Med Park Hospital Vdo Series.jpg

ภาพยนตร์โรงพยาบาลเมดพาร์ค

เพราะทุกคำถามทำให้เกิดการลงมือทำ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ด้วยวิธีการใหม่ ๆ จึงเกิดเป็นภาพยนตร์ทั้ง 3 เรื่อง

แชร์

จะดีกว่าไหม? | What if? | MedPark Hospital
จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคนกลุ่มหนึ่งลุกขึ้นมาตั้งคำถาม เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง

เรื่องราวของการตั้งคำถามถึงสิ่งใกล้ตัว ว่าจะเป็นไปได้ไหม? ถ้าเราจะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมสิ่งแวดล้อม หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงตัวเอง หลายๆ เรื่องอาจทำได้ยาก แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เราลงมือทำและผลักดันสิ่งนั้นมากพอแล้วหรือยัง?

สำหรับเรา MedPark Hospital เราเชื่อว่าคำถามเป็นสิ่งสำคัญ เพราะคำถามทำให้เราก้าวข้ามข้อจำกัดเดิมๆ ทำให้เราพบทางเลือกใหม่ และคำถาม ทำให้เรามารวมกัน และร่วมมือกันสร้างโรงพยาบาลของแพทย์ โดยมีทีมแพทย์ร่วมออกแบบในทุกรายละเอียด เพื่อการรักษาที่เต็มประสิทธิภาพ และเอื้อประโยชน์ต่อคนไข้มากที่สุด พร้อมทั้งรวบรวมบุคลากรทางการแพทย์ชั้นนำหลากหลายสาขาวิชา ที่จะทำให้คุณได้พบคำตอบใหม่ของการรักษา



วัฒนธรรมใหม่ของการรักษา | MedPark Formula | MedPark Hospital
จะเป็นไปได้ไหม? ถ้า MedPark สร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทำงาน เพื่อการรักษาที่ปลอดภัยขึ้นและมีประสิทธิผลมากกว่าเดิม

MedPark Hospital เราไม่ได้ออกแบบแค่โรงพยาบาล แต่เรายังสร้างวัฒนธรรมการทำงานใหม่ บนคอนเซปที่ไม่มีระบบลำดับขั้น (Hierarchy) รวมทีมแพทย์สหสาขาวิชาชีพ รักษาคนไข้ร่วมกันในทุกขั้นตอน เพื่อดูแลคนไข้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ให้การรักษาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ปลอดภัย และดีที่สุด





ออกแบบโดยทีมแพทย์ | Crafted by Doctors | MedPark Hospital
ใครจะไปคิด ว่าหมอจะลงมือร่วมออกแบบสิ่งนี้ด้วยตัวเอง

จะเป็นไปได้ไหม? ถ้าแพทย์ชั้นนำระดับประเทศ จะรวมตัวกันเพื่อร่วมออกแบบโรงพยาบาลที่พวกเขาอยากเห็นในประเทศไทย เพราะรายละเอียดบางอย่างในการรักษามีแค่แพทย์เฉพาะทางเท่านั้นที่เข้าใจอย่างลึกซึ้ง และรู้ว่าสิ่งไหนสำคัญและปลอดภัยที่สุดสำหรับคนไข้ของพวกเขา

ที่ MedPark Hospital ทีมแพทย์จึงร่วมออกแบบกับทีมสถาปนิกในทุกรายละเอียด และในทุกๆพื้นที่ของโรงพยาบาล เช่น
• สวนในล็อบบี้ ผ่อนคลาย สบายตา จากพื้นที่สีเขียวและการตกแต่งที่เน้นความอบอุ่น เหมือนอยู่ที่บ้าน
• สวนกายภาพลอยฟ้า พร้อมธาราบำบัด ที่ไม่ใช่แค่เห็น แต่ต้องสัมผัสได้ถึงธรรมชาติ
• ห้องตรวจดีไซน์ใหม่ ไม่มีกำแพงกั้นระหว่างหมอกับคนไข้ แม้กระทั่งโต๊ะทำงานหรือจอคอมพิวเตอร์
• ห้องผู้ป่วยวิกฤตที่ออกแบบมาให้อยู่ในสายตาอย่างใกล้ชิด พร้อมห้องน้ำในตัวให้ผู้ป่วยที่ยังช่วยเหลือตัวเองได้ สามารถดำเนินชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

ทั้งหมดคำนึงถึงประโยชน์ของคนไข้ที่จะได้รับเป็นหลัก เพื่อการรักษาที่ดีที่สุด

เผยแพร่เมื่อ: 05 เม.ย. 2021

แชร์

บทความสุขภาพ

ใครควรตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก

การตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูก (Bone Mineral Density) ความหนาแน่นของมวลกระดูกของคนเรามักจะน้อยลง กระดูกเปราะบางมากขึ้น ทำให้ความเสี่ยงจะเป็นโรคกระดูกพรุนสูงขึ้น กระดูกหักได้ง่ายแม้ว่าจะได้รับบาดเจ็บ

Goto page arrow icon

ยาเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด

โรคมะเร็ง หนึ่งในโรคเรื้อรังที่คร่าชีวิตผู้คนติดอันดับต้น ๆ ของโลก ด้วยกระบวนการรักษาที่มีความซับซ้อน และก่อผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ ผู้ป่วยมะเร็งหลายคนมักเกิดความวิตกกังวลทันทีที่รู้ว่าเป็นมะเร็ง กลัวการรักษา กลัวการฉายแสง

Goto page arrow icon

ค่า BMI ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index)

ค่าดัชนีมวลกาย หรือ ค่า BMI เป็นเครื่องมือที่ใช้ประมาณการระดับไขมันในร่างกาย โดยคำนวณจากน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูงยกกำลังสอง (หน่วยเป็นเมตร) หากค่าที่ได้นั้นสูงแสดงถึงระดับไขมันในร่างกายที่น่าจะสูงด้วยเช่นกัน

Goto page arrow icon
medpark ดูทั้งหมด