การแบ่งเกรดตัวอ่อน สำหรับทำเด็กหลอดแก้ว - IVF Embryo Grading

การแบ่งเกรดตัวอ่อน สำหรับทำเด็กหลอดแก้ว

การแบ่งเกรดตัวอ่อน เป็นวิธีการช่วยคัดเลือกและประเมินคุณภาพตัวอ่อนสำหรับการทำเด็กหลอดแก้ว มักทำในวันที่ 3 และวันที่ 5 หลังเก็บไข่ โดยแพทย์จะประเมินระดับความพร้อมของตัวอ่อนแต่ละตัว และเวลาที่เหมาะสม

แชร์

การแบ่งเกรดตัวอ่อน สำหรับการทำเด็กหลอดแก้ว

การแบ่งเกรดตัวอ่อนเป็นวิธีการช่วยคัดเลือกและประเมินคุณภาพตัวอ่อนสำหรับการทำเด็กหลอดแก้ว มักทำในวันที่ 3 และวันที่ 5 หลังเก็บไข่ โดยแพทย์จะประเมินระดับความพร้อมของตัวอ่อนแต่ละตัว และเวลาที่เหมาะสมสำหรับการย้ายตัวอ่อนกลับเข้าไปในมดลูก

Ivf Embryo Grading Banner 3

ตัวอ่อนอายุ 3 วันหรือระยะคลีเวจ (Cleavage)

ในระยะนี้เซลล์ของตัวอ่อนจะมีการแบ่งตัวภายในไข่ซึ่งยังมีขนาดเท่าเดิมเหมือนตอนที่ยังไม่ปฏิสนธิ แพทย์จะประเมินรูปร่างและโครงสร้างของตัวอ่อนและทำการให้คะแนนโดยอิงจากจำนวนเซลล์และรูปร่าง

  • จำนวนเซลล์

จำนวนเซลล์เป็นตัวชี้วัดศักยภาพของตัวอ่อนที่ดีที่สุด การแบ่งเซลล์ที่เหมาะสมของตัวอ่อนอายุ 3 วันคือ 6-10 เซลล์ การฝังตัวอ่อนที่แบ่งตัวออกเป็น 8 เซลล์หรือมากกว่านั้นจะทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์สูงขึ้น อย่างไรก็ตามตัวอ่อนอายุ 3 วันที่มีการแบ่งเซลล์ 3- 6 เซลล์ก็มีโอกาสที่จะเติบโตเป็นทารกในครรภ์ที่แข็งแรงได้เช่นเดียวกัน

  • ลักษณะของเซลล์

การให้คะแนนรูปร่างหน้าตาของเซลล์ตัวอ่อนยากกว่าการนับจำนวนเซลล์และมักขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนแต่ละท่าน รูปร่างของเซลล์ที่มีคุณภาพจะมีนิวเคลียสและขนาดของเซลล์ที่แบ่งตัวออกมาเท่า ๆ กัน การให้คะแนนลักษณะของเซลล์จะแบ่งเป็นเกรด A, B, C, D โดย A คือลำดับสูงสุด เซลล์ตัวอ่อนควรมี Fragmentation หรือ เศษเซลล์ขนาดเล็กที่ผิดปกติในตัวอ่อนน้อยกว่า 20% เพราะการที่มีเศษเซลล์มากจะทำให้เซลล์ตัวอ่อนสูญเสียสสารภายในเซลล์ที่อยู่รอบนิวเคลียส (Cytoplasm) ทำให้เซลล์ทำงานได้ไม่เต็มที่

นอกจากรูปร่างของเซลล์แล้ว แพทย์ยังพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

    • การรวมตัวเป็นก้อน (Compaction) ว่าเซลล์มีการรวมตัวเป็นก้อนหรือไม่ ซึ่งการรวมตัวดังกล่าวเป็นตัวชี้วัดว่าเซลล์พร้อมสำหรับการกลายเป็นตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ มักเกิดขึ้นเมื่อตัวอ่อนมีอายุ 4 วัน
    • รอยบุ๋มของสารภายในเซลล์ (Cytoplasmic pitting) ว่ามีรอยบุ๋มในสสารภายในเซลล์หรือไม่ อย่างไรก็ตามยังต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเรื่องนี้มากขึ้น
    • ถุงน้ำภายในเซลล์ (Vacuoles) โดยจะดูว่ามีถุงน้ำภายในเซลล์หรือไม่

