เนื้องอกต่อมใต้สมอง - Pituitary Tumor

เนื้องอกต่อมใต้สมอง

เนื้องอกต่อมใต้สมองคือการเจริญเติบโตที่ผิดปกติในต่อมใต้สมอง มีผลต่อการผลิตฮอร์โมนหลายชนิดที่มีความสำคัญต่อการทำงานในหลายระบบของร่างกาย

แชร์

เลือกหัวข้อที่ต้องการ


เนื้องอกต่อมใต้สมอง

เนื้องอกต่อมใต้สมองคือการเจริญเติบโตที่ผิดปกติในต่อมใต้สมอง โดยเนื้องอกชนิดนี้มักไม่เป็นมะเร็งและมักจะไม่แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย การเกิดเนื้องอกต่อมใต้สมองมีผลต่อการผลิตฮอร์โมนหลายชนิดที่มีความสำคัญต่อการทำงานในหลายระบบของร่างกาย ทั้งนี้การรักษาอาจรวมถึงการผ่าตัด การใช้ยาเพื่อควบคุมระดับฮอร์โมน ตลอดจนการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด

อาการของเนื้องอกต่อมใต้สมอง

สัญญาณและอาการของเนื้องอกต่อมใต้สมองแตกต่างกันไปตามฮอร์โมนที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับขนาดและการกดทับของเนื้องอกในโครงสร้างอื่น ๆ เนื้องอกที่มีขนาด 1 เซนติเมตรถือเป็นเนื้องอกต่อมใต้สมองขนาดใหญ่ที่เรียกว่า Macroadenomas เนื้องอกที่มีขนาดเล็กกว่านี้ เรียกว่า Microadenomas

จากผลของการกดทับของเนื้องอก คนไข้อาจมีอาการปวดศีรษะและสูญเสียการมองเห็นโดยเฉพาะการสูญเสียการมองเห็นส่วนปลาย การพัฒนาเนื้องอกต่อมใต้สมองอาจทำให้เกิดอาการที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน อันได้แก่

  • การผลิตฮอร์โมนมากเกินไป
  • การขาดฮอร์โมน
  • กระตุ้นต่อมหมวกไตชั้นนอกให้สร้างฮอร์โมนคอร์ทิซอล (ATCH tumors)

ผู้ที่มีเนื้องอก ACTH อาจพบกลุ่มคุชชิ่งที่ก่อให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

  • ไขมันสะสมบริเวณส่วนกลางและหลังส่วนบน
  • ความกลมของใบหน้า
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • แขนและขาผอมบาง
  • น้ำตาลในโลหิตสูง
  • ความดันโลหิตสูง
  • เกิดสิว
  • กระดูกอ่อนแอ เปราะบาง
  • รอยช้ำ
  • ผิวหนังแตกลาย
  • ความวิตกกังวล
  • อาการหงุดหงิด
  • อาการซึมเศร้า

กระตุ้นการหลั่งโกรทฮอร์โมน (Growth hormone-secreting tumors)

เนื้องอกต่อมใต้สมองสามารถเพิ่มปริมาณการหลั่งโกรทฮอร์โมนซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

  • ลักษณะใบหน้าหยาบ
  • มือและเท้าขยาย
  • การขับเหงื่อเพิ่มขึ้น
  • น้ำตาลในโลหิตสูง
  • ความดันโลหิตสูง
  • ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ
  • อาการปวดข้อ
  • ฟันเก
  • ขนตามร่างกายเพิ่มขึ้น

กระตุ้นการหลังฮอร์โมนโปรแลคติน Prolactin secreting tumors

เนื้องอกต่อมใต้สมองอาจส่งผลให้มีการผลิตโปรแลคตินมากเกินไป จนสามารถลดระดับฮอร์โมนเพศได้ อาการของภาวะนี้จะแตกต่างกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย
 
อาการในผู้หญิงประกอบด้วย
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • ประจำเดือนขาด
  • การระบายน้ำนมออกจากเต้านม
    อาการในผู้ชายประกอบด้วย
    • จำนวนอสุจิลดลง
    • สูญเสียความต้องการทางเพศ
    • ปัญหาสมรรถภาพทางเพศ
    • การเจริญเติบโตของเต้านมผิดปกติ

    กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนต่อมไทรอยด์

    เนื้องอกต่อมใต้สมองอาจกระตุ้นฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ให้เกิดการผลิตมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์เป็ฯพิษ ซึ่งอาจนำไปสู่อาการดังต่อไปนี้
    • น้ำหนักลด
    • หัวใจเต้นผิดปกติหรือเต้นเร็ว
    • อาการวิตกกังวล
    • อาการหงุดหงิด
    • ถ่ายท้องบ่อย
    • ขับเหงื่อเพิ่มมากขึ้น

    เมื่อไหร่จึงควรพบแพทย์

    ควรพบแพทย์หากพบสัญญาณและอาการที่กล่าวมาข้างต้น นอกจากนี้แนะนำให้ปรึกษาแพทย์หากสมาชิกในครอบครัวของคุณมีประวัติที่เกี่ยวข้องกับเนื้องอกต่อมไร้ท่อชนิดที่ 1 (MEN1)

    สาเหตุ

    เนื้องอกต่อมใต้สมองเกิดจากการเติบโตของเซลล์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ก่อตัวเป็นเนื้องอกในต่อมใต้สมอง สาเหตุของการเติบโตที่ผิดปกตินี้ยังไม่ชัดเจน แต่พบว่าการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมอาจเกี่ยวข้องกับการพัฒนาของเนื้องอกต่อมใต้สมอง

    ปัจจัยเสี่ยง

    เนื้องอกต่อมไร้ท่อชนิดที่ 1 (MEN1) เป็นหนึ่งในเงื่อนไขทางพันธุกรรมที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเนื้องอกต่อมใต้สมองได้ เนื่องจากเนื้องอกมักเกิดขึ้นในหลายต่อมของระบบต่อมไร้ท่อ

    ภาวะแทรกซ้อน

    แม้ว่าเนื้องอกในต่อมใต้สมองจะไม่ค่อยเติบโตหรือแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย แต่ก็อาจทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นหรือการขาดฮอร์โมนถาวรในบางกรณี

    การวินิจฉัย

    เนื่องจากอาการของเนื้องอกต่อมใต้สมองมีความคล้ายคลึงกับภาวะสุขภาพอื่น ๆ จึงมักไม่ได้รับการวินิจฉัยและอาจพบได้จากการทดสอบภาวะทางสุขภาพอื่น ๆ อย่างไรก็ตามในการวินิจฉัยเนื้องอกต่อมใต้สมองแพทย์อาจทำการตรวจร่างกายและทำการทดสอบหลายอย่าง ซึ่งอาจรวมไปถึงการทดสอบดังต่อไปนี้

    • การตรวจเลือดและปัสสาวะ
    • เพื่อวัดระดับฮอร์โมน
    • การถ่ายภาพสมอง เช่น CT scan หรือ MRI เพื่อสำรวจตำแหน่งและขนาดของเนื้องอก
    • การทดสอบการมองเห็น เพื่อตรวจสอบผลกรทบของเนื้องอกต่อการมองเห็นของคุณ

    การรัษา

    การรักษาเนื้องอกต่อมใต้สมองขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และการเจริญเติบโตของเนื้องอก แพทย์มักพิจารณาอายุและเงื่อนไขอื่น ๆ ของแต่ละบุคคล บางรายที่มีเนื้องอกต่อมใต้สมองที่ไม่ก่อให้เกิดสัญญาณหรืออาการอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาใด ๆ แต่อาจจำเป็นต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิดรวมถึงการตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอเพื่อติดตามสังเกตุการเจริญเติบโตของเนื้องอก

    อย่างไรก็ตามแพทย์อาจพิจารณาการรักษาบางอย่างสำหรับผู้ที่มีเนื้องอกต่อมใต้สมองที่ทำให้เกิดอาการบางอย่าง โดยทางเลือกของการรักษาอาจรวมถึงวิธีการดังต่อไปนี้

    การผ่าตัด
    ในกรณีที่เนื้องอกมีผลต่อการสร้างฮอร์โมนหรือกดทับเส้นประสาทตา แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดเนื้องอกที่ต่อมใต้สมองออก โดยการผ่าตัดมีสองเทคนิคหลัก ได้แก่

    การผ่าตัดส่องกล้อง (Endoscopic transnasal transsphenoidal surgery)
    เนื้องอกจะถูกกำจัดออกทางจมูกและไซนัสโดยไม่ก่อให้เกิดแผลภายนอก เทคนิคนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อสมองส่วนอื่นและไม่ก่อให้เกิดแผลเป็นที่มองเห็นได้

    การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ (Transcranial approach หรือ craniotomy)
    เทคนิคนี้จะช่วยให้สามารถเอาเนื้องอกที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อนมากขึ้นออกทางส่วนบนของกะโหลกศีรษะของคุณได้

    การรักษาด้วยรังสี
    จุดมุ่งหมายของการรักษาด้วยรังสีคือการทำลายเนื้องอกโดยการส่งลำแสงพลังงานสูงไปยังเนื้องอกโดยตรง แพทย์อาจใช้การรักษานี้เพียงอย่างเดียวหรือกระทำหลังการผ่าตัดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษา การรักษาด้วยรังสีมีหลายวิธี ได้แก่

    • การฉายรังสีแบบครั้งเดียว (Stereotactic Radiosurgery)
    • การรักษาด้วยรังสีจากภายนอก (External Beam Radiation Therapy)
    • การรักษาด้วยรังสีแบบปรับความเข้ม (Intensity modulated radiation therapy หรือ IMRT)
    • การบำบัดด้วยลำแสงโปรตอน (Proton beam therapy)

    การใช้ยา
    แพทย์อาจสั่งยาบางชนิดเพื่อลดขนาดของเนื้องอกต่อมใต้สมองบางชนิดหรือเพื่อควบคุมระดับฮอร์โมน ได้แก่

    • เพื่อควบคุมการหลั่งฮอร์โมนโปรแลคติน
    • เพื่อรักษากลุ่มอาการคุชชิ่งที่เกิดจากการผลิตฮอร์โมนคอร์ทิซอล
    • เพื่อควบคุมการปริมาณโกรทฮอร์โมน

    การทดแทนฮอร์โมนต่อมใต้สมอง
    คนไข้อาจต้องทานฮอร์โมนทดแทนเพื่อรักษาและควบคุมระดับฮอร์โมนหากเนื้องอกหรือการผ่าตัดลดการผลิตฮอร์โมน รวมถึงผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยรังสีบางราย

    การเตรียมการก่อนการพบแพทย์

    ก่อนการนัดหมายคุณควรตระหนักถึงข้อจำกัดก่อนการนัดหมาย และเตรียมข้อมูลบางอย่าง เช่น

    • อาการที่เกิดขึ้น
    • ข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญของคุณ
    • ยาทั้งหมดที่คุณกำลังใช้อยู่
    • คำถามที่คุณต้องการถามแพทย์

    ในระหว่างการปรึกษา แพทย์อาจถามคำถามบางอย่างรวมถึงข้อมูล เช่น

    • จุดเริ่มต้นของอาการ
    • อาการนั้นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือเป็นครั้งคราว
    • ความรุนแรงของอาการ
    • สิ่งที่ทำให้อาการดีขึ้นหรือแย่ลง
    • ประวัติการทดสอบด้วยภาพถ่ายทางการแพทย์ที่บริเวณศีรษะ

    เผยแพร่เมื่อ: 24 ต.ค. 2020

    แชร์

    แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. ฐิตินันท์ อนุสรณ์วงศ์ชัย

    พญ. ฐิตินันท์ อนุสรณ์วงศ์ชัย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
  • Link to doctor
    พญ.  ปิยนุช  ปิยสาธิต

    พญ. ปิยนุช ปิยสาธิต

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรกรรมทั่วไป, โรคต่อมไร้ท่อทั่วไป, อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม
  • Link to doctor
    นพ. ธีรวุฒิ คลังเจริญชัย

    นพ. ธีรวุฒิ คลังเจริญชัย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม
  • Link to doctor
    พญ. ศศิภัสช์ ช้อนทอง

    พญ. ศศิภัสช์ ช้อนทอง

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    โรคความผิดปกติของต่อมหมวกไต, โรคทางเมแทบอลิก, ความดันโลหิตสูงจากภาวะผิดปกติของต่อมไร้ท่อ, ความผิดปกติ แปรปรวนของสภาวะสารน้ำและเกลือแร่, โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน, โรคต่อมใต้สมอง, โรคไทรอยด์, เนื้องอกและมะเร็งต่อมไทรอยด์
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. ธัชนันท์ พรธารักษ์เจริญ

    ผศ.พญ. ธัชนันท์ พรธารักษ์เจริญ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    โรคต่อมไร้ท่อทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. ณิชกานต์ หลายชูไทย

    พญ. ณิชกานต์ หลายชูไทย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    โรคต่อมหมวกไต, ความผิดปกติของแคลเซียมและกระดูก, อินซูลินปั๊ม, โรคต่อมไร้ท่อทั่วไป, ไขมันในเลือดสูง, โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน, โรคต่อมใต้สมอง, โรคไทรอยด์
  • Link to doctor
    นพ. อมรพรรณ เลิศฤทธิ์

    นพ. อมรพรรณ เลิศฤทธิ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    โรคต่อมไร้ท่อทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. วชรพรรณ อัสนุเมธ

    พญ. วชรพรรณ อัสนุเมธ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. วิน ภาคสุข

    นพ. วิน ภาคสุข

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
  • Link to doctor
    พญ. ปฐมา จรรย์แสง ผ่องสุวรรณ

    พญ. ปฐมา จรรย์แสง ผ่องสุวรรณ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    ไทรอยด์ และมะเร็งไทรอยด์