อาการ วิธีรักษาช่องคลอดอักเสบ จากเชื้อแบคทีเรีย - Bacterial Vaginosis Symptoms and Treatment

ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis)

ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย เกิดจากการที่แบคทีเรียก่อโรคบางชนิดในช่องคลอดเจริญเติบโตมากเกินไป จนทำให้เกิดความไม่สมดุลในช่องคลอด เกิดการติดเชื้อ ส่งผลให้สีและกลิ่นของตกขาวเปลี่ยนไป

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial vaginosis) เกิดจากการที่แบคทีเรียก่อโรคบางชนิดในช่องคลอดเจริญเติบโตมากเกินไป จนทำให้เกิดความไม่สมดุลในช่องคลอด เกิดการติดเชื้อ ส่งผลให้สีและกลิ่นของตกขาวเปลี่ยนไป โดยอาการดังกล่าวสามารถรักษาให้หายได้ด้วยยาปฏิชีวนะตามที่แพทย์สั่ง

อาการช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

ราว 84% ของหญิงที่ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียนั้นมักไม่มีอาการใด ๆ แต่บางรายอาจมีอาการดังต่อไปนี้

  • สีและกลิ่นของตกขาวเปลี่ยนไป ตกขาวสีขาวขุ่น ออกเทาหรือเขียว มักมีกลิ่นคาว
  • มีอาการคันและระคายเคืองที่ช่องคลอด
  • ปัสสาวะแสบขัด

อาการเหล่านี้จะคล้ายกับอาการของตกขาวจากเชื้อรา จึงควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างเหมาะสม

ควรพบแพทย์เมื่อไร?

ควรพบแพทย์หากตกขาวมีสีและกลิ่นเปลี่ยนไป เนื่องจากอาการของช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียคล้ายคลึงกับอาการของตกขาวจากเชื้อราหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม

สาเหตุที่ทำให้ช่องคลอดอักเสบ

ความไม่สมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอด

ในช่องคลอดของคนเรามีแบคทีเรียชนิดต่าง ๆ มากมาย การสวนล้างช่องคลอดหรือมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันจะทำให้แบคทีเรียในช่องคลอดไม่สมดุล หากจำนวนแบคทีเรีย anaerobe ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ไม่ดีมีมากกว่าแบคทีเรียที่ดีอย่าง lactobacilli ก็อาจทำให้ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

  • มีคู่นอนมากกว่าหนึ่งคนหรือมีคู่นอนคนใหม่
  • มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน
  • สวนล้างช่องคลอด
  • กำลังตั้งครรภ์
  • ใช้ห่วงคุมกำเนิด
  • กำลังรับประทานยาปฏิชีวนะอยู่
  • ร่างกายมีจำนวนแบคทีเรีย lactobacilli น้อยหรือไม่มีเลย แต่กรณีนี้มักพบได้น้อยมาก

การตรวจวินิจฉัยภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย -

การตรวจวินิจฉัยภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

  • การซักประวัติและตรวจภายใน
    ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียนั้นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์เท่านั้น โดยแพทย์จะทำการซักประวัติว่าผู้ป่วยเคยเป็นโรคทางเพศสัมพันธ์หรือติดเชื้อในช่องคลอดหรือไม่ แพทย์จะตรวจดูตกขาวเพื่อหาสัญญาณของการติดเชื้อ
  • การทดสอบในห้องปฏิบัติการ
    แพทย์จะเก็บตัวอย่างของตกขาวเพื่อนำส่งห้องปฏิบัติการ โดยที่ห้องปฏิบัติการจะทำการทดสอบด้วยวิธีสไลด์เปียก (wet mount) สูดกลิ่น (whiff test) หรือตรวจหาความเป็นกรดด่างของช่องคลอด (vaginal pH)

วิธีรักษาช่องคลอดอักเสบ จากเชื้อแบคทีเรีย

  • ยา Metronidazole ทั้งแบบยาเม็ดรับประทาน เจลทาเฉพาะที่ หรือยาสอด ผลข้างเคียงคืออาการปวดท้อง คลื่นไส้ และควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขณะใช้ยา
  • ยา Clindamycin มีทั้งแบบครีมและยาสอด ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างที่ใช้ยาและหลังใช้ยาครบตามกำหนด 3 วัน 
  • ยา Tinidazole อยู่ในรูปแบบยารับประทาน อาจมีผลข้างเคียง เช่น ปวดท้อง และควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขณะใช้ยา 
  • ยา Secnidazole สามารถผสมและรับประทานพร้อมอาหาร เช่น โยเกิร์ตหรือพุดดิ้ง โดยควรรับประทานให้หมดภายใน 30 นาที โดยห้ามเคี้ยวตัวยาขณะรับประทาน

ผู้ป่วยควรรับประทานหรือใช้ยาจนครบตามแพทย์สั่ง หากใช้ยาไม่ครบอาจทำให้กลับมาเป็นได้อีกภายใน 3-12 เดือน เมื่อกลับมาเป็นซ้ำ แพทย์อาจให้ใช้ยา Metronidazole นานขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองใน โรคหนองในเทียม โรคเริม หรือเอชไอวี

  • ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหลังการผ่าตัดมดลูกหรือการขูดมดลูกสูงขึ้น
  • ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ ซึ่งอาจส่งผลให้มีบุตรยาก 
  • การคลอดก่อนกำหนดหรือน้ำหนักตัวทารกแรกคลอดน้อย

การป้องกันช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับจุดซ่อนเร้นที่มีน้ำหอม ซึ่งรวมไปถึงผ้าอนามัยแบบแผ่นและแบบสอดแบบมีกลิ่นหอม ซึ่งอาจทำให้ช่องคลอดอักเสบได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องคลอดเพราะอาจไปรบกวนสมดุลของแบคทีเรีย 
  • ใช้ถุงยางอนามัยหรือแผ่นยางอนามัย (dental dam) เวลามีเพศสัมพันธ์
  • หลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลาย ๆ คน

การเตรียมตัวก่อนไปพบแพทย์

  • ควรนัดแพทย์ในวันที่ไม่มีประจำเดือน
  • ไม่ควรสวนล้างหรือมีเพศสัมพันธ์ 24 ชั่วโมงก่อนพบแพทย์
  • จดบันทึกอาการ ยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่กำลังรับประทาน รวมถึงคำถามที่ต้องการถามแพทย์

ยกตัวอย่าง เช่น

  • จะป้องกันภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียได้อย่างไร?
  • สัญญาณเตือนของภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียมีอะไรบ้าง?
  • จำเป็นต้องรับประทานยาหรือไม่ ?
  • คู่นอนควรมารับการตรวจหรือเข้ารับการรักษาด้วยหรือไม่?
  • ควรทำอย่างไรหากกลับมาเป็นซ้ำ?

นอกจากนี้ผู้ป่วยสามารถเตรียมคำถามที่แพทย์อาจถามได้ล่วงหน้า

  • มีอาการอะไรบ้าง?
  • เริ่มมีอาการเมื่อไร?
  • ตกขาวมีกลิ่นคาวหรือไม่?
  • เคยติดเชื้อที่ช่องคลอดมาก่อนหรือไม่?
  • กำลังรับประทานยาปฏิชีวนะอยู่หรือไม่?
  • ใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับจุดซ่อนเร้นหรือสบู่ที่มีส่วนผสมของน้ำหอมบ้างหรือไม่?

คำถามที่ถามบ่อย

  • ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียต่างจากตกขาวจากเชื้อราอย่างไร?
    • กลิ่น: ตกขาวจากภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียจะมีกลิ่นคาว ในขณะที่ตกขาวจากเชื้อราจะไม่มีกลิ่นคาว
    • อาการระคายเคืองในช่องคลอด: ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง ในขณะที่ตกขาวจากเชื้อราจะก่อให้เกิดการระคายเคืองในช่องคลอด
    • การรักษา: ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียต้องได้รับการตรวจวินิฉัยและใช้ยาปฏิชีวนะตามที่แพทย์สั่ง แต่ผู้ที่มีอาการตกขาวจากเชื้อราสามารถใช้ยาจากร้านขายยาบรรเทาอาการได้
  • ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือไม่?
    ไม่ใช่ แต่ว่าการมีเพศสัมพันธ์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 18 ต.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ.  วิวรรธน์  ชินพิลาศ

    นพ. วิวรรธน์ ชินพิลาศ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Menopause, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. อสมา วาณิชตันติกุล

    พญ. อสมา วาณิชตันติกุล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • ผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช
    Gynecologic Oncology, Gynecologic Endoscopy, Minimally Invasive Surgery, Sexual Medicine
  • Link to doctor
    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. พิพัฒน์ จงกลสิริ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopy
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopic Surgery
  • Link to doctor
    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Gynecologic Oncology
  • Link to doctor
    พญ. นลินา ออประยูร

    พญ. นลินา ออประยูร

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์