ขั้นตอน ควรตรวจภายในเมื่อไหร่ ทำไมต้องตรวจภายในการตรวจภายใน (Pelvic Exam)

การตรวจภายใน (Pelvic Exam)

การตรวจภายใน (Pelvic Exam) คือ การตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานของเพศหญิง ซึ่งรวมไปถึงช่องคลอด ปากมดลูก มดลูก ท่อน้ำไข่ รังไข่ กระเพาะปัสสาวะ ทวารหนัก

แชร์

การตรวจภายใน

การตรวจภายใน (Pelvic Exam) คือ การตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานของเพศหญิง ซึ่งรวมไปถึง

  • ช่องคลอด
  • ปากมดลูก
  • มดลูก
  • ท่อนําไข่
  • รังไข่
  • กระเพาะปัสสาวะ
  • ทวารหนัก

โดยขณะที่ทำการตรวจภายในนั้น แพทย์อาจทำการตรวจแปปเสมียร์ (Pap smear) ไปพร้อมกัน เพื่อคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก

ทําไมผู้หญิงถึงควรเข้ารับการตรวจภายใน?

การตรวจภายในช่วยตรวจวินิจฉัยอาการทางระบบอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิง เช่น เลือดออกทางช่องคลอด อาการปวดอุ้งเชิงกราน ตกขาว หรือปัญหาทางระบบทางเดินปัสสาวะ และยังสามารถช่วยตรวจหาสัญญาณของโรคต่าง ๆ เช่น โรคทางเพศสัมพันธ์ ถุงน้ำรังไข่ เนื้องอกในมดลูก และมะเร็งได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ

ผู้หญิงควรเริ่มเข้ารับการตรวจภายในเมื่อไร?

โดยปกติแล้วจะแนะนำให้เริ่มเข้ารับการตรวจตั้งแต่อายุ 21 ปี ผู้หญิงอายุ 21-65 ปีควรเข้ารับการตรวจภายในทุกปีและเข้ารับการตรวจแปปสเมียร์ทุก 3 ปี โดยแพทย์จะพิจารณาประวัติสุขภาพของผู้เข้ารับการตรวจ รวมไปถึงประวัติสุขภาพของครอบครัวของผู้เข้ารับการตรวจว่าเคยเป็นมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งรังไข่หรือไม่ เพื่อประเมินว่าผู้เข้ารับการตรวจแต่ละคนควรเข้ารับการตรวจภายในบ่อยแค่ไหน

อย่างไรก็ตาม ควรไปพบสูตินรีแพทย์ทันทีที่มีอาการดังต่อไปนี้

  • ปวดอุ้งเชิงกรานหรือมีอาการปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์
  • มีเลือดออกทางช่องคลอดหรือหรือตกขาวผิดปกติ
  • สงสัยว่าจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • กําลังตั้งครรภ์

การเตรียมตัวก่อนการเข้ารับการตรวจภายใน
การเตรียมตัวก่อนการเข้ารับการตรวจภายใน

ก่อนการตรวจภายใน

ควรทำนัดตรวจภายในในวันที่ไม่มีประจําเดือน เนื่องจากประจำเดือนอาจทำให้ผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกคลาดเคลื่อนได้ โดยก่อนเข้ารับการตรวจสามารถแจ้งให้แพทย์ทราบถึงข้อกังวลใจที่มีอยู่

ระหว่างการตรวจภายใน

การตรวจจะใช้เวลาประมาณ 10 นาที  เจ้าหน้าที่จะให้ผู้เข้ารับการตรวจเปลี่ยนชุดและนอนหงายพร้อมวางขาบนขาหยั่ง แพทย์จะพูดคุยและแจ้งให้ทราบถึงขั้นตอนการตรวจเพื่อคลายความกังวลของผู้รับการตรวจ

  • การตรวจบริเวณภายนอกด้วยสายตา แพทย์จะตรวจบริเวณอวัยวะเพศเพื่อดูว่ามีรอยแดง รอยบวม หรืออาการระคายเคืองใด ๆ หรือไม่
  • การตรวจภายใน แพทย์จะสอดคีมปากเป็ดเข้าไปในช่องคลอด เพื่อให้มองเห็นบริเวณภายในช่องคลอดและปากมดลูก
  • การตรวจร่างกาย แพทย์จะสอดนิ้วมือ 2 นิ้วที่สวมถุงมือไว้แล้วเข้าไปตรวจภายในช่องคลอด แล้วใช้มืออีกข้างกดเบา ๆ ลงบนท้องน้อย เพื่อตรวจดูขนาดและรูปร่างของมดลูก รวมถึงตรวจว่ามีตำแหน่งที่บวมหรือการเจริญเติบโตที่ผิดปกติหรือไม่
  • การตรวจแปปเสมียร์ (Pap smear) และเชื้อไวรัส HPV แพทย์จะใช้ไม้สวอปเก็บตัวอย่างเซลล์ปากมดลูกแล้วส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยอาจต้องรอผลนาน 2-3 วันหรือหนึ่งสัปดาห์
  • การตรวจทางทวารหนัก ในบางรายแพทย์อาจสอดนิ้วเพื่อตรวจและสัมผัสว่ามีเนื้องอกหรือความผิดปกติใด ๆ ในทวารหนักหรือไม่

ในระหว่างการตรวจภายใน ผู้เข้ารับการตรวจอาจรู้สึกกังวลและไม่สบายตัว ควรพยายามผ่อนคลายโดยการหายใจเข้าลึก ๆ ไม่เกร็งหัวไหล่ ท้องและขา โดยปกติแล้วการตรวจภายในจะไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดใด ๆ หากรู้สึกเจ็บ ควรแจ้งแพทย์ทันที

หลังการตรวจภายใน

แพทย์จะพูดคุยอธิบายผลการตรวจ หากมีข้อสงสัยใด ๆ สามารถสอบถามแพทย์ได้ การตรวจแปปเสมียร์ (Pap smear) และเชื้อไวรัส HPV จะใช้เวลา 2-3 วันหรือหนึ่งสัปดาห์กว่าจะรู้ผล แพทย์จะนัดให้มาฟังผลอีกครั้งในภายหลัง

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตรวจภายใน

  • การตรวจภายในทำให้ปวดท้องน้อยหรือมีเลือดออกทางช่องคลอดได้หรือไม่
    การตรวจภายในอาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัว เกร็งเพียงเล็กน้อยระหว่างการตรวจ แต่ไม่ทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอด หากรู้สึกปวดท้องน้อยหรือมีเลือดออกมาหลังการตรวจภายใน ควรรีบไปพบแพทย์
  • ผู้หญิงในวัยหมดประจําเดือนจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจภายในหรือไม่
    ผู้หญิงในวัยหมดประจําเดือนควรเข้ารับการตรวจภายในเป็นประจำ เพราะยิ่งอายุมาก ความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งก็ยิ่งสูงมากขึ้น การตรวจภายในจะช่วยตรวจวินิจฉัยและตรวจพบโรคได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้การรักษาโรคประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น



pelvic exam - infographic - banner
pelvic exam - infographic

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 31 พ.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. นลินา ออประยูร

    พญ. นลินา ออประยูร

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopic Surgery
  • Link to doctor
    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopy
  • Link to doctor
    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Menopause, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Gynecologic Oncology
  • Link to doctor
    นพ.  วิวรรธน์  ชินพิลาศ

    นพ. วิวรรธน์ ชินพิลาศ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. พิพัฒน์ จงกลสิริ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology