มดลูกหย่อน (Uterine Prolapse) อาการ สาเหตุ การตรวจวินิจฉัยและการรักษา

มดลูกหย่อน

มดลูกหย่อน คือภาวะที่พบได้บ่อยในผู้หญิงที่มีอายุมากขึ้น เกิดจากกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อในอุ้งเชิงกรานที่ทำหน้าที่ยึดมดลูกอ่อนแอลงจากวัยหมดระดู หรือได้รับความเสียหายจากการคลอดบุตรตามธรรมชาติหลายครั้ง

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


มดลูกหย่อน

มดลูกหย่อน คือภาวะที่พบได้บ่อยในผู้หญิงที่มีอายุมากขึ้น เกิดจากกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อในอุ้งเชิงกรานที่ทำหน้าที่ยึดมดลูกอ่อนแอลงจากวัยหมดระดู หรือได้รับความเสียหายจากการคลอดบุตรตามธรรมชาติหลายครั้ง ทำให้มดลูกหย่อนลงไปในช่องคลอด ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับระดับความเสื่อมของกล้ามเนื้อและเอ็นรอบมดลูก

ระดับความรุนแรงของภาวะมดลูกหย่อน

  • ระดับที่ 1: มดลูกหย่อนลงมาบริเวณด้านบนของช่องคลอด
  • ระดับที่ 2: มดลูกหย่อนมาใกล้ปากช่องคลอด
  • ระดับที่ 3: มดลูกหย่อนออกมานอกช่องคลอด
  • ระดับที่ 4: มดลูกทั้งหมดหย่อนออกมานอกช่องคลอด

ทั้งนี้อวัยวะอื่น ๆ ในบริเวณอุ้งเชิงกรานอาจยืดและหย่อนออกมาทางช่องคลอดได้ ทำให้เกิดภาวะกระเพาะปัสสาวะหย่อน ไส้เลื่อน และไส้ตรงหย่อน

อาการของมดลูกหย่อน

ในกรณีที่ไม่รุนแรง ผู้ป่วยอาจไม่แสดงอาการที่ชัดเจน เมื่อโรคดำเนินต่อไป ผู้ป่วยอาจมีอาการดังต่อไปนี้

  • รู้สึกหน่วงในอุ้งเชิงกราน
  • ปวดอุ้งเชิงกรานและหลังส่วนล่าง
  • รู้สึกเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์
  • มดลูกหย่อนเข้าไปในช่องคลอด
  • ท้องผูก
  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะเล็ด ปัสสาวะบ่อย


ควรไปพบแพทย์เมื่อใด

หากรู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างโป่งนูนหรือออกมาจากช่องคลอด รู้สึกเจ็บเวลาปัสสาวะหรือถ่ายอุจจาระ รู้สึกปวดหลังล่างหรือปวดหน่วงในอุ้งเชิงกรานเรื้อรัง  แนะนำให้พูดคุยปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมก่อนที่จะส่งผลต่ออวัยวะอื่น ๆ ร่วมด้วย

สาเหตุของมดลูกหย่อน

เกิดจากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเสื่อมลงจนไม่สามารถดึงรั้งมดลูกไว้ได้ มดลูกจะเริ่มหย่อนลงไปในช่องคลอด โดยสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเสื่อมนั้น ได้แก่ โรคอ้วน การตั้งครรภ์ การคลอดบุตรทางธรรมชาติหลายครั้ง การคลอดทารกที่มีน้ำหนักมากกว่า 4 กิโลกรัม ท้องผูกเรื้อรังหรือเบ่งขณะขับถ่าย ไอเรื้อรัง และการยกของหนักบ่อย ๆ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มดลูกหย่อน

  • การคลอดบุตรทางธรรมชาติหลายครั้ง
  • วัยหมดระดู เมื่อรังไข่หยุดผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรง ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะมดลูกหย่อนจะสูงขึ้น
  • ได้รับการผ่าตัดอุ้งเชิงกราน
  • คนในครอบครัวสายตรงมีภาวะมดลูกหย่อน


การตรวจวินิจฉัย มดลูกหย่อน

  • การตรวจภายในเพื่อหาตําแหน่งของมดลูก
    แพทย์จะใส่อุปกรณ์เข้าไปในช่องคลอดเพื่อตรวจวินิจฉัยภายในช่องคลอดและมดลูก และสัมผัสว่ามีก้อนโป่งนูนในช่องคลอดหรือไม่ แพทย์อาจให้ผู้ป่วยไอหรือเบ่งเหมือนกับเวลาจะปัสสาวะเพื่อประเมินว่ากล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรงหรือไม่

การรักษามดลูกหย่อน

การรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด

  • การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เป็นวิธีการรักษาในรายที่อาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยสามารถเกร็งกล้ามเนื้อเหมือนเวลากลั้นปัสสาวะเป็นเวลา 2-3 วินาที แล้วผ่อน ทำแบบนี้ 10 ครั้งต่อเซ็ต วันละ 4 เซ็ต
  • การใช้อุปกรณ์พยุงช่องคลอด แพทย์จะใส่อุปกรณ์ที่ทำจากยางอ่อนนุ่มและยืดหยุ่นไว้ในช่องคลอดเพื่อยึดมดลูกให้เข้าที่
  • การปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิต การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมช่วยลดแรงดันในอุ้งเชิงกราน ควรดื่มน้ำและบริโภคกากใยอาหารให้มากขึ้นเพื่อบรรเทาอาการท้องผูก ลดการเบ่งขณะขับถ่าย

การผ่าตัด

  • การตัดมดลูก แพทย์อาจแนะนําให้ผ่าตัดมดลูกออกทางช่องคลอดหรือช่องท้อง ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ต้องการมีบุตรแล้ว
  • การผ่าตัดเพื่อรักษามดลูกหย่อน แพทย์จะทำการยึดมดลูกให้กลับเข้าที่ผ่านทางหน้าท้องหรือทางช่องคลอด โดยการยึดมดลูกไว้กับกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน

โดยทั่วไปแล้วการรักษาอาการมดลูกหย่อนมีประสิทธิภาพและได้ผลที่น่าพึงพอใจ แต่อาการอาจกลับมาเป็นซ้ำได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่มีอาการรุนแรง อายุน้อยกว่า 60 ปี หรือมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์

การป้องกันมดลูกหย่อน

  • ควรรักษาน้ำหนักตัวตามเกณฑ์ เนื่องจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นจะไปเพิ่มแรงกดในอุ้งเชิงกราน
  • ออกกําลังกายและบริหารอุ้งเชิงกราน (Kegel exercise) เป็นประจํา
  • เรียนรู้วิธีการยกของหนักอย่างถูกต้อง
  • เลิกสูบบุหรี่ เพราะอาการไอเรื้อรังจะไปเพิ่มแรงกดบนกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
  • ไม่เบ่งอุจจาระและระวังอย่าให้ท้องผูก

วิธีการยกของหนักอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันอาการมดลูกหย่อน

  • ไม่ยกของหนักเพียงลำพังหรือยกของสูงกว่าระดับเอว
  • ยืนอย่างมั่นคง กางขาออก หลังตรง ย่อเข่าและสะโพกลงเพื่อยกของ ไม่ก้มตัวลงไปยกของ
  • เกร็งหน้าท้องและออกแรงยกของด้วยร่างกายส่วนล่าง ยืนขึ้นตัวตรง โดยไม่บิดตัว
  • หากต้องการวางของลง ให้ยืนอย่างมั่นคง กางขาออก เกร็งหน้าท้อง และค่อย ๆ ย่อสะโพกและเข่าลงแล้วจึงวางของลง

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

  1. คำถาม: มดลูกหย่อน เกิดจากอะไร?
    คำตอบ:
    มดลูกหย่อน เกิดจากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเสื่อมลงจนไม่สามารถดึงรั้งมดลูกไว้ได้ มดลูกจะเริ่มหย่อนลงไปในช่องคลอด กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเสื่อมอาจเป็นเพราะอายุที่เพิ่มขึ้น โรคอ้วน การตั้งครรภ์ การคลอดบุตรทางธรรมชาติหลายครั้ง การคลอดทารกที่มีน้ำหนักมากกว่า 4 กิโลกรัม ท้องผูกเรื้อรังหรือเบ่งขณะขับถ่าย ไอเรื้อรัง และการยกของหนักบ่อย ๆ

  2. คำถาม: จะรู้ได้อย่างไรว่ามดลูกหย่อน?
    คำตอบ:
    การตรวจภายในเพื่อหาตําแหน่งของมดลูก จะสามารถวินิจฉัยได้ว่ามดลูกหย่อนหรือไม่ แพทย์จะใส่อุปกรณ์เข้าไปในช่องคลอดเพื่อตรวจดูช่องคลอดและมดลูก และสัมผัสว่ามีก้อนโป่งนูนในช่องคลอดหรือไม่ แพทย์อาจให้ลองเบ่งเหมือนตอนปัสสาวะเพื่อประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน

  3. คำถาม: รักษามดลูกหย่อน แบบไม่ผ่าตัดได้ไหม?
    คำตอบ:
    รักษามดลูกหย่อน แบบไม่ผ่าตัด สามารถทำได้ในรายที่อาการไม่รุนแรง โดยการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เกร็งกล้ามเนื้อเหมือนเวลากลั้นปัสสาวะเป็นเวลา 2-3 วินาที แล้วผ่อน ทำแบบนี้ 10 ครั้งต่อเซ็ต วันละ 4 เซ็ต หรือการใช้อุปกรณ์พยุงช่องคลอด และการปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิต



บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 25 เม.ย. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. ชนกานต์ สืบถวิลกุล

    พญ. ชนกานต์ สืบถวิลกุล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Infertility, Fertility Preservation, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    พญ. นลินา ออประยูร

    พญ. นลินา ออประยูร

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Menopause, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    นพ.  วิวรรธน์  ชินพิลาศ

    นพ. วิวรรธน์ ชินพิลาศ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopy
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopic Surgery
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. พิพัฒน์ จงกลสิริ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology