Artboard 1 Copy@1200x 100.jpg

ปวดศีรษะเรื้อรัง

สัญญาณอันตรายของอาการปวดศีรษะ และปัจจัยเสี่ยงของอาการปวดศีรษะ ที่อาจมีผลความผิดปกติในสมอง

แชร์

อาการปวดศีรษะเรื้อรังที่รบกวนคุณอยู่นั้น สาเหตุคืออะไร? ต้องทนกับอาการนี้ไปอีกนานแค่ไหน? จะช้าไปหรือไม่ หากปล่อยให้เกิดขึ้นต่อไปโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด?

พญ.จุฑาณัฐ ยศราวาส แพทย์ผู้ชำนาญการด้านระบบประสาทและสมอง จะมาให้คำตอบ

สัญญาณอันตรายของอาการปวดศีรษะ
  • อาการปวดฉับพลันรุนแรงแบบไม่เคยปวดมาก่อน
  • อาการปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ดีขึ้นบ้างเวลารับประทานยาแก้ปวด พอหยุดรับประทานอาการปวดกลับมาอีก
  • ปวดศีรษะสัมพันธ์กับท่าทาง เช่น นั่งหรือนอนแล้วปวดมากขึ้น
  • อาเจียนพุ่งตอนเช้าหลังตื่นนอน
  • ไอ จาม เบ่ง แล้วปวดศีรษะมากขึ้น
  • ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน
  • อ่อนแรงหรือชาตามส่วนต่างๆของร่างกาย
  • พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง
  • ไข้ คอแข็ง ปวดคอ/ศีรษะ เวลาก้ม
  • ชักเกร็งกระตุก

ปัจจัยเสี่ยงของอาการปวดศีรษะ ที่อาจมีผลความผิดปกติในสมอง

  • รับประทานยาฮอร์โมน
  • รับประทานวิตามินเอ หรือยาฆ่าเชื้อบางชนิด
  • มีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก ทั้งเพิ่มขึ้น หรือลดลงในระยะเวลาอันสั้น
  • เป็นโรคมะเร็งอยู่เดิม
  • ได้รับอุบัติเหตุบริเวณศีรษะ

ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด แล้วปวดศีรษะอันตรายหรือไม่  

  • หากไม่มีสัญญาณเตือนอันตรายข้างต้น สามารถรับประทานยาแก้ปวดบรรเทาอาการปวดและสังเกตุอาการของตนเองได้ ส่วนใหญ่มักเกิดจากปฏิกิริยาของวัคซีนต่อร่างกายที่ไม่รุนแรง ไม่มีความผิดปกติในสมอง
  • มีรายงานการเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ ซึ่งหากเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำในสมอง ส่งผลให้มีอาการปวดศีรษะ พบได้ไม่บ่อย
  • หากไม่แน่ใจสามารถพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด

บทความโดย

พญ.จุฑาณัฐ ยศราวาส
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านระบบประสาทและสมอง
ประวัติแพทย์

เผยแพร่เมื่อ: 19 ก.ย. 2022

แชร์