การตรวจวินิจฉัยและรักษาภาวะมีบุตรยาก Diagnosis and Treatment of Infertility - MedPark Hospital

ตรวจวินิจฉัยและรักษาภาวะมีบุตรยาก

การตั้งครรภ์จะสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยการเจริญพันธุ์ของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ในผู้ชายนั้นสเปิร์มหรือตัวอสุจิจะต้องแข็งแรง ผลิตออกมาจำนวนมากพอและหลั่งเข้าไปในช่องคลอดอย่างมีประสิทธิภาพ

แชร์

การประเมินภาวะมีบุตรยาก

การตั้งครรภ์จะสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยการเจริญพันธุ์ของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ในผู้ชายนั้นสเปิร์มหรือตัวอสุจิจะต้องแข็งแรง ผลิตออกมาจำนวนมากพอ และหลั่งเข้าไปในช่องคลอดอย่างมีประสิทธิภาพ ในผู้หญิงรังไข่จะต้องปล่อยไข่ที่สุกแล้วออกมา ท่อรังไข่ไม่ตีบตันเพื่อให้เชื้ออสุจิเดินทางไปหาไข่เพื่อทำการปฏิสนธิได้ และตัวอ่อนสามารถเคลื่อนย้ายตัวไปฝังตัวที่มดลูกได้สะดวก

การตรวจวินิจฉัยภาวะมีบุตรยาก

แพทย์จะสอบถามถึงประวัติการมีเพศสัมพันธ์และอธิบายแนวทางที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ จากนั้นจะทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุ อย่างไรก็ตามบางรายอาจมีภาวะมีบุตรยากที่ไม่สามารถพบสาเหตุได้

การตรวจวินิจฉัยภาวะมีบุตรยากในฝ่ายชาย:

การตรวจวิเคราะห์คุณภาพของน้ำเชื้อ
ในกรณีที่การตรวจวิเคราะห์น้ำเชื้อพบความผิดปกติ จะตรวจเพิ่มเติมดังนี้ (แล้วแต่กรณี)

  1. การตรวจร่างกาย รวมถึงการตรวจอวัยวะเพศ
  2. การตรวจฮอร์โมนเช่น ตรวจหาระดับของเทสโทสเตอร์โรน เป็นต้น
  3. การตรวจทางพันธุกรรม เพื่อดูว่ามีความผิดปกติใดๆทางพันธุกรรมหรือไม่
  4. การตัดชิ้นเนื้ออัณฑะไปตรวจ
  5. การตรวจวินิจฉัยด้วยภาพทางการแพทย์ เช่น MRI การตรวจอัลตราซาวนด์ต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนัก การตรวจท่อลำเลียงน้ำเชื้อ

การตรวจวินิจฉัยภาวะมีบุตรยากในฝ่ายหญิง:

  • การตรวจร่างกาย รวมถึงการตรวจทางนรีเวช
  • การตรวจการตกไข่
  • การฉีดสีตรวจท่อนำไข่และโพรงมดลูกเพื่อดูว่าท่อนำไข่ตีบตันหรือไม่
  • การตรวจจำนวนไข่พื้นฐานและการตรวจระดับฮอร์โมนที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์
  • การตรวจวินิจฉัยด้วยภาพอัลตราซาวด์บริเวณโพรงมดลูกและรังไข่
  • การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก
  • การส่องกล้องในช่องท้องเพื่อตรวจดูว่ามีความผิดปกติบริเวณท่อนำไข่ รังไข่ หรือมดลูกหรือไม่

ทั้งนี้แพทย์จะเลือกวิธีตรวจวินิจฉัยที่เหมาะกับแต่ละบุคคล

การรักษา

แพทย์จะพิจารณาอายุ สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก ระยะเวลาที่พยายามมีบุตร  และความต้องการของผู้เข้ารับการรักษาเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล หากผู้เข้ารับบริการยังไม่สามารถตั้งครรภ์ตามธรรมชาติได้เองหลังทำตามคำแนะนำของแพทย์แล้ว แพทย์จะแนะนําการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์เข้ามาช่วย

การรักษาภาวะมีบุตรยากในฝ่ายชาย:

  • การปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตสามารถช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จของการตั้งครรภ์ได้ เช่น เริ่มออกกําลังกายเป็นประจํา เพิ่มความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์ เลิกสูบบุหรี่ เป็นต้น
  • การรับประทานยาเพื่อเพิ่มคุณภาพและปริมาณการผลิตน้ำเชื้อ
  • การผ่าตัดเพื่อซ่อมแซม หรือแก้ไขภาวะอุดตันของท่อลำเลียงน้ำเชื้อ หรือเพื่อเก็บตัวอสุจิ

การรักษาภาวะมีบุตรยากในฝ่ายหญิง:

  • การรับประทานยาส่งเสริมภาวะเจริญพันธุ์เพื่อควบคุมและกระตุ้นการตกไข่
  • การคัดแยกเชื้ออสุจิเพื่อฉีดเข้าโพรงมดลูก (Intra-Uterine Insemination: IUI) เป็นการช่วยให้เกิดการปฏิสนธิ โดยการฉีดตัวอสุจิที่แข็งแรงเข้าไปในโพรงมดลูกในช่วงที่มีการตกไข่
  • การผ่าตัดฟื้นฟูภาวะเจริญพันธุ์สําหรับผู้ที่มีปัญหาในโพรงมดลูก เช่น มีแผ่นเยื่อกั้นที่ผิดปกติ พังผืดในโพรงมดลูก ติ่งเนื้อในมดลูก

เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ 

การทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF เป็นวิธีรักษาภาวะมีบุตรยากที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งวิธีการนี้อาจทำร่วมกับวิธีการต่าง ๆ ดังนี้

  • การฉีดตัวอสุจิเข้าไปในไข่หรือการทำอิ๊กซี่ (ICSI)
  • การช่วยฟักตัวอ่อน (Assisted Hatching)
  • การอุ้มบุญ
  • การใช้ไข่หรือน้ำเชื้อจากผู้บริจาค

ภาวะแทรกซ้อนของการรักษา

  • การติดเชื้อหรือเลือดออก
  • การตั้งครรภ์แฝดหรือมากกว่า
  • ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป (Ovarian Hyperstimulation Syndrome (OHSS)

การเตรียมตัว

การรับมือกับภาวะมีบุตรยากเป็นเรื่องที่ท้าทายและอาจทำให้รู้สึกท้อ โดยก่อนที่จะเริ่มเข้ารับการรักษาผู้เข้ารับบริการควรเตรียมตัวเตรียมใจกับผลลัพธ์ที่ไม่แน่นอน พูดคุยและตัดสินใจร่วมกันว่ามีความพร้อมทางใจและทุนทรัพย์จะทำการรักษากี่รอบ รวมทั้งรับทราบความเสี่ยง เช่น การตั้งครรภ์แฝดหรือมากกว่า พร้อมกับพิจารณาทางเลือกอื่น ๆ เช่น การรับบุตรบุญธรรมหรือการไม่มีบุตร ไว้ด้วยเช่นกัน แม้ว่าจะเข้ารับการรักษาหลายรอบแล้วก็ตาม ก็ยังอาจมีโอกาสที่จะเกิดการแท้งบุตรหรือตั้งครรภ์ไม่สำเร็จได้

ผู้เข้ารับบริการควรหมั่นพูดคุยกับแพทย์ เพื่อน หรือคนที่คุณรักที่คอยสนับสนุนให้กำลังใจ การพูดคุยปลดเปลื้องความรู้สึกและช่วยลดความเครียดลงได้ ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วยการออกกําลังกายเป็นประจําและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

ก่อนเข้ารับคำปรึกษาปัญหาภาวะมีบุตรยาก ผู้เข้ารับบริการควรเตรียมตัวดังต่อไปนี้

  • จดบันทึกว่าพยายามตั้งครรภ์มานานแค่ไหนแล้ว ปกติมีเพศสัมพันธ์บ่อยแค่ไหน
  • จดประวัติสุขภาพและรายการยาที่รับประทานอยู่
  • เขียนคําถามที่ต้องการถามแพทย์ เช่น
  • สาเหตุของภาวะมีบุตรยากคืออะไร
  • ต้องทำการตรวจใด ๆ เพิ่มเติมบ้างหรือไม่
  • การรักษาแบบใดที่เหมาะกับกับคู่ของคุณ และมีผลข้างเคียงอะไรบ้างหรือไม่
  • มีภาวะแทรกซ้อนอันเกิดจากการรักษาที่ควรทราบก่อนหรือไม่
  • ควรเข้ารับการรักษาบ่อยแค่ไหน

แพทย์อาจถามคำถามดังต่อไปนี้

คําถามสําหรับทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย

  • พยายามตั้งครรภ์มานานเท่าไหร่แล้ว
  • มีเพศสัมพันธ์บ่อยแค่ไหน
  • สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจําหรือไม่
  • มียาที่รับประทานเป็นประจำหรือไม่
  • ออกกําลังกายเป็นประจำหรือไม่
  • ปกติรับประทานอาหารอะไรบ้าง

คําถามสําหรับฝ่ายชาย

  • เคยมีบุตรมาก่อนหน้านี้หรือไม่
  • ระหว่างมีเพศสัมพันธ์ พบปัญหาใด ๆ บ้างหรือไม่ หรือมีความต้องการทางเพศลดลงหรือไม่
  • มีอาการปวดลูกอัณฑะหรือไม่
  • ปกติอาบน้ำอุ่นหรือไม่

คําถามสําหรับฝ่ายหญิง

  • เริ่มมีประจําเดือนครั้งแรกเมื่อไร
  • ปกติประจําเดือนมาปกติหรือไม่ มามากหรือไม่
  • เคยตั้งครรภ์มาก่อนหรือไม่

หลากหลายครอบครัวที่สำเร็จ เริ่มต้นจากการพูดคุย

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 03 ม.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. พิพัฒน์ จงกลสิริ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    พญ. อรวี ฉินทกานันท์

    พญ. อรวี ฉินทกานันท์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • นรีเวชวิทยา
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • การผ่าตัดช่องท้องผ่านกล้อง
    • นรีเวชทางเดินปัสสาวะ
    Urogynecology, Female Pelvic Reconstructive Surgery, Minimally Invasive Gynecology, Menopause
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. นลินา ออประยูร

    พญ. นลินา ออประยูร

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopic Surgery
  • Link to doctor
    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Menopause, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Gynecologic Oncology
  • Link to doctor
    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopy
  • Link to doctor
    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    นพ.  วิวรรธน์  ชินพิลาศ

    นพ. วิวรรธน์ ชินพิลาศ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology