ปากกาลดน้ำหนักหรือยาฉีดลิรากลูไทด์ Weight Loss Pen (Liraglutide Injection)

ปากกาลดน้ำหนักหรือยาฉีดลิรากลูไทด์ (Liraglutide)

ปากกาลดน้ำหนัก หรือยาฉีดลิรากลูไทด์ ช่วยลดความอยากอาหาร มักใช้ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายและการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

แชร์

ปากกาลดน้ำหนัก หรือ ยาฉีดลิรากลูไทด์ (Liraglutide)

ปากกาลดน้ำหนัก หรือยาฉีดลิรากลูไทด์ (Liraglutide) เป็นยาที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐเพื่อใช้ในการลดหรือควบคุมน้ำหนัก โดยตัวยาจะช่วยลดความอยากอาหาร มักใช้ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายและการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
ลิรากลูไทด์เป็นสารเปปไทด์ที่ออกฤทธิ์เหมือนกลูคากอนชนิดที่ 1 ที่ทําหน้าที่เป็นยากระตุ้นตัวรับเปปไทด์ที่เหมือนกลูคากอนชนิดที่ 1 ซึ่งพบได้ในระบบทางเดินอาหารของคนเรา สารดังกล่าวช่วยลดน้ำตาลในเลือดและลดการบีบตัวขับเคลื่อนของกระเพาะอาหาร ทำให้ผู้ที่ได้รับยาชนิดนี้รู้สึกอิ่มเป็นระยะเวลานานขึ้น

วิธีการใช้ปากกาลดน้ำหนัก

  • อ่านคําแนะนําอย่างละเอียดก่อนใช้
  • ฉีดลิรากลูไทด์ก่อนหรือหลังอาหารวันละครั้งที่บริเวณต้นขา ท้อง หรือไหล่
  • ไม่ใช้ยาบ่อยกว่าที่กำหนด
  • ไม่ใช้ปากกาลดน้ำหนักร่วมกับผู้อื่น
  • หากต้องใช้ลิรากลูไทด์ในเด็กอายุน้อยกว่า 12 ปี ผู้ปกครองควรพูดคุยกับแพทย์เพื่อทำความเข้าใจวิธีการใช้อย่างถูกต้อง

วิธีการเก็บปากกาลดน้ำหนัก

  • เก็บปากกาที่ยังไม่ได้เปิดใช้ไว้ในตู้เย็นระหว่าง 2 ถึง 8 องศาเซลเซียส อย่าเก็บยาไว้ในช่องแช่แข็งหรือใช้ยาหากยาแข็งตัวเป็นน้ำแข็ง
  • เก็บปากกาที่เปิดใช้แล้วไว้ที่อุณหภูมิห้อง (15-30 องศาเซลเซียส)
  • ถอดเข็มออกทุกครั้งหลังการใช้งานเพื่อป้องกันการรั่วซึม
  • ทิ้งปากกาที่เปิดใช้แล้วเกิน 30 วันหรือเมื่อถึงวันหมดอายุ แล้วแต่ว่ากรณีใดจะเกิดขึ้นก่อน
  • หลีกเลี่ยงการโดนแสงสว่างและความร้อนสูงเกินไป
  • เก็บให้พ้นมือเด็ก

ข้อควรระวัง

  • ดื่มน้ำมาก ๆ เมื่อใช้ปากกาลดน้ำหนัก
  • หากรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสียอย่างรุนแรง ควรไปพบแพทย์
  • เฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์อย่างฉับพลัน เช่น วิตกกังวล ตื่นตระหนก ขี้รำคาญ ไม่เป็นมิตร ก้าวร้าว นอนหลับยาก หรืออยู่ไม่นิ่ง ปรึกษาหากมีอาการเหล่านี้หลังเริ่มใช้ยาหรือปรับเปลี่ยนขนาดยา
  • หญิงที่วางแผนจะมีบุตรหรือคิดว่าอาจตั้งครรภ์ไม่ควรใช้ปากกาลดน้ำหนักเพราะอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์
  • ไม่ใช้ปากกาลดน้ำหนักในผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ชนิดเมดัลลารี (Medullary) มะเร็งตับอ่อน ตับอ่อนอักเสบ และใช้อย่างระมัดระวังโดยต้องอยู่ภายใต้การดูแลใกล้ชิดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ที่มีภาวะดื้ออินซูลินร่วมด้วย

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 23 ธ.ค. 2022

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. อมรพรรณ เลิศฤทธิ์

    นพ. อมรพรรณ เลิศฤทธิ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    โรคต่อมไร้ท่อทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. วชรพรรณ อัสนุเมธ

    พญ. วชรพรรณ อัสนุเมธ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. ธีรวุฒิ คลังเจริญชัย

    นพ. ธีรวุฒิ คลังเจริญชัย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม
  • Link to doctor
    พญ.  ปิยนุช  ปิยสาธิต

    พญ. ปิยนุช ปิยสาธิต

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรกรรมทั่วไป, โรคต่อมไร้ท่อทั่วไป, อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม
  • Link to doctor
    นพ. วิน ภาคสุข

    นพ. วิน ภาคสุข

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
  • Link to doctor
    พญ. ปฐมา จรรย์แสง ผ่องสุวรรณ

    พญ. ปฐมา จรรย์แสง ผ่องสุวรรณ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    ไทรอยด์ และมะเร็งไทรอยด์
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. ธัชนันท์ พรธารักษ์เจริญ

    ผศ.พญ. ธัชนันท์ พรธารักษ์เจริญ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    โรคต่อมไร้ท่อทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. ศศิภัสช์ ช้อนทอง

    พญ. ศศิภัสช์ ช้อนทอง

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    โรคความผิดปกติของต่อมหมวกไต, โรคทางเมแทบอลิก, ความดันโลหิตสูงจากภาวะผิดปกติของต่อมไร้ท่อ, ความผิดปกติ แปรปรวนของสภาวะสารน้ำและเกลือแร่, โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน, โรคต่อมใต้สมอง, โรคไทรอยด์, เนื้องอกและมะเร็งต่อมไทรอยด์
  • Link to doctor
    พญ. ณิชกานต์ หลายชูไทย

    พญ. ณิชกานต์ หลายชูไทย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    โรคต่อมหมวกไต, ความผิดปกติของแคลเซียมและกระดูก, อินซูลินปั๊ม, โรคต่อมไร้ท่อทั่วไป, ไขมันในเลือดสูง, โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน, โรคต่อมใต้สมอง, โรคไทรอยด์