อาการ การรักษาผิวไหม้แดด และการฟื้นฟูผิว - Sunburn: Symptoms, Treatment and Prevention

ผิวไหม้แดด (Sunburn)

ผิวไหม้แดด (Sunburn) คือ เวลาที่เราอยู่กลางแดดจัดนาน ๆ แสงแดดและรังสีอัลตราไวโอเล็ตจะทำลายเซลล์ผิวหนังของเราและผิวอาจเริ่มไหม้แดด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ต้องตากแดดเป็นเวลานานต่อเนื่องเป็นประจำหรือมีอาการผิวไหม้แดดบ่อย ๆ

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


ผิวไหม้แดด (Sunburn)

ผิวไหม้แดด (Sunburn) คือ เวลาที่เราอยู่กลางแดดจัดนาน ๆ แสงแดดและรังสีอัลตราไวโอเล็ตจะทำลายเซลล์ผิวหนังของเราและผิวอาจเริ่มไหม้แดด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ต้องตากแดดเป็นเวลานานต่อเนื่องเป็นประจำหรือมีอาการผิวไหม้แดดบ่อย ๆ ก็อาจทำให้ผิวหนังมีริ้วรอยเหี่ยวย่นและยังเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งผิวหนังอีกด้วย

ผิวไหม้แดด มีอาการอย่างไร?

อาการผิวไหม้แดด เมื่อเราหากอยู่กลางแดดและไม่มีอะไรปกป้องผิวจากแสงแดดเป็นเวลา 2-3 ชั่วโมง ผิวหนังอาจเริ่มไหม้แดดได้ โดยอาจมีอาการดังต่อไปนี้

  • ผิวเปลี่ยนเป็นสีชมพูหรือแดง บวม กดเจ็บ
  • ผิวอุ่นหรือร้อนเมื่อสัมผัส
  • คัน มีตุ่มน้ำขึ้น
  • ระคายเคืองตา มีขี้ตา
  • หากผิวไหม้แดดรุนแรง อาจมีไข้ ปวดศีรษะ เหนื่อยอ่อน คลื่นไส้
  • ประมาณ 2-3 วัน ผิวจะเริ่มลอกซึ่งเป็นขั้นตอนการรักษาตามธรรมชาติของผิวหนัง

อาการผิวไหม้แดด - The symptoms of sunburn

อาการผิวไหม้แดด แบบไหนที่ควรพบแพทย์?

  • มีตุ่มน้ำขึ้นที่หน้า มือ หรืออวัยวะเพศ
  • มีตุ่มหนอง
  • บริเวณผิวหนังที่ไหม้แดดมีอาการบวมรุนแรง
  • อาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ มีไข้ หนาวสั่น หรืออาการปวดแย่ลง
  • การมองเห็นเปลี่ยน มองเห็นไม่ชัด

ควรเข้ารับการรักษาทันทีหากมีไข้สูงกว่า 39.4 องศาเซลเซียส หรือมีอาการอาเจียน สับสน ขาดน้ำ ผิวหนังเย็น เวียนศีรษะ เป็นลม ติดเชื้อ

ผิวไหม้แดดมีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงจากอะไร?

  • สีผิว: ชนิดและการกระจายค่าของเม็ดสีเมลานินส่งผลต่อสีผิวของคนเรา เมลานินมี 2 ชนิด ขึ้นอยู่กับการกระจายตัวว่าอยู่แน่นหรือห่าง ซึ่งเมลานินจะทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันผิวจากแสงแดดและรังสีอัลตราไวโอเล็ต ผู้ที่มีผิวขาวมีแนวโน้มที่จะผิวไหม้แดดได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับผู้ที่มีสีผิวเข้ม โดยบางคนอาจจะผิวไหม้แดดได้ภายใน 15 นาทีหลังโดนแดด 
  • ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์: ผู้ที่อยู่ในเขตใกล้เส้นศูนย์สูตรหรือที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมาก เช่น พื้นที่ที่เป็นภูเขา จะมีความเสี่ยงที่จะผิวไหม้แดดสูงขึ้น เนื่องจากแสงยูวีเข้มข้นมากกว่า พื้นที่ที่มีหิมะจะสะท้อนรังสียูวีได้มากทำให้ผิวหนังไหม้แดดได้ง่าย  
  • ยา: ยาบางชนิดทำให้ผิวไวต่อแสงแดด ผิวจึงไหม้แดดได้ง่าย ยาดังกล่าว ได้แก่ ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ กลุ่มยาปฏิชีวนะยาควิโนโลนอ และเตตร้าซัยคลิน ยาขับปัสสาวะ ยาอะมิโอดาโรน และยารักษาโรคจากเชื้อรา

