Follow Us

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสี

การรักษาโรคมะเร็งนั้นทำได้หลายวิธี เช่น การฉายรังสี การผ่าตัด การให้ยามุ่งเป้า เคมีบำบัดและการรักษาด้วยฮอร์โมน แพทย์จะเป็นผู้ประเมินการรักษาที่เหมาะสม โดยอาจจะให้การรักษาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง

การรักษาด้วยการฉายรังสีในผู้ป่วยโรคมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็งนั้นทำได้หลายวิธี เช่น การฉายรังสี การผ่าตัด การให้ยามุ่งเป้า เคมีบำบัดและการรักษาด้วยฮอร์โมน แพทย์จะเป็นผู้ประเมินการรักษาที่เหมาะสม โดยอาจจะให้การรักษาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือใช้หลายวิธีร่วมกัน ในกรณีที่จำเป็นต้องมีการรักษาด้วยการฉายรังสี ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลโดยแพทย์รังสีรักษา แพทย์จะอธิบายถึงบทบาทของรังสีรักษา ข้อดี-ข้อเสีย และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการรักษา และภายหลังจากเสร็จสิ้นการรักษา

การรักษาด้วยการฉายรังสีมี 2 แบบ

  • รังสีรักษาระยะไกลจากภายนอก เช่น เครื่องฉายรังสี
  • รังสีรักษาระยะใกล้ เช่น การฝังแร่, โหลดแร่ อิริเดียม-192

*ใช้ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก  และมะเร็งปากมดลูก

ผลข้างเคียง

  • ผลข้างเคียงของการฉายรังสีจะเกิดขึ้นเฉพาะที่ และมักจะไม่รุนแรง ในการรักษามะเร็งเต้านม อาจเกิดรอยแดงหรือสีผิวคล้ำขึ้น ตรงบริเวณหน้าอกที่ได้รับการฉายรังสี ในขณะที่มะเร็งในช่องปากจะมีอาการ เจ็บปากเจ็บคอในช่วงฉายรังสีได้ หรือผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีบริเวณช่องท้อง อาจรู้สึกมวนท้อง เป็นต้น อาการชั่วคราวเหล่านี้มักเริ่มในช่วงสัปดาห์ที่ 2-3 ของการฉายรังสี และอาจมีอาการต่อไปอีก 2-3 สัปดาห์หลังฉายรังสีครบ
  • รู้สึกอ่อนเพลีย ซึ่งระดับความมากน้อยขึ้นกับตัวบุคคล บริเวณที่ฉายรังสี และการได้รับการรักษาอื่น ๆ เช่น ยาเคมีบำบัด ร่วมด้วย เมื่อรู้สึกอ่อนเพลีย ควรพยายามพักผ่อนให้มากขึ้นและผ่อนคลายความเครียด
ในช่วงระหว่างการรักษา
หลังการวินิจฉัยโรค ผู้ป่วยอาจจะต้องพบกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านมะเร็งหลายท่าน เช่น ศัลยแพทย์ แพทย์รังสีรักษา และอายุรแพทย์ด้านมะเร็ง ผู้ป่วยสามารถซักถาม ถึงข้อมูลการรักษาได้ โดยทั่วไปผู้ป่วยมักต้องได้รับการรักษาหลายอย่างร่วมกัน เช่น โรคมะเร็งเต้านม ศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออก จากนั้นผู้ป่วย อาจได้รับการฉายรังสีและเคมีหรือฮอร์โมนบำบัดเพิ่มเติม เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง ที่อาจหลงเหลืออยู่ในร่างกาย

การตรวจทุกสัปดาห์
ช่วงระหว่างการฉายรังสี ควรพบแพทย์รังสีรักษาทุกสัปดาห์ โดยแพทย์จะประเมินการตอบสนองต่อการรักษา ผลข้างเคียง พร้อมแนะนำวิธีปฏิบัติตัว และตอบคำถามที่ผู้ป่วยและญาติสงสัย

  • ในช่วงฉายรังสีผู้ป่วยจะรู้สึกอ่อนเพลียจึงควรพักผ่อนอย่างเต็มที่ แต่ยังสามารถออกกำลังกายหรือทำกิจวัตรประจำวันที่ไม่เหนื่อยเกินไปได้ตามปกติ
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
  • ในช่วงการรักษาควรทานอาหารที่มีประโยชน์ และให้พลังงานสูง เช่น ไข่ขาว เนื้อสัตว์ ปลา และควรดื่มน้ำมาก ๆ

บริเวณที่ฉายรังสีจะมีความบอบบางเป็นพิเศษ และอาจเกิดการอักเสบได้จึงควรดูแล และปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้

  • ทำความสะอาดบริเวณที่ฉายรังสีด้วยน้ำอุ่นทุกวัน  งดการฟอกสบู่เพราะจะทำให้บริเวณที่ขีดเส้นไว้ลบเลือน
  • หลีกเลี่ยงการใช้โลชั่น น้ำหอม แป้ง และเครื่องสำอางค์ ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้ผิวแห้งมากขึ้น
  • ไม่ประคบร้อน-เย็น บริเวณที่ฉายรังสี
  • หลีกเลี่ยงแสงแดด ควรสวมเสื้อผ้าหรือ หมวก เพื่อปกป้องผิวจากแสงแดด





จัดทำโดย
พว.วณิชยา ธีรติวาณิชย์
พยาบาลแผนกรังสีรักษา โรงพยาบาลเมดพาร์ค

ที่ปรึกษา
นพ.ยงยุทธ คงธนารัตน์
แพทย์รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา
ประวัติแพทย์

นพ.ธีรกุล จิโรจน์มนตรี
แพทย์รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา
ประวัติแพทย์