สาเหตุ การรักษา และการป้องกันอาการหายใจลำบาก หายใจไม่เต็มปอด - Causes, Treatment and Prevention of Dyspnea (Shortness of Breath)

อาการหายใจลำบาก หายใจไม่เต็มปอด (Dyspnea)

อาการหายใจลำบาก (Dyspnea) คือความรู้สึก หายใจไม่เต็มปอด รู้สึกแน่นหน้าอก และต้องออกแรงมากเพื่อหายใจเอาอากาศเข้าไป อาการหายใจลำบากเป็นสัญญาณของอาการฉุกเฉินที่ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที

แชร์

อาการหายใจลำบาก หายใจไม่เต็มปอด

อาการหายใจลำบาก (Dyspnea) คือความรู้สึก หายใจไม่เต็มปอด รู้สึกแน่นหน้าอก และต้องออกแรงมากเพื่อหายใจเอาอากาศเข้าไป

อาการหายใจลำบากประเภทต่าง ๆ 

อาการหายใจลำบากเฉียบพลัน

อาการหายใจลำบากเฉียบพลันมักเกิดขึ้นไม่เกิน 2-3 ชั่วโมง ซึ่งอาจเกิดจากการออกกำลังกาย ความวิตกกังวล โรคไข้หวัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคภูมิแพ้ ลมรั่วในช่องปอด หรือโรคร้ายแรงอื่น ๆ  เช่น ภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

อาการหายใจลำบากเรื้อรัง

ผู้ที่มีอาการหายใจลำบากเรื้อรังมักมีอาการนานกว่า 2-3 สัปดาห์ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากโรคภูมิแพ้เรื้อรัง ภาวะความดันในหลอดเลือดปอดสูง ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

อาการหายใจลำบากขณะนอนหลับ

หายใจลำบากขณะนอนหลับ (Paroxysmal Nocturnal Dyspnea: PND) ผู้ป่วยมักหายใจไม่สะดวกขณะที่นอนหลับจนอาจรู้สึกตัวตื่นขึ้น 

อาการถอนหายใจเนื่องจากหายใจลำบาก

ผู้ป่วยรู้สึกว่าสูดหายใจได้ไม่เต็มปอดจึงถอนหายใจยาว ๆ เพื่อบรรเทาอาการหายใจไม่อิ่ม

Dyspnea (shortness of Breath) Banner 3

สัญญาณของอาการหายใจลำบาก

  • สูดลมหายใจยาว ๆ ไม่ค่อยได้
  • แน่นหน้าอก
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • หายใจเสียงหวีด

ควรพบแพทย์เมื่อไร

อาการหายใจลำบากเป็นสัญญาณของอาการฉุกเฉินที่ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอาการหายใจได้ไม่เต็มปอดบ่อยหรือรุนแรง

ผู้ป่วยควรไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดเมื่อมีอาการดังต่อไปนี้

  • หายใจไม่ทันหรือหายใจไม่สะดวกแม้จะนั่งพักมาเป็นเวลา 30 นาทีแล้ว
  • ริมฝีปาก ผิว หรือเล็บเปลี่ยนเป็นสีเขียว
  • เจ็บหรือแน่นหน้าอก
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • ข้อเท้าหรือเท้าบวม
  • อาการหายใจมีเสียงดังผิดปกติหรือมีเสียงหวีด
  • มีไข้สูง

สาเหตุอาการหายใจลำบาก หายใจไม่เต็มปอด

หัวใจและปอดทำหน้าที่สำคัญในการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายของคนเรา หากอวัยวะทั้งสองทำงานผิดปกติ จะทำให้ร่างกายของเราได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอและมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือดสูงเกินไป เราต้องหายใจแรงขึ้นเพื่อนำออกซิเจนเข้าไปในร่างกายมากขึ้น พร้อมกับกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้ร่างกายต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น ได้แก่ การออกกำลังกายแบบเข้มข้น การอยู่ในที่พื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมาก ๆ

นอกจากนี้อาการระคายเคืองที่ปอด การที่ปอดขยายตัวได้อย่างจำกัดขณะหายใจ หรือแรงต้านในหลอดลมจากภาวะหลอดลมตีบหรืออุดกั้นอาจทำให้แน่นหน้าอก หายใจได้ลำบาก

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาหารหายใจลำบาก

  • อาการวิตกกังวล
  • โรคโลหิตจาง
  • โรคหัวใจและปอด
  • มีประวัติเป็นโรคทางระบบทางเดินหายใจ
  • สูบบุหรี่
  • ค่าดัชนีมวลกายสูงกว่า 30

การตรวจวินิจฉัยอาการหายใจลำบาก หายใจไม่เต็มปอด

การซักประวัติและตรวจร่างกาย โดยการตรวจสัญญาณชีพ รวมถึงค่าความดันโลหิต ค่าออกซิเจนในเลือด และฟังเสียงปอด

  • การเอกซ์เรย์หรือการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก
  • การตรวจเลือดเพื่อหาภาวะโลหิตจางและโรคอื่น ๆ
  • การตรวจสมรรถภาพปอด
  • การตรวจสมรรถภาพหัวใจและปอด เพื่อวัดปริมาณออกซิเจนที่ร่างกายหายใจเข้าไปและปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่หายใจออกมา

Dyspnea (shortness of Breath) Banner 2

การรักษาอาการหายใจลำบาก หายใจไม่เต็มปอด

  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของปอดและหัวใจ
  • การฝึกการหายใจและเทคนิคการผ่อนคลายสามารถช่วยคลายความวิตกกังวลที่อาจเป็นสาเหตุของอาการหายใจลำบาก
  • การรับประทานยา เช่น ยาขยายหลอดลมช่วยคลายการหดตัวของหลอดลมเนื่องจากหอบหืดหรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ยาแก้ปวดหรือคลายความกังวลบางชนิดสามารถบรรเทาอาการหายใจลำบากได้เช่นกัน
  • การบำบัดด้วยออกซิเจนเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนในเลือด

การป้องกันอาการหายใจลำบาก

  • ปฏิบัติตามแผนการรักษาที่แพทย์แนะนำ ซึ่งรวมไปถึงการรับประทานยา การออกกำลังกาย และการฝึกหายใจ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารระคายเคือง เช่น สารเคมี ไอจากสีทาบ้าน หรือควันจากท่อไอเสียรถยนต์
  • ฝึกการหายใจและเทคนิคการผ่อนคลาย
  • เลิกสูบบุหรี่
  • รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • งดการออกไปนอกบ้านหรือตัวอาคารเมื่อค่ามลพิษทางอากาศสูงและเป็นอันตราย

Dyspnea (shortness of Breath)   Infographic Th

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 03 ก.ย. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. จิรยศ จินตนาดิลก

    นพ. จิรยศ จินตนาดิลก

    • อายุรศาสตร์
    • เวชศาสตร์การนอนหลับ
    • เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    เวชศาสตร์การนอนหลับ, อายุรศาสตร์โรคปอด, อายุรกรรมผู้สูงอายุ, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. อมรพันธุ์ วงศ์กาญจนา

    นพ. อมรพันธุ์ วงศ์กาญจนา

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ชายวุฒิ สววิบูลย์

    ผศ.นพ. ชายวุฒิ สววิบูลย์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ, เวชบำบัดวิกฤต, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. วรการ วิไลชนม์

    นพ. วรการ วิไลชนม์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    เวชศาสตร์การนอนหลับ, กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน, โรคหอบหืดและไอเรื้อรัง, เครื่องช่วยหายใจ, วัณโรค
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. วิรัช ตั้งสุจริตวิจิตร

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
  • Link to doctor
    นพ. เกษม สิริธนกุล

    นพ. เกษม สิริธนกุล

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    โรคหอบหืดและไอเรื้อรัง, หายใจลำบาก, ไอเรื้อรัง, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคถุงลมโป่งพอง, โรคมะเร็งปอด, โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ, โรคปอดบวม, คลินิกหยุดบุหรี่
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    พญ. ประภาพร พรสุริยะศักดิ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. กันต์ โอโกโนกิ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    เวชบำบัดวิกฤต, อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ
  • Link to doctor
    นพ. ฐิติ ศรีเจริญชัย

    นพ. ฐิติ ศรีเจริญชัย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ, กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน, อายุรศาสตร์โรคปอด, เวชบำบัดวิกฤต