointestinal Endoscopy, โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหาร
  • Link to doctor
    นพ. สันติ  กุลพัชรพงศ์

    นพ. สันติ กุลพัชรพงศ์

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    ส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่, Gastrointestinal Endoscopy, โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหาร
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สถาพร มานัสสถิตย์

    รศ.นพ. สถาพร มานัสสถิตย์

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหาร, การติดเชื้อทางเดินอาหาร
  • Link to doctor
    ศ.นพ.  สิน  อนุราษฎร์

    ศ.นพ. สิน อนุราษฎร์

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหาร
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. สยาม ศิรินธรปัญญา

    ผศ.นพ. สยาม ศิรินธรปัญญา

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหาร