เหงื่อออกตอนกลางคืน ร้อน? ฝันร้าย? หรือร่างกายกำลังเตือน - Night Sweats - Feeling Hot? Having Nightmares?

เหงื่อออกตอนกลางคืน ร้อน? ฝันร้าย? หรือร่างกายกำลังเตือน

เหงื่อออกตอนกลางคืน คืออาการมีเหงื่อออกมากเกินไป (อาจจะมากจนเปียกชุ่มเสื้อผ้า) โดยไม่ได้สัมพันธ์กับอากาศร้อนหรือห่มผ้าหนา ๆ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยแพทย์ต้องพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพต่าง ๆ

แชร์

เหงื่อออกตอนกลางคืน ร้อน? ฝันร้าย? หรือร่างกายกำลังเตือน

เชื่อว่าหลายคนคงเคยมีหรือกำลังมีอาการ เหงื่อออกตอนกลางคืน กันบ้าง เรื่องของอากาศร้อนอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นอนไม่สบาย แต่ถ้าไม่ได้เป็นเพราะอากาศล่ะ ทำไมถึงยังเหงื่อออก ลองมาหาสาเหตุกันดูไหม ว่าแท้จริงแล้วมันเป็นสัญญาณเตือนอะไรจากร่างกายรึเปล่า

เหงื่อออกตอนกลางคืน ที่ผิดปกติ

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เหงื่อออกตอนกลางคืน คืออาการมีเหงื่อออกมากเกินไป (อาจจะมากจนเปียกชุ่มเสื้อผ้า) โดยไม่ได้สัมพันธ์กับอากาศร้อนหรือห่มผ้าหนา ๆ 

อาการเหงื่อออกตอนกลางคืน เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยแพทย์ต้องพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพต่าง ๆ ซึ่งสาเหตุที่อาจทำให้มีเหงื่อออกตอนกลางคืนได้ มีดังนี้ 

วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน

ภาวะวัยทอง อาจทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบในตอนกลางคืนได้ และเป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้ผู้หญิงวัยนี้มีอาการเหงื่อออกตอนนอน

การติดเชื้อ

ยกตัวอย่างเช่น เชื้อวัณโรค เป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน รวมไปถึง โรคจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เยื่อบุหัวใจอักเสบ ลิ้นหัวใจอักเสบ กระดูกอักเสบ และเป็นฝี ก็อาจทำให้เกิดอาการเหงื่อออกตอนกลางคืนได้เช่นกัน รวมไปถึงการ ติดเชื้อเอชไอวี ก็ทำให้เหงื่อออกตอนกลางคืนได้

โรคมะเร็ง

อาการเหงื่อออกตอนกลางคืน คือหนึ่งในอาการช่วงเริ่มต้นของมะเร็งบางชนิด โรคมะเร็งชนิดที่พบบ่อยและก่อให้เกิดอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน ได้แก่ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง แต่การได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งนั้น ต้องประเมินร่วมกับอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย

ไฮโปไกลซีเมีย

หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เมื่อน้ำตาลในเลือดต่ำอาจทำให้เหงื่อออกได้ ในผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้อินซูลิน หรือกินยาโรคเบาหวานอาจมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำตอนกลางคืนพร้อมกับเหงื่อออก

ฮอร์โมนผิดปกติ

อาการเหงื่อออก อาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของฮอร์โมนหลายชนิด รวมไปถึงโรคที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนด้วย อาทิ เนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา (pheochromocytoma) เนื้องอกคาร์ซินอยด์ (carcinoid tumor) และโรคไทรอยด์เป็นพิษ

การกินยา

การกินยาบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการเหงื่ออออกตอนกลางคืนได้ อาทิ ยาต้านซึมเศร้า โดยคิดเป็น 8-22 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่กินยา จะมีเหงื่อออกตอนกลางคืน 
นอกจากนี้ ยาทางจิตเวชอื่น ๆ ยาลดไข้ อย่างแอสไพริน และอะเซตามิโนเฟน (acetaminophen)  ในบางครั้งก็ทำให้เกิดอาการเหงื่อออกตอนกลางคืนได้เช่นกัน

ภาวะความผิดปกติทางระบบประสาทและสมอง

สาเหตุนี้พบไม่บ่อย โดยจะมีอาการที่เรียกว่า autonomic dysreflexia เป็นภาวะความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ อาการถุงน้ำในโพรงไขสันหลัง (syringomyelia) รวมไปถึงสโตรก ก็สามารถทำให้มีเหงื่อออกตอนกลางคืนได้

ภาวะเหงื่อออกมากโดยไม่ทราบสาเหตุ

เป็นภาวะที่ร่างกายผลิตเหงื่อออกมามากเกินไป เป็นอาการเรื้อรังที่ไม่มีสาเหตุที่ทางการแพทย์จะระบุได้

รับมือเหงื่อออกตอนกลางคืนด้วยตัวเองอย่างไร?

สำหรับการรับมือกับอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน นอกเหนือจากการตรวจวินิจฉัย และรักษาที่ต้นเหตุ คุณสามารถเพิ่มคุณภาพการนอนหลับได้ด้วยการทำให้ร่างกายรู้สึกเย็นสบายขณะนอนหลับ หลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะทำให้เกิดเหงื่อเวลานอนได้ เช่น

  • จิบน้ำเล็กน้อย สม่ำเสมอ ช่วงเข้านอน
  • ใช้ปลอกหมอน หรือผ้าปูที่นอนที่มีวัสดุเย็นสบาย 
  • สวมเสื้อผ้าหลวม ๆ บางเบา 
  • ออกกำลังกายทุกวัน หนักหรือเบาก็ได้เท่าที่ไหว 
  • อย่าห่มผ้าห่มหนาหรือหนักจนขยับเขยื้อน เปลี่ยนท่าทางได้ยาก
  • ทำสมาธิ ฝึกกำหนดลมหายใจก่อนเข้านอน
  • เปิดพัดลมหรือเปิดแอร์ให้อากาศในห้องเย็นสบาย
  • หลีกเลี่ยงอาหารหรือกิจกรรมที่อาจกระตุ้นให้ร่างกายมีเหงื่อ เช่น ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ กินอาหารรสจัด สูบบุหรี่ รวมไปถึงการออกกำลังกายหนัก ๆ ก่อนเข้านอน

เมื่อไรที่ควรพบแพทย์

หากรู้สึกว่าอาการเหงื่อออกตอนกลางคืนทำให้รู้สึกกังวล ให้ลองสังเกตว่าอาการเหล่านี้เริ่มรบกวนการใช้ชีวิตและมีอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ร่วมหรือไม่ เช่น หากอาการนี้เกิดขึ้นประจำและรบกวนการนอนหลับ มีอาการร่วมกับมีไข้ น้ำหนักลด ท้องเสีย หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ที่รุนแรง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน

การมีเหงื่อออกตอนกลางคืนนั้นเป็นเรื่องปกติ แต่หากมีเหงื่อออกมากจนเป็นปัญหา และมีอาการไม่พึงประสงค์ตามที่กล่าวมา ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะอาการที่คิดว่าเป็นเรื่องปกติ อาจเป็นสัญญาณของโรคภัยที่รุนแรงกว่า

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 05 ต.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. ปฐมา จรรย์แสง ผ่องสุวรรณ

    พญ. ปฐมา จรรย์แสง ผ่องสุวรรณ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    ไทรอยด์ และมะเร็งไทรอยด์
  • Link to doctor
    พญ. ศศิภัสช์ ช้อนทอง

    พญ. ศศิภัสช์ ช้อนทอง

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    โรคความผิดปกติของต่อมหมวกไต, โรคทางเมแทบอลิก, ความดันโลหิตสูงจากภาวะผิดปกติของต่อมไร้ท่อ, ความผิดปกติ แปรปรวนของสภาวะสารน้ำและเกลือแร่, โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน, โรคต่อมใต้สมอง, โรคไทรอยด์, เนื้องอกและมะเร็งต่อมไทรอยด์
  • Link to doctor
    นพ. อมรพรรณ เลิศฤทธิ์

    นพ. อมรพรรณ เลิศฤทธิ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    โรคต่อมไร้ท่อทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. วิน ภาคสุข

    นพ. วิน ภาคสุข

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
  • Link to doctor
    พญ.  ปิยนุช  ปิยสาธิต

    พญ. ปิยนุช ปิยสาธิต

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรกรรมทั่วไป, โรคต่อมไร้ท่อทั่วไป, อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม
  • Link to doctor
    นพ. ธีรวุฒิ คลังเจริญชัย

    นพ. ธีรวุฒิ คลังเจริญชัย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม
  • Link to doctor
    พญ. ณิชกานต์ หลายชูไทย

    พญ. ณิชกานต์ หลายชูไทย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    โรคต่อมหมวกไต, ความผิดปกติของแคลเซียมและกระดูก, อินซูลินปั๊ม, โรคต่อมไร้ท่อทั่วไป, ไขมันในเลือดสูง, โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน, โรคต่อมใต้สมอง, โรคไทรอยด์
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. ธัชนันท์ พรธารักษ์เจริญ

    ผศ.พญ. ธัชนันท์ พรธารักษ์เจริญ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    โรคต่อมไร้ท่อทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. วชรพรรณ อัสนุเมธ

    พญ. วชรพรรณ อัสนุเมธ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม, อายุรกรรมทั่วไป