ภาวะแทรกซ้อนของอาการผิวไหม้แดด มีอะไรบ้าง?

ผิวไหม้แดด มีวิธีการตรวจวินิจฉัยอย่างไร?

  • การซักประวัติและตรวจร่างกาย
    แพทย์จะซักถามอาการ ประวัติการโดนแดดและประวัติการมีอาการผิวหนังไหม้แดด และยาที่กำลังรับประทานอยู่
  • การทำทดสอบแสง
    เพื่อประเมินว่าผิวหนังของผู้ป่วยไวต่อแสงยูวีเอและยูวีบีแค่ไหน

ผิวไหม้แดด มีวิธีการรักษาอย่างไร?

อาการผิวไหม้แดดที่ไม่รุนแรงส่วนใหญ่เป็นแล้วหายได้เอง การทาครีมสเตียรอยด์จะช่วยบรรเทาอาการปวดและความรู้สึกไม่สบายตัวจากผิวไหม้แดด หากอาการรุนแรงจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล

วิธีป้องกันไม่ให้ผิวไหม้ - the preventions of sunburn

วิธีป้องกันไม่ให้ผิวไหม้ ควรทำอย่างไร?

  • ทาครีมกันแดดที่ผิวหนังและขี้ผึ้งกันแดดที่ริมฝีปากชนิดกันน้ำที่มีค่า SPF 30 เป็นอย่างต่ำแม้ในวันที่มีเมฆมาก และทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการโดนแดดโดยตรงในช่วงเวลา 10 โมง ถึง 4 โมงเย็น ซึ่งเป็นช่วงที่รังสียูวีเข้มข้น
  • งดการทำผิวสีแทน เช่น เตียงทำสีผิว ซึ่งจะปล่อยรังสียูวีเอเข้มข้นกว่ารังสีในแสงแดดตามธรรมชาติ
  • กางร่ม สวมแว่น UV-400 สวมหมวกปีกกว้าง สวมเสื้อผ้าโปร่งปกปิดแขนและขาเพื่อเป็นการป้องกันรังสียูวีเพิ่มเติม 
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือเครื่องสำอางที่ทำให้ผิวไวต่อแสงแดดและรังสียูวี แม้ในวันที่มีเมฆมากหรือมีหมอกลง ความเข้มข้นของรังสียูวีจะลดลงเพียง 20 % เท่านั้น จึงควรต้องทาครีมกันแดดและระมัดระวังมากขึ้นเมื่ออยู่ในที่ที่มีหิมะ พื้นน้ำ หรือพื้นคอนกรีต ซึ่งสะท้อนรังสียูวีกลับมาได้

การดูแลรักษาตัวเองที่บ้าน เมื่อมีอาการผิวไหม้แดด

  • ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้วทุกวันเพื่อให้ร่างกายชุ่มชื้น
  • อาบน้ำเย็นผสมเบกกิ้งโซดา 60 กรัมหรือประคบผ้าชุบน้ำเย็นเป็นเวลาอย่างน้อย 10 นาทีวันละหลาย ๆ ครั้ง
  • ประคบผ้าเย็นบนเปลือกตา ไม่ขยี้ตาและงดใส่คอนแทกเลนส์จนกว่าอาการจะดีขึ้น
  • ทาผิวด้วยมอยส์เจอไรเซอร์ โลชั่น เจลแช่เย็น เช่น โลชั่นหรือเจลว่านหางจระเข้หรือคาลามายน์ ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ในช่วงที่ผิวเริ่มลอกควรทาผิวด้วยมอยส์เจอไรเซอร์ต่อเนื่อง
  • หากมีตุ่มน้ำขึ้น ไม่ควรไปแคะ แกะ เกา ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณดังกล่าวด้วยสบู่อ่อน ๆ และน้ำสะอาด จากนั้นทาขี้ผึ้งปฏิชีวนะ
  • หลีกเลี่ยงการโดนแดดเพิ่ม สวมเสื้อผ้าและอุปกรณ์ป้องกันแสงแดดหากจำเป็นต้องออกนอกบ้าน

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 10 พ.ค. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. วิชญ์ แสงสุวรรณ

    นพ. วิชญ์ แสงสุวรรณ

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    • โรคผมร่วงและการผ่าตัดปลูกผม
    การฉีด Botulinum Toxin, การฉีดฟิลเลอร์, รักษาสิว, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, รอยสิว, โรคสะเก็ดเงิน, โรคผิวหนังจากภูมิคุ้มกันตัวเอง, โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง , โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, ตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดบริเวณผิวหนัง, ฝ้าและโรคของเม็ดสี, การดูแลกระชับเรือนร่าง, การรักษาผิวหนังด้านความงาม, โรคผื่นผิวหนังอักเสบจากผื่นแพ้สัมผัส, โรคผิวหนังอักเสบ, โรคแพ้ภูมิตัวเอง, ผ่าตัดเล็กบริเวณผิวหนัง, เลเซอร์ผิวหนังด้านความงาม, เลเซอร์รักษาผิวหนังหย่อนยาน, เลเซอร์รักษาจุดด่างดำ, เลเซอร์กระชับรูปร่าง, การใช้แสงเลเซอร์รักษาผมบาง, เลเซอร์รักษาหลุมสิว, โรคและความผิดปกติเกี่ยวกับผม, ตจวิทยา โรคผิวหนัง, การผ่าตัดปลูกผม
  • Link to doctor
    พญ. ศุภกมล ฉัตรศุภกุล

    พญ. ศุภกมล ฉัตรศุภกุล

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    เลเซอร์รักษาหลุมสิว, เลเซอร์รักษาผิวหนังหย่อนยาน, ตรวจรักษาโรคผิวหนังทั่วไป, การฉีด Botulinum Toxin, การฉีดฟิลเลอร์, เส้นเลือดขอด, ผ่าตัดมะเร็งผิวหนังด้วยวิธีโมหส์ Mohs, ตรวจหาสารภูมิแพ้ผิวหนัง, ผ่าตัดเนื้องอกผิวหนัง
  • Link to doctor
    พญ. ณิชา รังสิมานนท์

    พญ. ณิชา รังสิมานนท์

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    เลเซอร์ผิวหนังด้านความงาม, การรักษาผิวหนังด้านความงาม, ตรวจรักษาโรคผิวหนังทั่วไป, ตจวิทยา โรคผิวหนัง, โรคเกี่ยวกับผมและเล็บ, ซีสต์ที่ผิวหนัง, ตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดมะเร็งผิวหนัง, รอยสิว, รักษาสิว, โรคสะเก็ดเงิน, โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง , ฝ้าและโรคของเม็ดสี, เลเซอร์รักษาจุดด่างดำ, โรคผิวหนังอักเสบ, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, โรคผื่นผิวหนังอักเสบจากผื่นแพ้สัมผัส, ผื่นแพ้สัมผัส, General Gyne Examination, โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังชนิดเอคซิม่า, โรคผมร่วงเฉียบพลัน, โรคผมร่วงเรื้อรัง, โรคและความผิดปกติเกี่ยวกับผม, ผมร่วงแบบมีแผลเป็นบนหนังศีรษะ, โรคผมร่วงชนิดทำให้เกิดแผลเป็น, โรคผมบางจากพันธุกรรม, การใช้แสงเลเซอร์รักษาผมบาง, เลเซอร์กระชับรูปร่าง, การดูแลกระชับเรือนร่าง, การฉีด Botulinum Toxin, การฉีดยารักษาเส้นเลือดขอด, การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น, เลเซอร์รักษาหลุมสิว, เลเซอร์รักษาผิวหนังหย่อนยาน, ผ่าตัดเล็กบริเวณผิวหนัง
  • Link to doctor
    พญ. ญาดา อิทธิพานิชพงศ์

    พญ. ญาดา อิทธิพานิชพงศ์

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    ผ่าตัดบริเวณผิวหนัง, ผ่าตัดมะเร็งผิวหนังด้วยวิธีโมหส์ Mohs, ฝ้าและโรคของเม็ดสี, การรักษาผิวหนังด้านความงาม, การดูแลกระชับเรือนร่าง, การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น, การฉีด Botulinum Toxin, การฉีดฟิลเลอร์, การฉีดยารักษาเส้นเลือดขอด, Mesotherapy, Anti-aging and Regenerative Medicine, ตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดผิวหนังและเล็บ, รอยสิว, รักษาสิว, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, ตรวจรักษาโรคผิวหนังทั่วไป, โรคผื่นผิวหนังอักเสบจากผื่นแพ้สัมผัส
  • Link to doctor
    พญ. นัทธมน บวรสถิตชัย

    พญ. นัทธมน บวรสถิตชัย

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    การรักษาเกี่ยวกับความงาม, รักษาสิว, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, รอยสิว, โรคสะเก็ดเงิน, โรคผิวหนังอักเสบ, โรคผิวหนังจากภูมิคุ้มกันตัวเอง, โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง , ตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดบริเวณผิวหนัง, ผ่าตัดมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดมะเร็งผิวหนังด้วยวิธีโมหส์ Mohs, ฝ้าและโรคของเม็ดสี, การดูแลกระชับเรือนร่าง, โรคผื่นผิวหนังอักเสบจากผื่นแพ้สัมผัส
  • Link to doctor
    นพ. กิตติพงศ์ วันถาวรประเสริฐ

    นพ. กิตติพงศ์ วันถาวรประเสริฐ

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังชนิดเอคซิม่า, โรคผิวหนังอักเสบ, โรคสะเก็ดเงิน, ตรวจรักษาโรคผิวหนังทั่วไป, ผ่าตัดเล็กบริเวณผิวหนัง, เลเซอร์รักษาผิวหนังหย่อนยาน, การใช้แสงเลเซอร์รักษาผมบาง, โรคผมบางจากพันธุกรรม, โรคผมร่วงชนิดทำให้เกิดแผลเป็น, โรคผมร่วงเฉียบพลัน, ผมร่วงแบบมีแผลเป็นบนหนังศีรษะ, โรคผมร่วงเรื้อรัง, โรคด่างขาว, เลเซอร์รักษาจุดด่างดำ, รอยสิว, การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น, การฉีด Botulinum Toxin
  • Link to doctor
    พญ. ชัชฎาภรณ์ ชุณหรัศมิ์

    พญ. ชัชฎาภรณ์ ชุณหรัศมิ์

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    เลเซอร์ผิวหนังด้านความงาม, เลเซอร์กระชับรูปร่าง, โรคผื่นผิวหนังอักเสบจากผื่นแพ้สัมผัส, ฝ้าและโรคของเม็ดสี, โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง , รักษาสิว, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, รอยสิว, โรคสะเก็ดเงิน, โรคด่างขาว, ตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดเล็กบริเวณผิวหนัง
  • Link to doctor
    นพ. ชลธวัช สุวรรณปิยะศิริ

    นพ. ชลธวัช สุวรรณปิยะศิริ

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    ตจวิทยา โรคผิวหนัง, ภูมิคุ้มกันผิวหนัง, โรคผิวหนังจากภูมิคุ้มกันตัวเอง, โรคแพ้ภูมิตัวเอง, โรคตุ่มน้ำพองใสจากภูมิคุ้มกัน, โรคสะเก็ดเงิน, การฉีด Botulinum Toxin, การฉีดฟิลเลอร์, รักษาสิว, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, โรคผิวหนังอักเสบ, โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง , โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, โรคผื่นผิวหนังอักเสบจากผื่นแพ้สัมผัส, โรคด่างขาว