สรุปแล้วตัวอ่อนอายุ 3 วันที่ดีควรมีเซลล์ 8 เซลล์ รูปร่างหน้าตาควรได้เป็นเกรด 1 และมีเศษของเซลล์น้อยกว่า 20 %

Ivf Embryo Grading Banner 2

ตัวอ่อนอายุ 5 วันหรือตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst)

ในระยะนี้มวลเซลล์ชั้นในหรือ (Inner Cell Mass - ICM) ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นทารก และเซลล์รอบ ๆ (Trophectoderm Epithelium - TE) ซึ่งจะกลายไปเป็นรกและเนื้อเยื่อที่จำเป็นต่อการตั้งครรภ์จะก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้น  ผนังเซลล์ไข่ (Zona Pellucida) พร้อมที่จะแตกออกเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการฝังตัวในมดลูก การคัดเกรดตัวอ่อนอายุ 5 วันจะวัดจากการขยายตัวของตัวอ่อนบลาสโตซิสต์ คุณภาพของ Inner Cell Mass และคุณภาพของ Trophectoderm

  • การขยายตัวของตัวอ่อนบลาสโตซิสต์ (Expansion of Blastocyst)

โดยจะวัดบลาสโตซีล (Blastocoel) หรือช่องกลวงในบลาสโตซิสต์ และให้คะแนนเป็นลำดับ 1-6 โดยลำดับ 6 จะหมายถึงการเจริญเติบโตมากที่สุด

เกรด 1 Early Blastocyst บลาสโตซีลมีปริมาตรน้อยกว่าตัวอ่อนครึ่งหนึ่ง
เกรด 2 Blastocyst บลาสโตซีลมีปริมาตรมากกว่าตัวอ่อนครึ่งหนึ่ง
เกรด 3 Full Blastocyst บลาสโตซีลมีปริมาตรเต็มตัวอ่อน 
เกรด 4 Expanded Blastocyst บลาสโตซีลใหญ่กว่าตัวอ่อน ผนังเซลล์ไข่บางลง
เกรด 5 Hatching Blastocyst ส่วนที่จะพัฒนาไปเป็นรกเริ่มโผล่ออกมานอกผนังเซลล์ไข่
เกรด 6 Hatched Blastocyst ส่วนที่จะพัฒนาไปเป็นรกโผล่ออกมานอกผนังเซลล์ไข่เสร็จสมบูรณ์

  • คุณภาพของเซลล์ที่จะพัฒนาไปเป็นทารก (Inner Cell Mass)

Inner Cell Mass เป็นกลุ่มเซลล์ภายในบลาสโตซิสต์ซึ่งจะกลายเป็นทารกในครรภ์ การให้คะแนนจะใช้ตัวอักษร A, B, และ C โดย A คือคุณภาพดีที่สุดและ C คือคุณภาพต่ำสุด

เกรด A: เซลล์เกาะเป็นกลุ่มก้อนเห็นได้ชัด มีแนวโน้มที่จะฝังตัวและเติบโตไปเป็นทารกได้สำเร็จ
เกรด B: เซลล์เกาะกลุ่มกันหลวม ๆ 
เกรด C: มีจำนวนเซลล์น้อย กระจัดกระจาย มีแนวโน้มที่จะฝังตัวไม่สำเร็จ

  • คุณภาพของเซลล์ที่จะพัฒนาไปเป็นรก (Trophectoderm Epithelium)

Trophectoderm Epithelium เป็นเซลล์ที่จะพัฒนาไปเป็นรกและเนื้อเยื่อที่จำเป็นสำหรับการตั้งครรภ์ โดยจะมีการมีการให้คะแนนโดยใช้ตัวอักษร A, B, และ C เช่นเดียวกัน

เกรด A: เซลล์เกาะตัวกันแน่น มีแนวโน้มที่จะฝังตัวและเติบโตไปเป็นทารกได้สำเร็จ
เกรด B: เซลล์เกาะกลุ่มกันหลวม ๆ 
เกรด C: มีจำนวนเซลล์น้อย เรียงตัวกันไม่สม่ำเสมอ มีแนวโน้มที่จะฝังตัวไม่สำเร็จ

หากตัวอ่อนอายุ 5 วันได้เกรด 5AA นั่นหมายความว่า ตัวอ่อนเริ่มโผล่ออกมานอกเปลือกแล้ว เซลล์ Inner Cell Mass และ Trophectoderm เกาะเป็นกลุ่มก้อนเห็นได้ชัด เป็นตัวอ่อนที่มีแนวโน้มที่จะฝังตัวและเติบโตไปเป็นทารกได้สำเร็จ

Ivf Embryo Grading Banner 4

ภาพตัวอ่อน Day 5 ระยะ Blastocyst

แนวโน้มความสำเร็จของการตั้งครรภ์จากการคัดเกรดตัวอ่อน

เมื่อพูดถึงแนวโน้มความสำเร็จของการตั้งครรภ์จากการคัดเกรดตัวอ่อน ผลลัพธ์ไม่ได้ตายตัวว่าตัวอ่อนที่ได้คะแนนสูงจะทำให้ตั้งครรภ์ได้สำเร็จหรือตัวอ่อนที่ได้คะแนนต่ำจะไม่สามารถเจริญเติบโตต่อได้ เพราะยังมีความไม่แน่นอนและตัวแปรอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาร่วมด้วย เช่น

  • การพัฒนาของตัวอ่อน หลังการคัดเกรด ตัวอ่อนอาจเจริญเติบโตมากขึ้นกว่าเดิม เช่น ตัวอ่อนที่มี Inner Cell Mass เกรด C อาจจะเจริญเติบโตจนเป็นเกรด A ภายในวันเดียวกัน หรือตัวอ่อนที่มีการขยายตัวอยู่ในขั้นที่ 1 อาจพัฒนาเป็นขั้นที่ 6 ภายในวันเดียวกันได้เช่นกัน นั่นหมายความว่าหลังการให้เกรดตัวอ่อน คุณภาพของตัวอ่อนอาจดีขึ้นได้
  • การคัดเกรดไม่ได้การันตีผลสำเร็จ ถึงแม้ว่าคะแนนที่สูงจะสัมพันธ์กับอัตราการตั้งครรภ์และการเกิด แต่การคัดเกรดเพียงอย่างเดียวไม่สามารถการันตีผลสำเร็จ ตัวอ่อนที่ได้คะแนนต่ำอาจทำให้ตั้งครรภ์ได้สำเร็จและเด็กที่เกิดมาก็มีสุขภาพแข็งแรงได้เช่นเดียวกัน
  • ตัวแปรและความไม่แน่นอน การคัดเกรดเป็นเครื่องมือเพื่อประเมินคุณภาพของตัวอ่อนในบางแง่มุมเท่านั้น ไม่ได้ประเมินปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อการฝังตัวในมดลูกและการตั้งครรภ์ เช่น ความหลากหลายของสารเคมีในเซลล์ ซึ่งอาจมีผลต่อการคัดเกรดและต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

แม้ว่าการคัดเกรดตัวอ่อนจะเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยประเมินคุณภาพของตัวอ่อน แต่ผลที่ได้ในแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกันไป ดังนั้นจึงควรพิจารณาถึงสถานการณ์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล มองโลกในแง่ดี มีความหวัง


ยินดีให้คำปรึกษาแบบ second opinion ให้คุณมั่นใจทุกขั้นตอนการรักษา

บทความโดย

  • พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์
    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์ สูตินรีแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ และวัยหมดประจำเดือน
  • ลลิตา อุดมทรัพย์สันติ
    ลลิตา อุดมทรัพย์สันติ นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน

เผยแพร่เมื่อ: 11 ส.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ.  วิวรรธน์  ชินพิลาศ

    นพ. วิวรรธน์ ชินพิลาศ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. นลินา ออประยูร

    พญ. นลินา ออประยูร

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
  • Link to doctor
    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopic Surgery
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. พิพัฒน์ จงกลสิริ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Menopause, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Gynecologic Oncology
  • Link to doctor
    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopy