อาการ สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยงและการรักษาโรคปากแหว่งเพดานโหว่ (Cleft Lip and Cleft Palate)

โรคปากแหว่งเพดานโหว่ (Cleft Lip and Cleft Palate)

โรคปากแหว่งเพดานโหว่ (Cleft Lip and Cleft Palate) คือความผิดปกติของกระบวนการสร้างโครงสร้างของใบหน้าและช่องปาก ทำให้โครงสร้างของใบหน้าทารกไม่แนบสนิท แต่ก็สามารถแก้ไขและฟื้นฟูให้กลับมาทำงานได้ตามปกติ

แชร์

โรคปากแหว่งเพดานโหว่

โรคปากแหว่งเพดานโหว่ (Cleft Lip and Cleft Palate) คือ ความผิดปกติของกระบวนการสร้างโครงสร้างของใบหน้าและช่องปาก ซึ่งทำให้เกิดการเปิดหรือปริแตกในริมฝีปากบนเพดานปากหรือทั้งสอง ส่งผลให้โครงสร้างของใบหน้าของทารกไม่แนบสนิท ความผิดปกตินี้เกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ โดยพบว่าเงื่อนไขทางพันธุกรรมหรือกลุ่มอาการที่สืบทอดมาเป็นปัจจัยที่พบบ่อยของภาวะนี้ อย่างไรก็ตามปากแหว่งเพดานโหว่สามารถแก้ไขและฟื้นฟูให้กลับมาทำงานได้ตามปกติ

อาการของโรคปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นอย่างไร?

โรคปากแหวางเพดานโหว่สามารถระบุได้ตั้งแต่แรกเกิด จากการสังเกตุความผิดปกติดังต่อไปนี้

  • รอยแหว่งในริมฝีปากหรือเพดานปากที่มีผลต่อใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
  • รอยแหว่งในริมฝีปากหรือเพดานปากเป็นรอยเล็ก ๆ ในริมฝีปากหรือแพร่กระจายไปในบริเวณเหงือกด้านบนหรือด้านล่างของจมูก
  • รอยแหว่งที่ไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะของใบหน้า

ปากแหว่งอีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่าเพดานโหว่ใต้ชั้นเยื่อเมือก (submucous cleft palate): ซึ่งไม่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่แรกเกิด แต่มักแสดงสัญญาณและอาการ เช่น

  • ปัญหาระหว่างการป้อนอาหาร
  • ปัญหาการกลืน เช่น ของเหลวหรืออาหารออกมาทางจมูก
  • เสียงพูดทางจมูก
  • การติดเชื้อเรื้อรังในหู

เมื่อไหร่จึงควรพบแพทย์?

แพทย์มักวินิจฉัยโรคปากแหว่งเพดานโหว่ตั้งแต่แรกเกิด อย่างไรก็ตามหากคุณสังเกตเห็นสัญญาณหรืออาการของโรคปากแหว่งเพดานโหว่ ขอแนะนำให้พาลูกน้อยไปพบแพทย์

ปากแหว่งเพดานโหว่ เกิดจากสาเหตุอะไร?

โรคปากแหว่งเพดานโหว่เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อในปากและบริเวณริมฝีปากมีไม่มากพอที่จะเชื่อมกันได้อย่างสมบูรณ์ ภาวะนี้มักเกิดขึ้นในช่วงสองถึงสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ ปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมถือเป็นปัจจัยหลักของภาวะนี้

อะไรคือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ปากแหว่งเพดานโหว่?

พบว่ามีปัจจัยหลายประการที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปากแหว่งเพดานโหว่ ได้แก่

  • ประวัติสมาชิคครอบครัวที่เป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่
  • หญิงตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือทานยาบางชนิด
  • หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์
  • โรคอ้วนระหว่างตั้งครรภ์

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคปากแหว่งเพดานโหว่

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะปากแหว่งเพดานโหว่มีความแตกต่างกันไปตามประเภทและความรุนแรงของอาการ ภาวะแทรกซ้อนอาจรวมถึง:

  • ปัญหาระหว่างการป้อนอาหาร
  • สูญเสียการได้ยิน
  • การติดเชื้อในหู
  • ปัญหาทางทันตกรรม
  • ปัญหาการพูด
  • มีแนวโน้มที่จะเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขทางการแพทย์อื่น ๆ เช่น ปัญหาทางสังคม อารมณ์และพฤติกรรม

การตรวจวินิจฉัยโรคปากแหว่งเพดานโหว่

โรคปากแหว่งเพดานโหว่สามารถวินิจฉัยได้ทันทีตั้งแต่แรกเกิด อย่างไรก็ตามสามารถสังเกตุเห็นได้ในอัลตราซาวนด์ก่อนคลอด

การรักษาปากแหว่งเพดานโหว่ มีกี่วิธี อะไรบ้าง?

จุดประสงค์ของการรักษาโรคปากแหว่งเพดานโหว่คือเพื่อรักษาให้ใบหน้ากลับสู่สภาวะปกติ และเพิ่มความสามารถในการกิน พูด และได้ยินตามปกติ การรักษาอาจรวมถึง

ศัลยกรรม

ในการแก้ไขปากแหว่งเพดานโหว่ แพทย์มักจะพิจารณาเงื่อนไขของทารกแต่ละคนเพื่อกำหนดเวลาที่เหมาะสมในการผ่าตัดและประเภทของการผ่าตัด ประเภทของการผ่าตัดปากแหว่งเพดานโหว่มีดังนี้

  • ซ่อมแซมอาการปากแหว่ง
  • ซ่อมแซมอาการเพดานโหว่
  • การผ่าตัดท่อหู
  • การผ่าตัดเสริมสร้างลักษณะภายนอก

ช่วงอายุที่แนะนำสำหรับการผ่าตัดแต่ละประเภท

  • ภายใน 3 - 6 เดือนแรกของอายุ การซ่อมแซมอาการปากแหว่ง
  • อายุ 12 เดือนขึ้นไป การซ่อมแซมอาการเพดานโหว่
  • อายุระหว่าง 2 ถึงวัยรุ่นตอนปลาย การผ่าตัดติดตามผล

การเตรียมการก่อนการพบแพทย์

ก่อนการนัดหมายคุณควรตระหนักถึงข้อจำกัดก่อนการนัดหมาย และเตรียมข้อมูลบางอย่าง เช่น

  • อาการของทารกที่เกิดขึ้น
  • คำถามที่คุณต้องการถามแพทย์

ในระหว่างการปรึกษา แพทย์อาจถามคำถามบางอย่างรวมถึงข้อมูล เช่น

  • ประวัติสมาชิกในครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับโรคปากแหว่งเพดานโหว่
  • ปัญหาระหว่างการป้อนอาหาร
  • สิ่งที่ทำให้อาการดีขึ้นหรือแย่ลง
  • อาการของทารกที่ทำให้คุณกังวลใจ

เผยแพร่เมื่อ: 24 ต.ค. 2020

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ทพญ. พิสชา พิทยพัฒน์

    ทพญ. พิสชา พิทยพัฒน์

    • ทันตกรรม
    • ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
    ทันตกรรมทั่วไป, ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
  • Link to doctor
    ทพญ. บุญญนาถ กึนสี

    ทพญ. บุญญนาถ กึนสี

    • ทันตกรรม
    • ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
    ทันตกรรมทั่วไป, ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
  • Link to doctor
    ทพ. จักรพันธุ์ สามไพบูลย์

    ทพ. จักรพันธุ์ สามไพบูลย์

    • ทันตกรรม
    • ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
    ทันตกรรมทั่วไป, ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
  • Link to doctor
    ทพญ. เทพิน บุญญะพานิชสกุล

    ทพญ. เทพิน บุญญะพานิชสกุล

    • ทันตกรรม
    • ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
    ทันตกรรมทั่วไป, ทันตกรรมศัลยกรรมช่องปาก
  • Link to doctor
    ผศ.ทพ. เกียรติอนันต์ บุญศิริเศรษฐ

    ผศ.ทพ. เกียรติอนันต์ บุญศิริเศรษฐ

    • ทันตกรรม
    • ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
  • Link to doctor
    ผศ.ทพญ. ณฤษพร ชัยประกิจ

    ผศ.ทพญ. ณฤษพร ชัยประกิจ

    • ทันตกรรม
    • ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
    ทันตกรรมทั่วไป, ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
  • Link to doctor
    ทพญ. กรรวี เขียวเจริญ

    ทพญ. กรรวี เขียวเจริญ

    • ทันตกรรม
    • ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
    ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า, เวชศาสตร์ช่องปาก, ทันตกรรมศัลยกรรมช่องปาก