ตัวเลือกวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสม - type of birth control is right for you

วิธีการคุมกำเนิดแบบไหนที่เหมาะกับคุณ การเลือกใช้และประสิทธิภาพ

วิธีคุมกำเนิดแบบไหนดีที่สุด การเลือกวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมนั้นอาจกลายเป็นเรื่องชวนปวดหัวได้ เนื่องจากมีหลายวิธี ตั้งแต่การใช้ถุงยางอนามัย ยาคุมกำเนิด ห่วงอนามัย จนไปถึงการทำหมัน

แชร์

วิธีการคุมกำเนิดแบบไหนที่เหมาะกับคุณ?

การเลือกวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมนั้นอาจกลายเป็นเรื่องชวนปวดหัวได้ เนื่องจากมีหลายวิธี ตั้งแต่การใช้ถุงยางอนามัย ยาคุมกำเนิด ห่วงอนามัย จนไปถึงการทำหมัน วิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความชอบส่วนตัว การดำเนินชีวิต การวางแผนมีบุตร ประสิทธิภาพ ค่าใช้จ่าย ผลข้างเคียง เป็นต้น

ประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดวิธีต่าง ๆ

ยังไม่มีวิธีการคุมกำเนิดใดที่ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% เว้นการไม่มีเพศสัมพันธ์ การใช้ห่วงอนามัยคุมกำเนิดหรือยาคุมกำเนิดแบบฝังนั้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าการใช้ถุงยางอนามัยหรือหมวกครอบปากมดลูก ยาเม็ดคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ 93% หากลืมรับประทานยาคุมกำเนิด หรือถุงยางอนามัยรั่วหรือฉีกขาด สามารถรับประทานยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินเพื่อลดโอกาสการตั้งครรภ์ได้ภายใน 5 วันหลังมีเพศสัมพันธ์ แต่ไม่ควรใช้เป็นประจำหรือใช้เป็นวิธีการคุมกำเนิดหลัก

การคุมกำเนิดวิธีต่าง ๆ 

ห่วงคุมกำเนิด - Intrauterine devices (IUDs)

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

  • ห่วงอนามัยหุ้มทองแดง ไม่มีการใช้ฮอร์โมน มีอายุการใช้งานนานกว่า 10 ปี และสามารถถอดออกมาเมื่อใดก็ได้ ผู้ใช้บางรายอาจมีประจำเดือนมากหรือนานขึ้น  
  • ห่วงอนามัยแบบมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนชนิด levonorgestrel จะปล่อยฮอร์โมนที่ทำให้เมือกที่คอมดลูกเหนียวข้นขึ้นและผนังมดลูกบางลง ผู้ใช้บางรายอาจมีประจำเดือนและอาการปวดประจำเดือนลดลงหรืออาจไม่มีประจำเดือนเลย อายุการใช้งานของห่วงอนามัยอยู่ที่ 3-6 ปี

ยาคุมกำเนิดแบบฝัง - Contraceptive implants

ยาคุมกำเนิดแบบฝัง

การฝังยาคุม จะฝังอยู่ที่แขนและออกฤทธิ์หลังจากผ่านไป 24 ชั่วโมง โดยฮอร์โมนในยาคุมกำเนิดจะถูกปล่อยออกมาช้า ๆ มีอายุการใช้งานอย่างน้อย 3 ปี ผลข้างเคียงคืออาจมีเลือดที่ไม่ใช่ประจำเดือน เมื่อนำยาคุมกำเนิดแบบฝังออกจากร่างกายผู้ใช้สามารถตั้งครรภ์ได้ทันที

ยาคุมกำเนิดแบบฉีด - Contraceptive injections

ยาคุมกำเนิดแบบฉีด

การฉีดยาคุม แพทย์จะฉีด Medroxyprogesterone acetate ซึ่งเป็นฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเข้าไปในชั้นผิวหนังหรือกล้ามเนื้อบริเวณแขนหรือบั้นท้ายทุก 3 เดือน ผู้ใช้ยาคุมกำเนิดแบบฉีดอาจมีเลือดที่ไม่ใช่ประจำเดือนในช่วง 3-6 เดือนแรก ราว 50% ของผู้ใช้ไม่มีประจำเดือนอีกหลังใช้ยาคุมกำเนิดแบบฉีดนาน 1 ปี และจะกลับมามีประจำเดือนหรือไข่ตกอีกครั้งหลังเลิกฉีดไปประมาณ 6 เดือน รอบเดือนมักกลับมาเป็นปกติหลังเลิกฉีดนาน 1 ปีครึ่ง

ยาเม็ดคุมกำเนิด - Birth control pills

ยาเม็ดคุมกำเนิด

ยาเม็ดคุมกำเนิดนั้นมีทั้งแบบยาฮอร์โมนรวม (เอสโตรเจนกับโปรเจสเตอโรน) กับยาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนอย่างเดียว ยาเม็ดคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สูงที่ราว 93% เมื่อรับประทานเป็นประจำทุกวัน หากลืมรับประทานยา ควรรีบประทานทันทีที่นึกได้และใช้ถุงยางอนามัยในช่วง 7 วันแรก ผลข้างเคียงของยา ได้แก่ คลื่นไส้ คัดหน้าอก อารมณ์แปรปรวน มีเลือดออกกะปริบกะปรอย ซึ่งมักดีขึ้นภายใน 2-3 เดือน

แผ่นแปะคุมกำเนิด - Skin patches

แผ่นแปะคุมกำเนิด

แผ่นแปะคุมกำเนิดใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนเช่นเดียวกับยาเม็ดคุมกำเนิด เหมาะกับผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายหรือน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์จะลดลงในผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักเกิน ผู้ใช้สามารถแปะแผ่นแปะคุมกำเนิดที่ต้นแขน หัวไหล่ หลัง หรือสะโพก โดยต้องแปะแผ่นใหม่ทุกสัปดาห์เป็นเวลา 3 สัปดาห์ติดต่อกันและงดการใช้ในสัปดาห์ที่ 4 เพื่อให้ร่างกายมีประจำเดือน ผู้ที่เป็นโรคอ้วนหรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคลิ่มเลือดอุดตันไม่ควรใช้แผ่นแปะคุมกำเนิด

วงแหวนคุมกำเนิด - Vaginal rings

วงแหวนคุมกำเนิด

วงแหวนคุมกำเนิดจะค่อย ๆ ปล่อยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนออกมา โดยผู้ใช้จะใส่วงแหวนไว้ในช่องคลอดเป็นเวลา 3 สัปดาห์ เว้นสัปดาห์ที่ 4 เพื่อให้ร่างกายมีประจำเดือน ระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์นั้นผู้ใช้สามารถถอดวงแหวนออกมาได้ 2-3 ชั่วโมง โดยที่ประสิทธิภาพการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่ลดลง ผู้ที่ใช้วงแหวนคุมกำเนิดต้องเปลี่ยนวงแหวนทุก 4 สัปดาห์หรือ 1 ปี ขึ้นอยู่กับยี่ห้อที่ใช้

การคุมกำเนิดโดยวิธีขวางกั้น

  • ถุงยางอนามัยสำหรับเพศชาย มักทำจากลาเทกซ์ (Latex) สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดโรคทางเพศสัมพันธ์
  • ถุงยางอนามัยสำหรับเพศหญิง มักทำจากพลาสติกที่เรียกว่าโพลียูรีเทน (Polyurethane) ด้านหนึ่งเป็นปลายเปิดและอีกด้านหนึ่งเป็นปลายปิด วงแหวนปลายปิดจะถูกสอดเข้าไปในอวัยวะเพศหญิงและปลายเปิดของถุงยางจะอยู่ที่บริเวณปากอวัยวะเพศ 
  • หมวกครอบปากมดลูก
  • ยาฆ่าเชื้ออสุจิ มีทั้งแบบครีม เจล แผ่นฟิล์ม โฟม ก้อนฟองน้ำ ยาเหน็บ ยาเม็ดฟองฟู่

การคุมกำเนิดถาวร

  • การทำหมันหญิง เป็นการตัดหรือผูกท่อนำไข่ โดยสามารถทำได้ในวันที่ทำการผ่าคลอดหรือทำการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับได้ (Day surgery)
  • การทำหมันชาย เป็นการตัดท่อนำอสุจิ ไม่ส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศ หลังทำจำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัยประมาณ 3 เดือน จนกว่าจะตรวจแล้วว่าไม่มีตัวอสุจิหลงเหลืออยู่ในน้ำเชื้ออสุจิ

ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

เหมาะสำหรับกรณีฉุกเฉินเท่านั้น เช่น ถุงยางอนามัยฉีกขาด ลืมรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน ถูกล่วงละเมิดทางเพศ มีทั้งแบบยาเม็ดและห่วงคุมกำเนิด ซึ่งแบบห่วงคุมกำเนิดนั้นสามารถใช้คุมกำเนิดระยะยาวต่อได้

วิธีการคุมกำเนิดวิธีอื่น ๆ

การคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติ ซึ่งอาศัยการนับวันที่ปลอดภัยและการกำหนดระยะเวลาเจริญพันธุ์ 
วิธีนี้มีประสิทธิภาพต่ำกว่าวิธีอื่น ๆ 

การเลือกวิธีคุมกำเนิด - Factors to consider when choosing a birth control method

ปัจจัยในการพิจารณาเลือกวิธีการคุมกำเนิด

  • อายุ ประวัติสุขภาพของผู้ที่ต้องการคุมกำเนิด
  • สถานะความสัมพันธ์ เช่น มีคู่นอนคนเดียวหรือหลายคน
  • การวางแผนมีบุตร เช่น ต้องการตั้งครรภ์เมื่อไร 
  • ประสิทธิภาพ ผลข้างเคียง ความสะดวกในการจัดหา ราคาของยาคุมกำเนิด

การตอบคำถามด้านล่างอาจช่วยในการเลือกวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสมกับความต้องการได้

  • ยาคุมกำเนิดราคาเท่าไร หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปหรือไม่ หรือต้องให้แพทย์สั่งเท่านั้น 
  • ยาคุมกำเนิดนี้ใช้อย่างไร ต้องใช้ยาอย่างเคร่งครัดหรือไม่
  • ยาคุมกำเนิดวิธีนี้มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง 
  • หากหยุดใช้ยาคุมกำเนิด จะตั้งครรภ์ในทันทีหรือไม่ 
  • ยาคุมกำเนิดวิธีนี้ช่วยป้องกันโรคทางเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่
    ทั้งนี้ควรเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของวิธีคุมกำเนิดแต่ละวิธี และเลือกวิธีที่เหมาะกับการดำเนินชีวิตของคุณ

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 24 ก.ย. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopic Surgery
  • Link to doctor
    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Gynecologic Oncology
  • Link to doctor
    นพ.  วิวรรธน์  ชินพิลาศ

    นพ. วิวรรธน์ ชินพิลาศ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopy
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. พิพัฒน์ จงกลสิริ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. นลินา ออประยูร

    พญ. นลินา ออประยูร

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
  • Link to doctor
    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Menopause, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology