โรคปอดติดเชื้อ (Lung infection) อาการ สาเหตุ การตรวจวินิจฉัยและวิธีรักษาโรคปอดติดเชื้อ

โรคปอดติดเชื้อ

ปอดติดเชื้อคือการที่ “เชื้อโรค” เข้าสู่ร่างกายไปที่ปอด แต่การที่เชื้อโรคเข้าไปสู่ปอดจะผ่าน จมูก, คอหอย, หลอดลมใหญ่ หลอดลมเล็ก และเข้าสู่ถุงลมปอด จากการสูดลมหายใจ และจากทางกระแสเลือด

แชร์

ปอดติดเชื้อเกิดจากอะไร

ปอดติดเชื้อเกิดจากการที่ “เชื้อโรค” เข้าสู่ร่างกายไปที่ปอด แต่การที่เชื้อโรคเข้าไปสู่ปอดจะผ่าน จมูก, คอหอย, หลอดลมใหญ่, หลอดลมเล็ก และเข้าสู่ถุงลมปอด โดยเชื้อโรคสามารถเข้าไปสู่ปอด เข้าสู่ร่างกายเราได้ด้วยสาเหตุหลัก 2 ทาง คือ จากการสูดลมหายใจ และจากทางกระแสเลือด หมายถึงการติดเชื้อมาจากส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย แล้วกระจายมาสู่ปอดผ่านทางกระแสเลือด

ปอดติดเชื้อเกิดจากอะไร ปอดมีไวรัส

ปัจจัยใดที่ทำเกิดปอดติดเชื้อ 

โดยปกติร่างกายจะมีภูมิต้านทาน และมีกลไกในการป้องกันตัวเองจากเชื้อโรคต่างๆ ปัจจัยใดบ้างที่ทำให้ปอดของคนเรามีโอกาสติดเชื้อได้แก่ 

  1. ติดเชื้อโรคที่มีความรุนแรง

    สามารถเกิดได้จากเชื้อโรคหลายประเภท เช่น ไวรัส แบคทีเรีย วัณโรค เชื้อราและ พยาธิ โดยเชื้อแบคทีเรียและไวรัสเป็นเชื้อที่พบบ่อยที่สุด

  2. ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

    ภูมิคุ้มกันร่างกายเราบกพร่องทำให้เชื้อผ่านเข้าไปสู่ปอดได้โดยง่าย อีกทั้งกลุ่มผู้ป่วยโรคปอด โรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง หรือคนที่เคยมี ฝี หรือโพรงในปอดมาก่อนทำให้สมรรทภาพในปอดเปลี่ยนแปลงไปเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
  3. รับประทานยาที่มีผลต่อภูมิคุ้มกัน

    รับประทานยาที่มีผลต่อภูมิคุ้มกันร่างกาย เช่น กลุ่มคนไข้ที่ทานยากดภูมิ หรือกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการทำเคมีบำบัด
  4. มีการสัมผัสเชื้อเป็นประจำ

    การได้รับเชื้อในปริมาณมากเป็นประจำ ถึงแม้จะไม่ใช่เชื้อที่รุนแรงและมีคุ้มกันร่างกายที่ดี แต่หากได้รับสัมผัสกับเชื้อปริมาณมาก หรือเป็นประจำ หรือคนที่เป็นพาหะของเชื้ออยู่ ก็สามารถทำให้เกิดเป็นปอดติดเชื้อได้ 

อาการของโรคปอดติดเชื้อและวิธีรักษาโรคปอด

อาการของโรคปอดติดเชื้อเป็นอย่างไร 

  • ไข้สูง หนาวสั่น 
  • อาการไอ หายใจเร็ว หอบเหนื่อย อกบุ๋มเวลาหายใจ  
  • เจ็บชายโครง เวลาหายใจเข้า-ออก 

จะเห็นว่าอาการของปอดติดเชื้ออาจจะคล้ายกับอาการไข้หวัดธรรมดาหรือไข้หวัดใหญ่ทั่วไป แต่จุดสังเกตอย่างนึงคือ โรคปอดติดเชื้อ มักจะไอมากเมื่อสังเกตหายใจเข้าออกจะพบความผิดปกติ อาการเจ็บเสียดบริเวณหน้าอกหรือชายโครง พบได้หากน้ำขังในบริเวณเยื่อหุ้มปอดร่วมด้วย


การวินิจฉัยโรคปอดติดเชื้อ 

แพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยการซักประวัติ สอบถามอาการและตรวจร่างกายฟังเสียงปอด โดยหากปอดมีการติดเชื้อจะพบเสียงผิดปกติ หลังจากนั้นจะทำการเอ็กซเรย์ปอด เพื่อดูความรุนแรง  ตำแหน่งของการติดเชื้อและหาภาวะแทรกซ้อนอื่น เช่น ภาวะน้ำขังในเยื่อหุ้มปอด โพรงฝีในปอด เป็นต้น นอกจากนี้จะมีการตรวจเลือดเพื่อประเมินเรื่องการติดเชื้อ การตรวจน้ำมูกหรือเสมหะเพื่อทำการค้นหาเชื้อโรค 


แนวทางการรักษาโรคปอดติดเชื้อ 

วิธีการรักษาโรคปอดขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรค หากเป็นการติดเชื้อไวรัสโดยส่วนใหญ่ไม่มียารักษาจำเพาะจะเป็นการรักษาตามอาการ เป็นการรักษาประคับประคองจนกว่าพยาธิสภาพของปอดจะดีขึ้น ยกเว้น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมียาต้านไวรัสในรูปแบบรับประทานเป็นเวลา 5 วัน ส่วนการติดเชื้อแบคทีเรียในปอดสิ่งสำคัญคือการใช้ยาฆ่าเชื้อให้ตรงกับเชื้อเป็นหลัก โดยเฉพาะปอดติดเชื้อจากการติดเชื้อในกระแสเลือด หากได้รับยาฆ่าเชื้ออย่างทันท่วงที ก็จะทำให้มีอัตราการรอดชีวิตที่สูงมาก ดังนั้นควรเฝ้าสังเกตอาการผิดปกติให้ดี หากมีอาการผิดปกติควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อลดความเสี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

 

เมื่อเป็นโรคปอดติดเชื้อ สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้หรือไม่ อะไรบ้าง 

โดยปกติแล้ววิธีการรักษาโรคปอดติดเชื้อจะสังเกตการดำเนินของโรคและผลของการรักษาในช่วง 48-72 ชั่วโมง หากอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์จะทำการเอ็กซเรย์ปอดซ้ำ เพื่อดูว่ามีอาการแทรกซ้อนหรือไม่ โดยภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ ก็คือการเกิดฝีหรือหนองที่ปอด ซึ่งหากพบลักษณะนี้อาจต้องพิจารณารักษาด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติม หรืออาจเกิดภาวะมีน้ำในเยื่อหุ้มปอด หรือเชื้ออาจกระจายลุกลามออกจากปอดไปสู่กระแสเลือดได้

ทั้งนี้หากเกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นฝีขึ้นที่ปอด วิธีรักษาโรคปอดติดเชื้อในกลุ่มนี้แพทย์จะทำการปรับยาฆ่าเชื้อในการรักษาให้ครอบคลุมและตรงกับเชื้อมากขึ้น แต่หากอาการยังไม่ทุเลา ก็จะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อเอาหนองออก ส่วนในกรณีเกิดภาวะแทรกซ้อนมีน้ำในเยื่อหุ้มปอด แพทย์จะนำน้ำในเยื่อหุ้มปอดไปทำการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ และหากมีปริมาณน้ำมาก จะทำการระบายน้ำออก

วิธีรักษาโรคปอดและวิธีดูแลตัวเองหลังปอดติดเชื้อดูแลตัวเองอย่างไร ให้ปลอดภัยจากโรคปอดติดเชื้อ 

แนวทางในการป้องกันและดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคปอดติดเชื้อนั้น สามารถทำได้โดยใช้หลักการเดียวกันกับการป้องกันโรคในระบบทางเดินหายใจโรคอื่นๆ คือ 

  • หลีกเลี่ยงคนพลุกพล่าน

    หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ชุมชนที่มีผู้คนพลุกพล่าน อย่างไรก็ตามหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ควรสวมหน้ากากอนามัยป้องกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่กำลังป่วย หรือมีสุขภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง มีภูมิคุ้มกันต่ำ เพราะเชื้อโรคอยู่รอบตัวเราโดยที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ เราอาจจะได้รับเชื้อโดรคมาโดยที่เราไม่รู้ตัว การป้องกันเอาไว้ก่อนจึงดีที่สุด 
  • ล้างมือและรักษาความสะอาด

    ล้างมือด้วยน้ำและสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลให้สะอาดอยู่เสมอ เพราะเราใช้มือสัมผัสสิ่งต่างๆที่อาจจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ หากเรานำมือที่สกปรกไปหยิบอาหารรับประทาน หรือนำมาขยี้ตา สูดดม ก็อาจทำให้ได้รับเชื้อเข้าสู่ปอด เข้าสู่ร่างกายได้
  • ฉีดวัคซีนป้องกัน

    การรับวัคซีนป้องกันโรค เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนนิวโมคอคคัส สามารถช่วยลดความเสี่ยงจากโรคปอดติดเชื้อได้
  • ดูแลสุขภาพและพักผ่อนให้เพียงพอ

    ดูแลร่างกายให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เป็นพื้นฐานทำให้เรามีสุขภาพที่ดี มีภูมิคุ้มกันร่างกายที่ดี ซึ่งก็จะทำให้โอกาสปอดติดเชื้อลดน้อยลง 

 

โรคปอดติดเชื้อนั้นนับว่าเป็นหนึ่งในโรคระบบทางเดินหายใจที่มีความร้ายแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็ก ๆ และผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ที่สุขภาพร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคปอดติดเชื้อได้มากกว่าคนปกติทั่วไปหลายเท่า ดังนั้นควรหมั่นสังเกตอาการตัวเองให้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าฝน หากมีไข้สูง หนาวสั่น ไอ หายใจเร็วและหายใจหอบเหนื่อย หายใจแล้วเจ็บเสียด ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด หากได้รับวิธีรักษาโรคปอดติดเชื้อที่รวดเร็วจะช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราการเสียชีวิตไปได้มาก

 

เผยแพร่เมื่อ: 21 ก.พ. 2021

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ถนอมศักดิ์ อเนกธนานนท์

    ผศ.นพ. ถนอมศักดิ์ อเนกธนานนท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ รวมทั้งโรคแทรกซ้อน, วัคซีน, โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, สุขภาพนักเดินทาง การให้วัคซีน และประเมินสุขภาวะก่อนและหลังกลับจากต่างประเทศหรือพื้นที่เสี่ยง, โรคติดเชื้อทางเขตร้อน
  • Link to doctor
    รศ.นพ. พอพล โรจนพันธุ์

    รศ.นพ. พอพล โรจนพันธุ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    อายุรกรรมทั่วไป, อายุรกรรมผู้สูงอายุ
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. มนต์เดช สุขปราณี

    ผศ.นพ. มนต์เดช สุขปราณี

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ รวมทั้งโรคแทรกซ้อน, การจัดการโรคไวรัสตับอักเสบชนิดซีและการปฏิบัติตัว, โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, การติดเชื้อในเวชบำบัดวิกฤต
  • Link to doctor
    นพ. เกษม สิริธนกุล

    นพ. เกษม สิริธนกุล

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    โรคหอบหืดและไอเรื้อรัง, หายใจลำบาก, ไอเรื้อรัง, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคถุงลมโป่งพอง, โรคมะเร็งปอด, โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ, โรคปอดบวม, คลินิกหยุดบุหรี่
  • Link to doctor
    พญ.  ศิรญา ไชยะกุล

    พญ. ศิรญา ไชยะกุล

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. รพีพรรณ  รัตนวงศ์นรา มอร์ด

    พญ. รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    สุขภาพนักเดินทาง การให้วัคซีน และประเมินสุขภาวะก่อนและหลังกลับจากต่างประเทศหรือพื้นที่เสี่ยง, โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ, การติดเชื้อทางเดินอาหาร, โรคติดเชื้อทั่วไป และการให้วัคซีน, การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ รวมทั้งโรคแทรกซ้อน, การติดเชื้อในระบบประสาท , โรคหนอนพยาธิ, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง , โรคติดเชื้อที่เนื้อเยื่อ, โรคติดเชื้อที่กระดูก, โรคติดเชื้อที่ข้อ, โรคติดเชื้อทางเขตร้อน, การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ชายวุฒิ สววิบูลย์

    ผศ.นพ. ชายวุฒิ สววิบูลย์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ, เวชบำบัดวิกฤต, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    รศ.พญ. สิริอร วัชรานานันท์

    รศ.พญ. สิริอร วัชรานานันท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, โรคติดเชื้อทั่วไป, การติดเชื้อในเวชบำบัดวิกฤต, โรคติดเชื้อหลังปลูกถ่ายอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก, โรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อราลุกลามหรือไวรัส
  • Link to doctor
    นพ. พีระวงษ์ วีรารักษ์

    นพ. พีระวงษ์ วีรารักษ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. จักกพัฒน์ วนิชานันท์

    นพ. จักกพัฒน์ วนิชานันท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. จิรยศ จินตนาดิลก

    นพ. จิรยศ จินตนาดิลก

    • อายุรศาสตร์
    • เวชศาสตร์การนอนหลับ
    • เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    เวชศาสตร์การนอนหลับ, อายุรศาสตร์โรคปอด, อายุรกรรมผู้สูงอายุ, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. วรการ วิไลชนม์

    นพ. วรการ วิไลชนม์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    เวชศาสตร์การนอนหลับ, กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน, โรคหอบหืดและไอเรื้อรัง, เครื่องช่วยหายใจ, วัณโรค
  • Link to doctor
    นพ. อมรพันธุ์ วงศ์กาญจนา

    นพ. อมรพันธุ์ วงศ์กาญจนา

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