ภาวะมีบุตรยากคืออะไร สาเหตุหลักของภาวะมีบุตรยากทั้งชายและหญิง What is infertility

ภาวะมีบุตรยาก

ภาวะมีบุตรยาก (Infertility) คือการที่คู่สามีภรรยาไม่มีบุตรแม้พยายามที่จะมีบุตร ในทางสถิติร้อยละ 70 ของคู่สามีภรรยาโดยทั่วไปที่มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ จะตั้งครรภ์ภายใน 6 เดือนแรก

แชร์

ภาวะมีบุตรยาก คืออะไร?

ภาวะมีบุตรยาก (Infertility) คือ การที่คู่สามีภรรยาไม่มีบุตรแม้พยายามที่จะมีบุตร มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ 2 - 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และไม่ได้คุมกำเนิดเป็นเวลามากกว่า 1 ปี ซึ่งในทางสถิติร้อยละ 70 ของคู่สามีภรรยาโดยทั่วไปที่มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ จะตั้งครรภ์ภายใน 6 เดือนแรก และร้อยละ 80 จะตั้งครรภ์ภายใน 12 เดือน

นั่นหมายความว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ของคู่ปกติจะตั้งครรภ์มีบุตรภายใน 1 ปี หากคู่เรายังไม่มีบุตร เราควรไปปรึกษาแพทย์และตรวจดูว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ได้หมายความว่าคู่ของเราจะต้องมีใครคนใดคนหนึ่งที่ผิดปกติ บางคนตรวจแล้วก็ปกติ ไม่พบอะไร พออีกสักพักก็สามารถท้องได้เอง เรื่องของการตั้งครรภ์มีบุตรเป็นเรื่องของสถิติความน่าจะเป็นด้วย แต่เวลาถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะในผู้หญิง โอกาสตั้งครรภ์ปกติจะน้อยลงตามอายุผู้หญิงที่มากขึ้น เพราะเซลล์ไข่ของเราแก่ไปตามอายุของเรานั่นเอง

ดังนั้น จึงขอแนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์ ในกรณีที่ฝ่ายหญิงอายุ < 35 ปี และพยายามที่จะมีบุตรโดยไม่ได้ทำการคุมกำเนิด และมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ 2 - 3 ครั้งต่อสัปดาห์ มานานเป็นเวลา 1 ปี แต่ถ้าฝ่ายหญิงอายุ 35 ปี และพยายามมีบุตรมานานกว่า 6 เดือน ควรเข้ามารับการตรวจได้เลยไม่ต้องรอถึง 1 ปี

สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก

สาเหตุของภาวะมีบุตรยากเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งสาเหตุจากฝ่ายชาย ฝ่ายหญิง หรือจากทั้งสองฝ่าย

  • ส่วนใหญ่สาเหตุทางฝ่ายชาย คือ น้ำเชื้อผิดปกติ
  • สาเหตุทางฝ่ายหญิงเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
    • สาเหตุจากรังไข่ ได้แก่ ไข่น้อย ไข่ไม่ตก
    • สาเหตุจากท่อนำไข่ คือ ท่อนำไข่อุดตัน
    • สาเหตุจากโพรงมดลูกผิดปกติ คือ ตัวอ่อนฝังตัวไม่ได้
    • สาเหตุจากปากมดลูก
    • สาเหตุจากการอักเสบหรือมีพังผืดในช่องท้อง


การประเมินภาวะมีบุตรยาก

การตั้งครรภ์จะสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยการเจริญพันธุ์ของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ในผู้ชายนั้นสเปิร์มหรือตัวอสุจิจะต้องแข็งแรง ผลิตออกมาจำนวนมากพอ และหลั่งเข้าไปในช่องคลอดอย่างมีประสิทธิภาพ ในผู้หญิงรังไข่จะต้องปล่อยไข่ที่สุกแล้วออกมา ท่อรังไข่ไม่ตีบตันเพื่อให้เชื้ออสุจิเดินทางไปหาไข่เพื่อทำการปฏิสนธิได้ และตัวอ่อนสามารถเคลื่อนย้ายตัวไปฝังตัวที่มดลูกได้สะดวก

การตรวจวินิจฉัยภาวะมีบุตรยาก

แพทย์จะสอบถามถึงประวัติการมีเพศสัมพันธ์และอธิบายแนวทางที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ จากนั้นจะทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุ อย่างไรก็ตามบางรายอาจมีภาวะมีบุตรยากที่ไม่สามารถพบสาเหตุได้ 

การตรวจวินิจฉัยภาวะมีบุตรยากในฝ่ายชาย:

การตรวจวิเคราะห์คุณภาพของน้ำเชื้อ
ในกรณีที่การตรวจวิเคราะห์น้ำเชื้อพบความผิดปกติ จะตรวจเพิ่มเติมดังนี้ (แล้วแต่กรณี)

  1. การตรวจร่างกาย รวมถึงการตรวจอวัยวะเพศ
  2. การตรวจฮอร์โมนเช่น ตรวจหาระดับของเทสโทสเตอร์โรน เป็นต้น
  3. การตรวจทางพันธุกรรม เพื่อดูว่ามีความผิดปกติใดๆทางพันธุกรรมหรือไม่
  4. การตัดชิ้นเนื้ออัณฑะไปตรวจ
  5. การตรวจวินิจฉัยด้วยภาพทางการแพทย์ เช่น MRI การตรวจอัลตราซาวนด์ต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนัก การตรวจท่อลำเลียงน้ำเชื้อ

การตรวจวินิจฉัยภาวะมีบุตรยากในฝ่ายหญิง:

  • การตรวจร่างกาย รวมถึงการตรวจทางนรีเวช
  • การตรวจการตกไข่
  • การฉีดสีตรวจท่อนำไข่และโพรงมดลูกเพื่อดูว่าท่อนำไข่ตีบตันหรือไม่
  • การตรวจจำนวนไข่พื้นฐานและการตรวจระดับฮอร์โมนที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์
  • การตรวจวินิจฉัยด้วยภาพอัลตราซาวด์บริเวณโพรงมดลูกและรังไข่
  • การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก
  • การส่องกล้องในช่องท้องเพื่อตรวจดูว่ามีความผิดปกติบริเวณท่อนำไข่ รังไข่ หรือมดลูกหรือไม่

ทั้งนี้แพทย์จะเลือกวิธีตรวจวินิจฉัยที่เหมาะกับแต่ละบุคคล


บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 13 ธ.ค. 2022

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopic Surgery
  • Link to doctor
    พญ. นลินา ออประยูร

    พญ. นลินา ออประยูร

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
  • Link to doctor
    พญ. อรวี ฉินทกานันท์

    พญ. อรวี ฉินทกานันท์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • นรีเวชวิทยา
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • การผ่าตัดช่องท้องผ่านกล้อง
    • นรีเวชทางเดินปัสสาวะ
    Urogynecology, Female Pelvic Reconstructive Surgery, Minimally Invasive Gynecology, Menopause
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. พิพัฒน์ จงกลสิริ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    นพ.  วิวรรธน์  ชินพิลาศ

    นพ. วิวรรธน์ ชินพิลาศ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Menopause, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopy
  • Link to doctor
    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Gynecologic Oncology
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology